การตรวจสอบทุจริต 7 สัญญาณเตือนและเทคนิคการตรวจสอบที่ได้ผล

การตรวจสอบทุจริต 7 สัญญาณเตือนและเทคนิคการตรวจสอบที่ได้ผล


การตรวจสอบทุจริต คือเครื่องมือพิชิตคนคิดทำลายองค์กร!

จากอดีตถึงปัจจุบันปัญหาที่ทุกองค์กรจะพบคือ ‘การทุจริต’ โดยจะมีบุคคลที่ส่อแววว่าจะทำการทุจริตไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ ซึ่งสร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์ขององค์กรเป็นอย่างมาก ปัญหาทุจริตจึงเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอันขาด ดังนั้นคุณจำเป็นต้องมีผู้ตรวจสอบระบบภายใน ระบบการเงินอยู่เสมอ เพื่อป้องกันช่องว่างที่จะทำให้บุคคลเหล่านั้นฉวยโอกาส ฉะนั้นเราลองมาดูแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างยั่งยืนและได้ประสิทธิภาพมากที่สุดกันดีกว่า

ทำการตรวจสอบอย่างมีระบบจะช่วยให้จบปัญหาได้ไวขึ้น 

หากมีเรื่องราวเกี่ยวกับการทุจริตมาเข้าหูคุณ อันดับแรกคืออย่าเพิ่งแตกตื่น ให้คุณค่อยๆ สังเกตพฤติกรรม และเริ่มทำแผนการตรวจสอบอย่างระมัดระวัง ไม่ให้ผู้ร้ายรู้ตัว โดยคุณต้องเริ่มจากให้ผู้ตรวจสอบรู้รายละเอียด ความชัดเจนว่าต้องการตรวจสอบเรื่องอะไร ใช้เวลาเท่าไหร่ในการหาหลักฐานต่างๆ โดยแผนการตรวจสอบการทุจริตก็จะคล้ายๆ กับแผนการตรวจสอบ (Audit program) โดยทั่วไป แต่จะเน้นในเชิงบรรยายความในเรื่องที่ต้องลงลึก มีความละเอียดในการตรวจสอบมากกว่า โดยรายละเอียดประกอบด้วย

 1.การกำหนดประเด็นหรือเรื่องที่จะตรวจสอบเรียงลำดับก่อนหลัง

 2.กำหนดวัน เวลา และวิธีการตรวจสอบในแต่ละเรื่อง และการอ้างอิงเอกสารที่ใช้ตรวจสอบ

7 สัญญาณเตือนการกระทำทุจริต 

หากมีการทุจริตเกิดขึ้นในองค์กร ส่วนใหญ่มักจะไม่พ้นเรื่องการเงิน การบัญชี เราจึงได้รวบรวม 8 สัญญาณที่เข้าข่ายบ่งชี้ว่าเริ่มจะมีการทุจริตเกิดขึ้นภายในองค์กรของคุณแล้วล่ะ 

1.การจ่ายเงินที่ซับซ้อนหลายครั้งจนทำให้เกิดความสับสนในการตรวจสอบ 

2.แก้ไขตัวเลขราคา ปริมาณ ฯลฯ ในเอกสารสำคัญ 

3.จงใจปรับเปลี่ยนสัญญาซื้อขาย 

4.มีการปลอมแปลงเอกสารใบแจ้งหนี้/ใบเสร็จรับเงิน 

5.สั่งซื้อของที่ตนอยากได้แต่ในใบสั่งซื้อคือของที่องค์กรต้องการ 

6.ขโมยเอกสารสำคัญภายในไปให้แก่บุคคลที่ 3 

7.สั่งซื้อสินค้าที่ไม่จำเป็น ลงรายละเอียดสินค้าราคาแพงเกินจริง

เทคนิคการตรวจสอบที่ทำยังไงก็ได้ผลชัวร์ๆ

การสุ่มตรวจที่ไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า 

การสุ่มนี้จะช่วยให้ผู้ที่กระทำความผิดนั้น ไม่ทันได้ตั้งตัวที่จะทำการปลอมแปลงหรือปรับเปลี่ยนเอกสารสำคัญต่างๆ ได้ทันท่วงที 

นำข้อมูลทุกอย่างมาทำการเปรียบเทียบ 

การเปรียบเทียบข้อมูลจะทำให้ผู้ตรวจเห็นได้ชัดว่ามีการปรับเปลี่ยนข้อมูลทางด้านตัวเลข ฯลฯ หรือไม่ 

ปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้เกิดการทุจริต 

ลองย้อนดูว่าองค์กรของคุณมีภาวะเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการทุจริตหรือไม่ ซึ่งปัจจัยการทุจริตจะมีด้วยกัน 5 ข้อใหญ่ๆ คือ 

1.การมอบหมายอำนาจหน้าที่ให้แก่พนักงานไม่เหมาะสม ไม่มีความเท่าเทียม 

2.ไม่มีระบบการควบคุม กำกับงานที่ดี

3.ขาดการติดตามรายงานผลประกอบการต่างๆ เป็นเวลานาน

4.ขาดระบบการตรวจสอบภายในองค์กร 

5.บุคคลผู้นั้นมีความโลภ 

การทุจริตทุกรูปแบบถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดกับองค์กรของตนเอง ดังนั้นการมีมาตรการที่ดี การตรวจสอบเอกสารสั่งซื้อหรือเอกสารสำคัญอยู่เป็นประจำ จะช่วยทำให้เกิดช่องโหว่ในการทุจริตลดน้อยลง แต่หากปัญหาบางอย่างเกินกำลังที่คุณจะจัดการ ก็คงต้องพึ่งผู้ตรวจสอบบัญชีหรือผู้ตรวจสอบภายในมาช่วยเป็นกองกำลังเสริมอีกแรงแล้วล่ะ 


ที่มา : LINK
 803
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า "AI" คือ เทคโนโลยีที่สร้างขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์หรือเครื่องจักรสามารถทำงานหรือประมวลผลข้อมูลได้เสมือนกับสมองของมนุษย์ โดย AI สามารถเรียนรู้ (Learning) คิดวิเคราะห์ (Reasoning) และปรับปรุงหรือแก้ไขตัวเองได้ (Self-correction) ในกระบวนการทำงาน ซึ่งถูกนำมาใช้ในหลายด้าน เช่น หุ่นยนต์ การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) การรู้จำภาพ และระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)
ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงสำหรับการรับรู้รายได้สำหรับมาตรฐานการบัญชี ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 6/2561 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า ซึ่งมีการบังคับใช้มาระยะหนึ่งแล้วตั้งแต่ต้นปี 2562 ที่ผ่านมา
ผู้ใช้ข้อมูลทางการบัญชีมีหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารกิจการ เจ้าหนี้ นักลงทุน หน่วยงานของรัฐบาล หรืออื่น ๆ ซึ่งในบางครั้งบุคคลที่ใช้ข้อมูลทางการบัญชีเหล่านี้มีความต้องการที่จะใช้ข้อมูลทางการบัญชีในทิศทางที่แตกต่างกัน เช่น ผู้บริหารต้องการแสดงผลการดำเนินงานที่มีกำไรน้อยกว่าความเป็นจริงหรือขาดทุน เพื่อที่จะได้เสียภาษีน้อยลง หรือไม่เสียภาษีเลย ในทางตรงกันข้ามกรมสรรพากรซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีก็ต้องการให้แสดงข้อมูลตามความเป็นจริง เพื่อจะได้จัดเก็บภาษีได้อย่างถูกต้อง รัฐบาลจะได้นำเงินมาพัฒนาประเทศต่อไป
การวางแผนภาษีอากร (Tax Planning) คือ การกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เพื่อการปฏิบัติในอนาคตเกี่ยวกับรายการทางการเงิน (Financial Transactions) อาทิ รายการรายได้ ค่าใช้จ่ายต่างๆ และจำนวนกำไรหรือขาดทุน ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางภาษีอากรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในอันที่จะป้องกันมิให้เกิดปัญหาภาษีอากรไม่ว่าประการใดๆ โดยมุ่งหมายให้การเสียภาษีอากรและการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรขององค์กรเป็นไปโดยถูกต้อง และครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายภาษีอากรกำหนดไว้ และเป็นผลให้จำนวนภาษีอากรที่ต้องเสียนั้น เป็นจำนวนน้อยที่สุดหรือประหยัดที่สุด รวมทั้งใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรสูงสุด ทั้งนี้ โดยไม่อาศัยการทุจริตหลีกเลี่ยงภาษีอากร
 ใครที่เป็นนักบัญชีคงรู้ว่า ในหน้าที่การงานที่เกี่ยวกับบัญชีที่ตนรับผิดชอบอยู่นั้นจะพบว่าต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายๆฉบับอย่างไม่น่าเชื่อ ที่ใกล้ตัวที่สุดน่าจะเป็น (๑) ประมวลรัษฎากร กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ตามมาด้วย (๒) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเฉพาะในบรรพ 3 ในหมวดว่าด้วย “บริษัท” (๓) พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 (๔) พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 (๕) พระราชบัญญัติประกันสังคม และ (๖) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ที่เรียกกันสั้นๆว่ากฎหมายแรงงาน)

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์