ยื่นภาษีย้อนหลัง ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?

ยื่นภาษีย้อนหลัง ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?


ยื่นภาษีย้อนหลัง 
ต้องเตรียมเอกสารให้พร้อม เช็กเลยมีอะไรบ้าง

  • ยื่นภาษีไม่ทัน แถมเสียภาษีไม่ครบต้องเจออะไรบ้าง?

แน่นอนว่าผู้ยื่นภาษีไม่ทันตามที่กำหนดนั้น นอกจากจะต้องเตรียมตัวเตรียมใจกับค่าปรับที่จะต้องเจอแล้วนั้น สิ่งที่ต้องเตรียม คือ เอกสารที่จะใช้ประกอบเพื่อยื่นภาษีย้อนหลังนั้น มีอะไรบ้าง Sanook Money ได้รวบรวมข้อมูลจากกรมสรรพากรมาฝากกัน

การยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 มีภาษีชำระไว้เกิน แต่ไม่ได้แจ้งความประสงค์ขอคืนเงิน ไม่ว่าจะเป็นการยื่นแบบฯ ผ่านอินเทอร์เน็ต หรือยื่นแบบฯ ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา

  • “ขั้นตอนยื่นภาษี” ทางออนไลน์ ด้วยตนเอง มีอะไรบ้าง มาดูกัน!

ให้ยื่นคำร้องขอคืนเงินตามแบบ ค.10 ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ท้องที่ที่มีภูมิลำเนาอยู่ ภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี โดยแนบเอกสารแล้วแต่กรณี ดังนี้

  1. หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)
  2. แบบ ล.ย.03 (ถ้ามี)
  3. ใบเสร็จรับเงินหรือหนังสือรับรองค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดา/มารดา (ถ้ามี)
  4. ใบเสร็จรับเงินหรือหนังสือรับรองค่าเบี้ยประกันชีวิตของปีภาษีที่ขอคืน (ถ้ามี)
  5. หนังสือรับรองการจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพของปีภาษีที่ขอคืน (ถ้ามี)
  6. ใบเสร็จรับเงินหรือหนังสือรับรองค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ/กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (ถ้ามี)
  7. หนังสือรับรองการชำระดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัยของปีภาษีที่ขอคืน (ถ้ามี)
  8. หนังสือรับรองการจ่ายเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม (ถ้ามี)
  9. ใบเสร็จรับเงินบริจาคการกุศลของปีภาษีที่ขอคืน (ถ้ามี)
  10. สำเนาทะเบียนบ้าน
  11. ใบสำคัญการสมรส (ถ้ามี)
  12. หนังสือแสดงการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี)
  13. ใบเสร็จรับเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  14. หลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นขอคืน



ที่มา : Link
 2276
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

บอจ.2 บอจ.3 บอจ.5 เป็นเอกสารประกอบการจดทะเบียนที่สำคัญอย่างหนึ่งเวลาที่เราเอาบริษัทไปทำธุรกรรมในด้านต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เราไปเปิดบัญชีธนาคารในนามบริษัทธนาคารก็จะขอ บอจ.2 บอจ.3 บอจ.5 ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าเอกสารดังกล่าวนั้นคืออะไร
ตราประทับบริษัทสูญหาย หรือชำรุด หรือต้องการเปลี่ยนรูปแบบใหม่ จะต้องทำอย่างไร
เชื่อว่ามีหลายคนเลยทีเดียวที่คิดว่า ภาษีที่ดินกับภาษีบำรุงท้องที่เป็นภาษีชนิดเดียวกัน เพียงแต่มีคนเรียกให้ต่างกันเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภาษีทั้งสองชนิดแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และด้วยความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนไปนี้เอง ทำให้หลายคนไม่รู้ว่าตนเองต้องจ่ายภาษีอะไรกันแน่ ยิ่งถ้าหากเป็นเจ้าของที่ดิน นายหน้า และเหล่านักอสังหาริมทรัพย์ ยิ่งต้องแยกให้ออกว่า ระหว่างภาษีทั้งสองประเภทต่างกันอย่างไร ที่สำคัญคือ ภาษีเหล่านี้ใน พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่
รายได้มีความหมายในหลายด้าน เช่นความหมายทางธุรกิจซึ่งเป็นผลกำไรหรือรายได้ที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ และความหมายของรายได้สำหรับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งความหมายของรายได้มีความแตกต่างกันดังนี้
ในช่วง Covid-19 อย่างงี้ อยู่บ้านปลอดภัยที่สุด กรมสรรพากรแนะนำให้ผู้ประกอบการและประชาชนทำธุรกรรมทางภาษีที่บ้าน “TAX from Home”  ง่าย สะดวก ปลอดภัย ไม่ต้องเดินทาง ป้องกัน การแพร่ระบาดของ COVID – 19 และยังได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้บริการ ชำระภาษีออนไลน์จากธนาคารที่ร่วมโครงการอีกด้วย
ในวงการวิชาชีพบัญชี ประเด็นที่ค่อนข้างสำคัญต่อการเปลี่ยนผ่านและเปลี่ยนแปลง เนื่องจากด้านเทคโนโลยีในวงการวิชาชีพบัญชียังคงพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง นับวันยิ่งเป็นไปอย่างก้าวกระโดด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ก็ช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลอย่างเห็นได้ชัดอย่างใน ปี 2020 แนวโน้มจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง นักบัญชีจะต้องเตรียมความพร้อมและรับมืออย่างไร

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์