หัก ณ ทีจ่าย 8 อย่างที่ SME ต้องรู้!!

หัก ณ ทีจ่าย 8 อย่างที่ SME ต้องรู้!!


ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็คือ 
“เงิน” ที่ผู้จ่ายเงิน “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายให้กับผู้รับเงิน แล้วเอาเงินนั้นไปให้กับรัฐ นั่นทำให้ผู้รับเงินไม่ได้รับเงินเต็มจำนวนครับ แต่จะได้เงินบวกกระดาษแผ่นนึงที่เรียกว่า “หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” ส่วนผู้จ่ายเงินยังต้องจ่ายเต็มนะครับ เพียงแต่จ่ายให้กับผู้รับเงินโดยตรงส่วนนึง แล้วให้สรรพากรอีกส่วนนึง หน้าที่หัก ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของผู้จ่าย ทั้ง บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล 
1. เงินเดือน ค่าจ้าง (เงินได้ประเภทที่ 1)

ถ้าคุณจ่ายเงินให้พนักงานหรือคนที่จ้างทำงานให้ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

อัตราภาษีที่ต้องหักไว้   : ต้องคำนวณเงินได้ทั้งปี หักค่าลดหย่อนต่างๆ แล้วหักตามอัตราก้าวหน้า เหมือนกับคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครับ ซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประเภทนี้คือประเภทที่เป็นไปได้ตั้งแต่ 0 คือไม่หักเลย หรือเป็นเท่าไหร่ก็แล้วแค่คำนวณ

แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.1
ต้องนำส่งสรรพากรภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : ผู้จ่ายทุกคน บุคคลธรรมดาก็ต้องหัก

2. จ้างทำงานให้ (เงินได้ประเภทที่ 2)

ถ้าคุณจ่ายเงินให้บุคคลธรรมดาที่เค้ารับทำอะไรบางอย่างให้ เช่น เป็นนายหน้าขายของ ได้ส่วนแบ่งค่าคอม หรือรับทำ หรือให้บริการอะไรบางอย่าง ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

อัตราภาษีที่ต้องหักไว้    : เหมือนข้อ 1 เลย
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง: ภ.ง.ด.1 
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : ผู้จ่ายทุกคน บุคคลธรรมดาก็ต้องหัก

ความแตกต่างระหว่าง “จ้างทำของ” กับ “รับทำงานให้” นั่นแยกได้ไม่ยากมาก นั่นคือ
-จ้างทำของผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหาอุปกรณ์ หรือเครื่องมือที่สำคัญในการทำงานเอง ผู้จ่ายเงินไม่ได้หามาให้ อันนี้ถือเป็นการทำธุรกิจแบบนึง ในกรณีนี้หัก 3% ครับ
-แต่ว่าถ้าเป็นการขายของให้ หรือจ้างเป็นเซลล์ให้ส่วนแบ่งการขาย อันนี้ให้คำนวณเหมือนเค้าเป็นพนักงานเลย เพราะว่าไม่ได้เป็นการใช้อุปกรณ์อะไรเป็นการเฉพาะ

3. จ้างทำของ / จ้างรับเหมา (เงินได้ประเภทที่ 7/8)

ตามที่ได้อธิบายไว้ด้านบนครับ ถ้าคุณจ้างใครทำอะไรให้ แล้วเค้าต้องใช้อุปกรณ์อะไรของเค้าเอง เช่น จ้างเขียนโปรแกรม เค้าต้องไปหาคอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่ใช้เขียนเอง อันนี้ก็ถือเป็นการจ้างทำของ หรือถ้าคุณจ้างออกแบบให้ เค้าต้องไปหาคอมพ์และโปรแกรมออกแบบเองอันนี้ก็ถือเป็นการจ้างทำของ แต่ถ้าคุณมีอุปกรณ์อะไรให้ครบครั้น แล้วให้เค้าออกแบบให้เฉยๆ อันนี้ถือว่าเป็นการจ้างทำงานให้ (เงินได้ประเภทที่ 2) ฟังดูไม่ยากใช้มั้ยครับ? แบ่งง่ายๆ ว่าใครให้ใช้อุปกรณ์ที่จำเป็นในการทำงานนั้นๆ ให้สำเร็จ แล้วอย่าลืมว่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย

อัตราภาษีที่ต้องหักไว้    : 3%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.3
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

4. จ้างบริการวิชาชีพอิสระ (เงินได้ประเภทที่ 6)

ค่าผู้สอบบัญชี หรือทนายความบ้างในการทำธุรกิจ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
อัตราภาษีที่ต้องหักไว้    : 3%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.3
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

5. ค่าเช่า (เงินได้ประเภทที่ 5)

ถ้าคุณเช่าออฟฟิศจากบุคคลธรรมดา ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือสิ่งที่คุณห้ามลืมนะครับ
อัตราภาษีที่ต้องหักไว้    : 5%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.3
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

เพิ่มเติม: ผู้เช่าไม่ให้หัก ถ้าหัก เลิกสัญญากันไปเลยเพราะเค้าแจ้งว่าไม่อยากมีรายได้ต้องเสียภาษี คุณมี 3 ตัวเลือกที่จะทำ
1) คุณเป็นผู้ออกภาษีแทนให้ แล้วนำส่งแบบตามปกติต่อไป แต่ก็เหมือนกับค่าเช่าคุณแพงขึ้นไปอีกประมาณ 5% แต่ธุรกิจคุณจะปลอดภัยจากค่าปรับภาษี และไร้จุดอ่อนไม่ให้สรรพากรโจมตีได้ กรณีน้ต้องระบุภาษีออกแทนไว้ในสัญญาถึงจะลงเป็นค่าใช้จ่ายได้
2) ย้ายเหอะ
3) เงียบๆ รอลุ้น ว่าสรรพากรกับข้อ 2 อย่างไหนจะมาถึงก่อนกัน

6. จ้างทำของ/จ้างรับเหมา/บริการต่างๆ (เงินได้ประเภทที่ 7/8)

ค่าใช้จ่าย  Hot Hit  พบบ่อยสุดพอๆ กับเงินเดือน ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประเภทนี้คือประเภทที่แตกต่างจากประเภทอื่นๆ ซึ่งสำหรับบริการธุรกิจต่างๆ หัก 3%
อัตราภาษีที่ต้องหักไว้    : 3%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.53
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

7. ค่าเช่า (เงินได้ประเภทที่ 5)

ค่าเช่าออฟฟิศจากนิติบุคคล หรื เช่าจากบุคคลธรรมดาแหละครับ ต่างกันแค่แบบ แล้วภาษีหัก ณ ที่จ่าย ทำอย่างไรดีหากบุคคลธรรมดาไม่ให้หัก ณ ที่จ่าย
อัตราภาษีที่ต้องหักไว้   : 5%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.53
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

8. ค่าโฆษณา (เงินได้ประเภทที่ 8)

จ้างบริษัทโฆษณาต่างๆ ให้โฆษณาให้ ทางทีวี วิทยุ โทรทัศน์ รถกระจายเสียง ต้องหัก ณ ที่จ่ายแต่อัตราอาจจะแปลกๆ กว่าซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประเภทนี้คือประเภทที่ถูกหักเพียง 2% เท่านั้น
อัตราภาษีที่ต้องหักไว้ : 2%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.53
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

9. ค่าขนส่ง (เงินได้ประเภทที่ 8)

กรณีจ้างบริษัทขนส่ง “ไม่สาธารณะ” ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการขนส่ง ซึ่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย ประเภทนี้คือประเภทที่ต้องหักแค่ 1% นะครับ 
อัตราภาษีที่ต้องหักไว้ : 1%
แบบภาษีที่ต้องใช้นำส่ง : ภ.ง.ด.53
ต้องนำส่งภายใน : วันที่ 7 ของเดือนถัดไป หรือวันที่ 15 หากยื่นออนไลน์ ถ้าติดวันหยุดก็เป็นวันทำการถัดไป
ผู้ที่ต้องหัก : บริษัท ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!



ที่มา : Link

 1065
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เอาแบบนี้ก่อนดีกว่า ถ้าเริ่มจากคำถามว่า ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารแบบไหนแบบไม่เสียภาษี พรี่หนอมอยากให้จำง่ายๆ ก่อนเลย 3 ตัว คือ ดอกเบี้ยที่เป็นเผื่อเรียกของธนาคารออมสิน กับ  ดอกเบี้ยออมทรัพย์ของธ.ก.ส. และอีกตัวคือดอกเบี้ยออมทรัพย์ของสหกรณ์
อยากวางแผนภาษีของกิจการให้ดี แต่ไม่รู้เลยว่าเจ้าหน้าที่สรรพากรจะรับรู้รายได้ที่เรามีได้อย่างไร คุณกำลังเป็นแบบนี้อยู่ใช่มั้ย?
การวางแผนภาษีอากร (Tax Planning) คือ การกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เพื่อการปฏิบัติในอนาคตเกี่ยวกับรายการทางการเงิน (Financial Transactions) อาทิ รายการรายได้ ค่าใช้จ่ายต่างๆ และจำนวนกำไรหรือขาดทุน ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางภาษีอากรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในอันที่จะป้องกันมิให้เกิดปัญหาภาษีอากรไม่ว่าประการใดๆ โดยมุ่งหมายให้การเสียภาษีอากรและการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรขององค์กรเป็นไปโดยถูกต้อง และครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายภาษีอากรกำหนดไว้ และเป็นผลให้จำนวนภาษีอากรที่ต้องเสียนั้น เป็นจำนวนน้อยที่สุดหรือประหยัดที่สุด รวมทั้งใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรสูงสุด ทั้งนี้ โดยไม่อาศัยการทุจริตหลีกเลี่ยงภาษีอากร
ตัวเลขหรือรหัสที่ใช้ในการจัดหมวดหมู่ผังบัญชีขององค์กร ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการและควบคุมทางบัญชี โดยรหัสบัญชีนี้จะถูกนำมาใช้ในกระบวนการบันทึกบัญชีและการจัดทำรายงานทางการเงิน หรือที่เรียกว่า ระบบบัญชีแยกประเภท (General Ledger) เพื่อให้การบันทึกและการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินเป็นระเบียบช่วยให้สามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินได้อย่างเป็นระบบ และสามารถนำมาใช้อ้างอิงได้อย่างถูกต้อง
ความเสี่ยงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกองค์กรธุรกิจ เป็นโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่าหรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต และมีผลกระทบ ที่จะทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จหรือบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร ที่กำหนดไว้ งานบัญชีเป็นงานที่มีความสำคัญมากของทุกองค์กร มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลบัญชีและ การเงิน ซึ่งต้องมีความถูกต้องสำหรับผู้ประกอบการนำไปใช้ในการตัดสินใจ และมีความน่าเชื่อถือ สำหรับบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามงานบัญชีก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดข้อผิดพลาดซึ่งจะก่อ ให้เกิดความเสียหายต่อองค์กร ผู้ประกอบการจะรับมือกับความเสี่ยงในงานบัญชีได้อย่างไร บทความนี้ มีคำตอบ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์