ผู้สอบบัญชีคือใคร? CPA vs TA ต่างกันอย่างไร?

ผู้สอบบัญชีคือใคร? CPA vs TA ต่างกันอย่างไร?


หน้าที่หนึ่งที่นิติบุคคลต้องทำทุกปีคือ จัดให้มี "ผู้สอบบัญชี" ตรวจสอบและรับรองงบการเงินของนิติบุคคลวันนี้เราจะมาทำความรู้จักผู้สอบบัญชีกันค่ะ

ผู้สอบบัญชีคือใคร?

ผู้สอบบัญชี คือ บุคลภายนอกที่มีใบอนุญาตและเป็นอิสระจากกิจการ มีหน้าที่ตรวจสอบและรับรองว่างบการเงินของกิจการแสดงข้อมูลที่ถูกต้องตามควร  โดยการที่จะได้รับใบอนุญาตผู้สอบบัญชี  บุคคลนั้นจะต้องผ่านการทดสอบและจะต้องมีชั่วโมงฝึกงานตามที่สภาวิชาชีพบัญชีหรือกรมสรรพากรกำหนด นอกจากนี้ผู้สอบบัญชียังช่วยให้คำแนะนำเกี่ยวกับจุดอ่อนการควบคุมภายในของกิจการที่พบระหว่างการตรวจสอบให้แก่ผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการได้อีกด้วย

ผู้สอบบัญชี มีกี่ประเภท?

ใบอนุญาตผู้สอบบัญชีมี 2 ประเภท ได้แก่

  1. ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA : Certified Public Accountant) คือ ผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพพ.ศ.2547 มีสิทธิในการตรวจสอบและรับรองบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทุกขนาด ทุกประเภท (ไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์)
  2. ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA : Tax Audittor) คือ ผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากอธิบดีกรมสรรพากร มีสิทธิในการตรวจสอบและรับรองบัญชีเฉพาะห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขนาดเล็ก (ทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท)
ประภทผู้สอบบัญชี สิทธิในการตรวจสอบและรับรองบัญชี
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทุกขนาด ทุกประเภท (ไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์)
ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (TA) เฉพาะห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท

ดังนั้นกิจการจะต้องคำนึงถึง "ประเภทและขนาด" ของกิจการในการเลือกผู้สอบบัญชี

โดยหากเป็น "บริษัทจำกัด" งบการเงินจะต้องถูกรับรองโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) เท่านั้น

หน้าที่ของผู้สอบบัญชี คืออะไร?

ผู้สอบบัญชีมีหน้าที่ดังนี้

  1. ตรวจสอบและรับรองบัญชี โดยปฏิบัติงานตามแนวทางที่สภาวิชาชีพบัญชี หรือ กรมสรรพากร กำหนด
  2. จัดทำรายงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต หรือ รายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี เพื่อรายงานผลการตรวจสอบ

บริษัทจำเป็นต้องมีผู้สอบบัญชีหรือไม่?

จำเป็นอย่างยิ่งค่ะ เพราะกฎหมายกำหนดให้นิติบุคคลเหล่านี้ ต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีตรวจสอบงบการเงินของตนก่อนจะนำส่งหรือใช้ยื่นเสียภาษีประจำปี

  • ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล และห้างหุ้นส่วนจำกัด
  • บริษัทจำกัด
  • บริษัทมหาชนจำกัด
  • นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่าง ประเทศประกอบธุรกิจในไทย
  • กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร
  • มูลนิธิ สมาคม
  • นิติบุคคลอาคารชุดหรือหมู่บ้านจัดสรร

รู้หรือไม่? - การไม่จัดให้มีผู้สอบบัญชี นิติบุคคลและผู้แทนต้อง ระวังโทษ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท!! 

นอกจาก นี้การไม่นำส่งงบการเงิน หรือไม่ยื่นเสียภาษี ก็จะมีโทษ ปรับอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย อาทิเช่น

  • ไม่ทำบัญชี: ระวังโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท และวันละไม่เกิน 1,000 บาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
  • ไม่จัดให้มีผู้ทำบัญชี: ระวังโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
  • ไม่จัดทำ/ไม่ยื่นงบการเงิน: ระวังโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ที่มา : Link

 5302
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้ตรวจสอบบัญชีมีบทบาทสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับบัญชีและรายการทางการเงินของบริษัท โดยเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของบัญชีอย่างเป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้ตรวจสอบบัญชีต้องเป็นคนที่มีความรอบคอบ และมีความซื่อสัตย์ เพื่อใช้เป็นหลักในการตรวจสอบทั้งภายในและภายนอก ทั้งนี้ตำแหน่งงานผู้ตรวจสอบบัญชีเป็นอาชีพยอดนิยมสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาด้านบัญชี
บัญชีกระแสรายวัน คือประเภทบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารประเภทหนึ่ง ที่ผู้ใช้จำเป็นต้องประกอบกิจการต่างๆ และจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือพาณิชย์ โดยเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยจัดการเรื่องการเงินในเชิงธุรกิจให้สำเร็จได้อย่างง่ายๆ รวมทั้งทำให้เราไม่ต้องพกเงินสดจำนวนมากๆ โดยเฉพาะเวลาจะทำการโอนหรือจัดการด้านธุรกิจต่างๆ ด้วยวงเงินจำนวนมาก เหมาะสำหรับใช้เป็นบัญชีเงินหมุนเวียน และใช้ออกเช็คในการเบิกจ่ายเงิน โดยสามารถขอเบิกเงินเกินบัญชีได้ ซึ่งทางธนาคารจะคิดดอกเบี้ยเพียงส่วนที่เราเบิกเงินเกินเท่านั้น แต่เป็นประเภทบัญชีที่ไม่ได้รับดอกเบี้ย
ช่วงหลังนี้เราจะเห็นว่านักธุรกิจรุ่นใหม่ไฟแรงเกิดขึ้นมามากมายพร้อมไอเดียที่พรั่งพรู ที่ทำให้เกิดเทรนด์และกระแสการใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เกิดขึ้น หลายคนประสบความสำเร็จมากจนทำให้สินค้าและบริการขายดีเทน้ำเทท่า แต่ก็ไม่วายที่อยู่ๆ  ธุรกิจที่สร้างขึ้นจะเจ๊งไปต่อหน้าต่อตาได้ มาดูกันว่าสิ่งที่เราต้องรู้ในการทำธุรกิจนั้นมีอะไรบ้างก่อนที่เราจะขายดีจนเจ๊ง
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็คือ “เงิน” ที่ผู้จ่ายเงิน “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายให้กับผู้รับเงิน แล้วเอาเงินนั้นไปให้กับรัฐ นั่นทำให้ผู้รับเงินไม่ได้รับเงินเต็มจำนวนครับ แต่จะได้เงินบวกกระดาษแผ่นนึงที่เรียกว่า “หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” ส่วนผู้จ่ายเงินยังต้องจ่ายเต็มนะครับ เพียงแต่จ่ายให้กับผู้รับเงินโดยตรงส่วนนึง แล้วให้สรรพากรอีกส่วนนึง หน้าที่หัก ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของผู้จ่าย ทั้ง บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์