เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องทำอะไรบ้าง?

เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องทำอะไรบ้าง?


ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้

        1)   บุคคลธรรมดา
        2)   ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
        3)   ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี
        4)   กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
        5)  วิสาหกิจชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

เมื่อมีเงินได้เกิดขึ้นแล้ว ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจะต้องทำอะไรบ้าง?

1.ขอมีเลข และบัตรประจำตัวผู้เสียภาษี ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีเงินได้เกิดขึ้น กรณีเป็นผู้มีเงินได้ที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ได้แก่ เป็นคนต่างด้าว หรือกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง เว้นแต่ ผู้มีเงินได้ ที่มีเลขประจำตัวประชาชน สามารถใช้ เลขประจำตัวประชาชน แทนเลขประจำตัว ผู้เสียภาษีอากรได้ โดยไม่ต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรอีก ผู้มีเงินได้ที่มีภูมิลำเนา อยู่ในกรุงเทพมหานคร อาจยื่นคำร้อง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ทั้ง 30 แห่ง หรือ สำนักสรรพากรพื้นที่ สาขา(อำเภอ)ทุกแห่ง สำหรับในต่างจังหวัด ยื่นคำขอได้ที่สำนักงานสรรพากร พื้นที่ (จังหวัด) และสำนักงานสรรพากร พื้นที่สาขา (อำเภอ) ทุกแห่ง แล้วแต่กรณี

2.ยื่นแบบแสดงรายการ ปกติปีละ 1 ครั้ง เงินได้ของปีใด ก็ยื่นแบบฯ ภายใน วันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป เว้นแต่ เงินได้ บางลักษณะ เช่น การให้เช่า ทรัพย์สิน เงินได้จาก วิชาชีพอิสระ เงินได้จาก การรับเหมา เงินได ้จากธุรกิจ การพาณิชย์ เป็นต้น จะต้อง ยื่นแบบฯ ตอนกลางปี สำหรับเงินได้ ที่เกิดขึ้นใน 6 เดือนแรก ภายใน เดือนกันยายน ของทุกปี

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!



ที่มา :Link
 503
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เพื่อน ๆ ทราบไหมครับว่า ทำไมยอดเงินเดือนจริง ๆ ที่โอนเข้าบัญชีจากทางบริษัท ถึงน้อยกว่าเงินเดือนที่ระบุไว้ตอนทำสัญญาว่าจ้าง หรือทำไมตอนรับงานนอก ผู้ว่าจ้างโอนเงินให้เราน้อยกว่าค่าจ้างที่ตกลงกันไว้นิด ๆ หน่อย ๆ ทั้งนี้ อย่าเพิ่งตกใจไปครับ เพราะโดยปกติ เงินส่วนที่ถูกหักไปนั้น คือ เงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย นั่นเอง วันนี้ เรามาดูกันครับว่า ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร แล้วเกี่ยวข้องกับการยื่นภาษีที่สรรพากรในแต่ละปีอย่างไร
ตรายางบริษัท เป็นเครื่องมือทางธุรกิจอย่างหนึ่ง ประกอบไปด้วยโลโก้บริษัท หรืออาจใส่ชื่อบริษัทเข้าไปด้วยก็ได้ ตรายางบริษัทต้องสั่งทำเป็นพิเศษ เพื่อใช้สำหรับเป็นตัวแทนบริษัท หรือองค์กร ในการรับรองเอกสาร การทำธุรกรรม และทำนิติกรรมต่างๆ โดยเฉพาะ  
ธุรกิจขนส่งเสียภาษีอะไร เป็นคำถามที่ผู้เริ่มต้นธุรกิจขนส่งมักสงสัยอยู่ตลอด ซึ่งตามความหมายของคำว่าการขนส่งก็คือ การขนคนหรือขนของส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง ซึ่งจะต้องประกอบธุรกิจขนส่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% จากผู้ว่าจ้างที่เป็นนิติบุคคล ไม่ว่ากิจการขนส่งจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม
เงินปันผล (dividend) เป็นค่าตอบแทนที่บริษัทจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งมักเป็นการกระจายกำไร เมื่อบริษัทได้กำไรหรือส่วนเกิน บริษัทสามารถนำไปลงทุนในธุรกิจต่อ (เรียก กำไรสะสม) หรือสามารถจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นก็ได้ บริษัทอาจสงวนกำไรหรือส่วนเกินส่วนหนึ่ง
การวางแผนภาษีอากร (Tax Planning) คือ การกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เพื่อการปฏิบัติในอนาคตเกี่ยวกับรายการทางการเงิน (Financial Transactions) อาทิ รายการรายได้ ค่าใช้จ่ายต่างๆ และจำนวนกำไรหรือขาดทุน ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางภาษีอากรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในอันที่จะป้องกันมิให้เกิดปัญหาภาษีอากรไม่ว่าประการใดๆ โดยมุ่งหมายให้การเสียภาษีอากรและการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรขององค์กรเป็นไปโดยถูกต้อง และครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายภาษีอากรกำหนดไว้ และเป็นผลให้จำนวนภาษีอากรที่ต้องเสียนั้น เป็นจำนวนน้อยที่สุดหรือประหยัดที่สุด รวมทั้งใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรสูงสุด ทั้งนี้ โดยไม่อาศัยการทุจริตหลีกเลี่ยงภาษีอากร
โดยปกติแล้วเมื่อกิจการมีรายได้เกิดขึ้น จะต้องรับรู้รายได้โดยการนำรายได้ดังกล่าวไปบันทึกบัญชี ไปคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในงบกำไรขาดทุน รายได้ที่ต้องนำไปคำนวณกำไรสุทธิมักจะได้แก่ รายได้จากการขาย รายได้จากการให้บริการ และรายได้อื่น

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์