การสลักหลังเช็ค

การสลักหลังเช็ค


การสลักหลังเช็ค เราสามารถทำได้กี่แบบ แล้วมันแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

การสลักหลัง
 หมายถึง การเขียนข้อความพร้อมกับการลงลายมือชื่อหรือลงลายมือชื่ออย่างเดียวที่ด้านหลังของเช็คเพื่อแสดงถึงการโอนเช็คนั้นการสลักหลัง มี 2 แบบ คือ

1. สลักหลังเฉพาะ 
หมายถึง การสลักหลังเช็คโดยระบุชื่อผู้รับโอนไว้ด้วย พร้อมด้วยลงลายมือชื่อผู้สลักหลัง เช่น นายดำต้องการโอนเช็คให้นายเขียว นายดำจึงสลักหลังว่า โอนให้นายเขียว และลงลายชื่อนายดำ แล้วส่งมอบเช็คนั้นให้นายแดง ก็เป็นอันว่าสมบูรณ์ตามกฎหมายแล้ว

2. สลักหลังลอย 
หมายถึง การสลักหลังโดยลงลายมือชื่อผู้สลักเพียงอย่างเดียว ไม่ได้ระบุชื่อผู้รับโอนไว้ด้วย เช่น ถ้านายดำต้องการโอนเช็คให้นายเขียว นายดำเพียงลงลายมือชื่อที่ด้านหลังเช็คแล้วส่งมอบให้นายเขียวก็เป็นอันสมบูรณ์เช่นกัน

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!


ที่มา :Link
 11513
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในการประกอบธุรกิจ อาจจะมีเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกันทางธุรกิจ ทำให้บริษัทต้องตั้งประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นเหล่านี้มักจะถูกบันทึกบัญชี เดบิต ค่าใช้จ่าย และเครดิต หนี้สินหลายท่านจึงมีคำถามในใจว่า แล้วค่าใช้จ่ายเกิดจากการประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้ สามารถรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้มั้ย หรือจะต้องบวกกลับทางภาษีเวลาที่คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลก่อนที่จะตอบคำถามประเด็นค่าใช้จ่ายทางภาษี อาจจะต้องเริ่มต้นทำความเข้าใจที่มาที่ไปของรายการนี้ในทางบัญชีกันก่อน
ประเภทของธุรกิจสามารถแบ่งได้เป็นแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สำหรับคนที่ทำธุรกิจ ต้องทราบว่าธุรกิจของตนเองจัดอยู่ในประเภทไหน
กรณีที่บุคคลใดยื่นแบบภาษีภายในกำหนดแต่ชำระภาษีไม่ครบถ้วน หรือยื่นแบบภาษีล่าช้า ละเลย หรือหลีกเลี่ยงการยื่นแบบภาษี จะต้องเสียเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามกฎหมายกำหนด และหากฝ่าฝืน หลีกเลี่ยง ไม่ยอมชำระจะต้องรับโทษทางอาญาด้วย บทลงโทษมีดังนี้
แรงจูงใจหลักในการที่จะทำให้บริษัทหนึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็คงจะหนีไม่พ้นสิทธิที่บริษัทเสียภาษีบนฐานของผลกำไรของบริษัท กล่าวคือบริษัทสามารถหักรายจ่ายต่างๆออกจากรายได้ได้ตามจริง และเงินได้ของบริษัทที่จะเสียภาษีก็จะเป็นแค่ส่วนของผลกำไรของบริษัทเท่านั้น ไม่ใช่ต้องเสียจากรายได้หรือเหมารายจ่ายได้สูงสุดเพียง 60% เช่นที่ต้องเสียในระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
แบบ ภ.พ.30 คือแบบแสดงรายการสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขาย เพื่อนำส่งกรมสรรพากร โดยผู้มีหน้าที่จัดทำคือ เจ้าของธุรกิจที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และได้ทำการขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต้องนำส่งให้กรมสรรพากรทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือสามารถยื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็ได้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์