แจ้งเอกสารหายออนไลน์ ไม่ต้องไปโรงพัก

แจ้งเอกสารหายออนไลน์ ไม่ต้องไปโรงพัก


เมื่อเอกสารหายก่อนอื่นคือต้องรีบไปแจ้งความลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจ เพื่อเป็นหลักฐานก่อนไปทำ เอกสารใหม่ที่หน่วยงานเอกสารต้นสังกัดนั้น การติดต่อราชการที่รู้สึกเสียเวลายุ่งยาก ยิ่งสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ซึ่งจะอยู่ในชีวิตของเราอีกนาน ทำให้เป็นเรื่องยากขึ้นไปอีกในการติดต่อ แต่ปัจจุบันมี 
“ระบบแจ้งเอกสารหายออนไลน์” ที่สะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องไปโรงพัก เรามาดูการใช้งานระบบใหม่นี้กันนะคะ

ระบบนี้เริ่มประกาศให้ใช้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2564 สามารถแจ้งความผ่านระบบนี้ได้เพียง 17 จังหวัด (ข้อมูล ณ19 สิงหาคม 2564) ได้แก่ กาญจนบุรี ชัยภูมิ นครราชสีมา น่าน บุรีรัมย์ พะเยา ยโสธร ลำปาง ลำพูน ศรีสะเกษ สุรินทร์ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ แม่ฮ่องสอน

การใช้งานระบบสามารถเข้าเว็บไซต์ http://www.แจ้งความออนไลน์.com เลือกเริ่มต้นใช้งานหรือล็อกอินผ่าน Line Account มีขั้นตอนเข้าสู่ระบบ ดังนี้



อย่างไรก็ตามเอกสารบางประเภทที่เมื่อหายไม่ต้องไปดำเนินการแจ้งความมี 6 ประเภท ดังนี้

1.ทะเบียนบ้าน เจ้าบ้านสามารถดำเนินการขอทำใหม่ได้เลย หรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นทำ เรื่องให้โดยต้องมีหนังสือมอบอำนาจ

2.บัตรประจำตัว ประชาชนสามารถนำทะเบียนบ้านตัวจริงไปดำเนินการทำบัตรใหม่ได้เลย

3.บัตรประกันสังคม สามารถนำบัตรประชาชนไปติดต่อขอทำบัตรใหม่ได้ที่สำนักงานประกันสังคม หรือติดต่อฝ่ายบุคคลของบริษัทตนเอง

4.ใบขับขี่ สามารถนำบัตรประชาชนไปดำเนินการขอทำใบขับขี่ใหม่ ได้ที่กรมขนส่งทางบก หรือสำนักงานย่อย โดยไม่ต้องสอบขับขี่ใหม่ (กรณีใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ/แท็กซี่สูญหาย จะต้องนำใบแจ้งความไปใช้เป็นหลักฐานในการยื่นคำร้องขอทำใบขับขี่ใหม่)

5.แผ่นป้ายทะเบียนรถ สามารถนำสมุดคู่มือการจดทะเบียนรถไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่กรมขนส่งทางบก เพื่อดำเนินการขอทำใหม่

6.บัตรประจำตัวผู้เสียภาษี สามารถนำบัตรประชาชนและหรือทะเบียนบ้านไปดำเนินการทำบัตรใหม่ได้ที่สำนักงานสรรพากรเขตพื้นที่ของตนเอง

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!



ที่มา : https://www.rd.go.th/fileadmin/eMagazines/online_092564.pdf
 2265
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

e-Withholding Tax (e-WHT) หรือภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นบริการที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกลดขั้นตอนให้แก่ผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายทำการนำส่งเงินภาษีต่อกรมสรรพากร โดยมีธนาคารเป็นตัวกลางในการนำส่งข้อมูลและส่งเงินภาษีให้กับกรมสรรพากร โดยที่ผู้ประกอบการไม่ต้องจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนั้น ประโยชน์ที่เราจะเห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็คือ “เงิน” ที่ผู้จ่ายเงิน “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายให้กับผู้รับเงิน แล้วเอาเงินนั้นไปให้กับรัฐ นั่นทำให้ผู้รับเงินไม่ได้รับเงินเต็มจำนวนครับ แต่จะได้เงินบวกกระดาษแผ่นนึงที่เรียกว่า “หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” ส่วนผู้จ่ายเงินยังต้องจ่ายเต็มนะครับ เพียงแต่จ่ายให้กับผู้รับเงินโดยตรงส่วนนึง แล้วให้สรรพากรอีกส่วนนึง หน้าที่หัก ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของผู้จ่าย ทั้ง บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value-added tax หรือ VAT) คือ ภาษีประเภทหนึ่งซึ่งผู้ประกอบการแต่ละคนจะมีหน้าที่นำส่ง โดยเก็บจากการเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า โดยปกติเมื่อมีการซื้อสินค้าเราจะจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มรวมอยู่ในราคาสินค้า ให้แก่ผู้ที่ขายสินค้าให้เรา เมื่อเรานำไปขายต่อเราก็มีหน้าที่เก็บภาษีเพิ่มขึ้นมาเพื่อนำส่งสรรพากร หากเราไม่คิดราคาสินค้าที่มีการรวมและแยกภาษีมูลค่าเพิ่มให้เรียบร้อย สุดท้ายแล้วเราจะเข้าเนื้อเพราะต้องออกเงินส่วนนั้นเพื่อนำส่งภาษีเอง
การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีที่มีจุดทศนิยมกรมสรรพากรได้กำหนดวิธีปฏิบัติไว้ ดังนั้นหากได้รับใบกำกับภาษีที่คำนวณภาษีซื้อผิดในหลักทศนิยม ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะสามารถนำภาษีซื้อในใบกำกับภาษีมาใช้ได้อย่างไร
การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของผู้ที่จ่ายเงินส่วนผู้ที่รับเงินได้นั้นจะเป็นผู้ที่ถูก โดยหากมีการหักภาษี ณ. ที่จ่ายกับจะใช้แบบยื่น ภ.ง.ด.3 แต่หากหักกับนิติบุคคลจะใช้แบบยื่น ภ.ง.ด.53 ใบบทความนี้เราจะพูดถึงการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่เป็นนิติบุคคลกัน
หลักฐานที่แสดงถึงการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี  หลักฐานที่ได้รับจากการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี และสิ่งที่ตรวจพบจากการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีภาษีอากร  ซึ่งได้แก่ เอกสารที่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรได้จัดทำขึ้นเอง  เอกสารที่ได้รับมาจากกิจการที่ทำการตรวจสอบ  หรือที่ขอจากบุคคลภายนอกกิจการ ทั้งนี้ เพื่อใช้ในการจัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์