ลูกหนี้การค้า

ลูกหนี้การค้า


ลูกหนี้การค้า 
ถือเป็นหัวใจหลักที่กระทบกับสภาพคล่องของธุรกิจ ถ้าธุรกิจบริหารจัดการ ลูกหนี้การค้าไม่ดี ติดปัญหารายได้ค้างรับ คือขายของเป็นเงินเชื่อแล้วไม่สามารถเก็บเงินได้ ต้องเกิดบัญชีลูกหนี้การค้า ขึ้น หรือต้องแทงลูกหนี้การค้าเป็นหนี้สูญ  ธุรกิจมีปัญหาเงินขาดมือ ต้องไปกู้หนี้ยืมสินเพื่อหมุนเงิน สุดท้ายส่งผลกระทบมายังนักลงทุนที่อาจไม่ได้รับเงินปันผล เนื่องจากบริษัทมีเงินสดขาดมือ ขาดสภาพคล่องในเรื่องของเงินทุนหมุนเวียน ดังนั้นนักลงทุนควรเลือกลงทุนกับบริษัทที่มีความสามารถในการจัดการหนี้สินได้เป็นอย่างดี

ลูกหนี้การค้า หมายถึง
ลูกหนี้การค้า ภาษาอังกฤษ คือ Receivable หมายถึง สิทธิเรียกร้องอย่างหนึ่งของ เจ้าหนี้การค้า ในการที่จะให้ชำระหนี้ด้วยเงินสดหรือทรัพย์สินอย่างอื่น โดยคาดหมายความว่า จะได้รับชำระเต็มจำนวน เมื่อถึงกำหนดชำระ ลูกหนี้จัดเป็นสินทรัพย์อย่างหนึ่งของกิจการและควรแสดงในงบการเงินด้วยมูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับนั่นก็คือ จำนวนที่คาดหมายว่าจะเก็บได้

โดยสรุปแล้วคำว่า ลูกหนี้การค้า ก็คือลูกหนี้จากการทำธุรกิจของกิจการ เพราะลูกหนี้การค้าคือช่องทางการรั่วไหลของเงินที่ดีมากในงบการเงิน เรียกว่าถ้าโกงกันเมื่อไหร่ เขาจะชอบโกงกันที่นี่เป็นหลักกันเลย  ลูกหนี้การค้าจึงมีความสำคัญในการวิเคราะห์งบการเงินนั่นเอง

โดยปกติแล้วลูกหนี้การค้าจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ลูกหนี้การค้า และ ลูกหนี้อื่น หากสงสัยว่าลูกหนี้การค้า หมายถึงอะไร แนะนำให้อ่านเลย รับรองว่าได้คำตอบแน่นอนว่าลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น คืออะไร

1. ลูกหนี้การค้า ( Trade Receivable )
คือ ลูกหนี้ที่เกิดจากการดำเนินการค้าตามปกติของธุรกิจ และจะมีชื่อบัญชีแตกต่างกันได้ตามประเภทของธุรกิจ เช่น ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ หมายถึงบัญชีระหว่างธนาคารที่มีดอกเบี้ย เงินให้สินเชื่อ และดอกเบี้ยค้างรับกิจการประกันภัย หมายถึงบัญชีเบี้ยประกันภัยค้างรับ เงินค้างรับเกี่ยวกับการประกันต่อและเงินให้กู้ยืม

2. ลูกหนี้อื่น ๆ ( Other Receivable )
คือ ลูกหนี้ที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินการค้าตามปกติของธุรกิจ ลูกหนี้ที่เกิดจากรายการค้าประเภทอื่นที่มีลักษณะแตกต่างกันไปนอกเหนือจากการขายสินค้าหรือบริการ เช่น

– เงินกู้ให้ยืม เช่น เงินให้กู้ยืมแก่พนักงานและลูกจ้าง เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทย่อย เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทร่วม

– เงินมัดจำ เช่น เงินมัดจำที่จ่ายให้ผู้ขายเพื่อรับประกันการจ่ายเงิน เงินมัดจำความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น

– รายได้ค้างรับ เช่น เงินปันผลค้างรับ ดอกเบี้ยค้างรับ

– สิทธิเรียกร้อง เช่น สิทธิเรียกร้องจากบริษัทประกันภัยให้ชดใช้ค่าสินไหมเมื่อเกิดอุบัติเหตุ สิทธิเรียกร้องต่อรัฐบาลสำหรับการรับเงินภาษีคืน

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ที่มา : www.moneywecan.com

 1951
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

“งวดบัญชี หรือรอบระยะเวลาบัญชี” (Accounting Period) ของกิจการต่างๆนั้นจะเป็นระยะเวลานวนเท่าใดก็ได้เช่นงวด 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปีแต่จะนานกว่า 1 ปีไม่ได้ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย
หลายคนอาจมีคำถามว่า บุคคลธรรมดาผู้มีเงินได้ก็ยื่นภาษีทุกปีอยู่แล้วทำไมต้องยื่นเสียภาษีครึ่งปีอีก? ซึ่งก็มีแค่บุคคลที่มีเงินได้บางประเภทเท่านั้นที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีครึ่งปี โดยการเสียภาษีครึ่งปีนี้ถือเป็นการบรรเทาภาระภาษี เพราะหากไม่มีการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 94 หรือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี จะต้องยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและชำระภาษีเป็นเงินจำนวนมาก โดยภาษีเงินได้ครึ่งปีที่จ่ายไป สามารถนำไปใช้หักออกจากภาษีประจำปีที่คำนวณได้ ตัวอย่างเช่น นายเอได้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีไปแล้วจำนวน 6,000 บาท พอสิ้นปีนายเอคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายเป็นจำนวน 9,000 บาท นายเอก็จ่ายภาษีเพิ่มแค่ 3,000 บาทเท่านั้น  (9,000-6,000 บาท)
การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของผู้ที่จ่ายเงินส่วนผู้ที่รับเงินได้นั้นจะเป็นผู้ที่ถูก โดยหากมีการหักภาษี ณ. ที่จ่ายกับจะใช้แบบยื่น ภ.ง.ด.3 แต่หากหักกับนิติบุคคลจะใช้แบบยื่น ภ.ง.ด.53 ใบบทความนี้เราจะพูดถึงการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่เป็นนิติบุคคลกัน
ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร หากบุคคลใดมีภาษีอากรค้าง กรมสรรพากรสามารถยึดหรืออายัดทรัพย์และขายทอดตลาดได้เลยโดยยังไม่ต้องฟ้องต่อศาลก่อนก็ได้  และระยะเวลาที่มีอํานาจทําได้ก็เป็นเวลานานถึง 10 ปี
ผู้ตรวจสอบบัญชีมีบทบาทสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับบัญชีและรายการทางการเงินของบริษัท โดยเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของบัญชีอย่างเป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้ตรวจสอบบัญชีต้องเป็นคนที่มีความรอบคอบ และมีความซื่อสัตย์ เพื่อใช้เป็นหลักในการตรวจสอบทั้งภายในและภายนอก ทั้งนี้ตำแหน่งงานผู้ตรวจสอบบัญชีเป็นอาชีพยอดนิยมสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาด้านบัญชี

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์