วิธีการ “ประมาณการกำไรสุทธิ”

วิธีการ “ประมาณการกำไรสุทธิ”


ขั้นตอนที่ 1

การประมาณการโดยนําผลการประกอบกิจการจริง 6 เดือนแรก บวกกับผลประกอบการที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนหลัง โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่คาดวาจะเกิดขึ้น 2 ด้าน ดังนี้

1. ด้านรายได้ ประกอบด้วย รายได้โดยตรง รายได้อื่น เช่น กำไรจากการจําหน่ายทรัพย์สิน และกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น

2. ด้านรายจ่าย ประกอบด้วย ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายขายและ บริหาร รายจ่ายอื่น เช่น ขาดทุนจากการจําหน่ายทรัพย์สิน และขาดทุน จากอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น

*สำหรับรายจ่ายให้พิจารณาเรื่องรายจ่าย ต้องห้ามด้วย เพราะไม่สามารถนํามารวม

ขั้นตอนที่ 2

นําประมาณการกำไรสุทธิ มาคํานวณ เพื่อยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 และพิจารณาว่าภาษีที่คํานวณได้ ตามแบบ ภ.ง.ด.51 มีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีที่คํานวณได้ ตามแบบ ภ.ง.ด.50 ของรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วหรือไม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.50/2537ฯ ลว. 31 ส.ค.2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.152/2558ฯ

ทั้งนี้ กรณี มีการลดอัตราภาษีในปีที่ประมาณการ ให้พิจารณาตามข้อ 1 (2) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.51/2537ฯ ลงวันที่ 31 ส.ค.2537 ด้วย..

หากประมาณการกําไรสุทธิคลาดเคลื่อน มีความผิดหรือไม่ ⁉️

▪️มาตรา 67 ตรีในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นรายการและชําระภาษีตามม.67ทวิ (1) หรือยื่น รายการและชําระภาษีตามม.67 ทวิ (1) โดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการ หรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่มีเหตุอันสมควร บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสีย เงินเพิ่มอีก 20% ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชําระตามม.67ทวิ (1) หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบ ระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชําระขาด แล้วแต่กรณี

▪️ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นรายการและชําระภาษีตามม.67 ทวิ (2) หรือยื่นรายการและชําระภาษีตามม.67 ทวิ (2) ไว้ไม่ถูกต้อง โดยไม่มีเหตุอันสมควร ทำให้จำนวนภาษีที่ต้องชําระขาดไป บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียเงินเพิ่มอีก 20% ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชําระตามม. 67 ทวิ (2) หรือของภาษีที่ชําระขาด แล้วแต่กรณี ***เงินเพิ่มดังกล่าวให้ถือเป็นค่าภาษีและอาจลดลงได้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.81/2542ฯ

▪️กรณีที่ 2 บริษัทหรือหจก. ไม่ยื่นรายการและชําระภาษีตามม.67 ทวิ (2) หรือยื่น ไว้ไม่ถูกต้อง โดยไม่มีเหตุผลที่ควร ทำให้จำนวนภาษีที่ต้องชําระขาดไป ต้องเสียเงินเพิ่มอีก 20% ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชําระตามม. 67 ทวิ (2) หรือของภาษีที่ชําระขาด แล้วแต่กรณี

***เงินเพิ่มดังกล่าวให้ถือเป็นค่าภาษีและอาจลดลงได้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.81/2542ฯ

บทสรุปการประมาณการกำไรสุทธิ

ผู้เสียภาษีอากรต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และยื่นประมาณการกําไรสุทธิให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงของการประกอบกิจการ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!

ขอบคุณบทความจาก :: www.rd.go.th  

 627
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ประเทศไทยได้เริ่มจัดทำอนุสัญญา ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2505  กับประเทศสวีเดน และได้มีการเจรจาทำอนุสัญญากับต่างประเทศเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง โดยโครงสร้างทั่วๆ ไป ของอนุสัญญาประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
เพื่อนำส่งภาษีให้แก่กรมสรรพากร ทั้งนี้ไม่ว่ารายได้ของคุณจะถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ก็ตาม ก็ยังคงเป็นหน้าที่ในการที่เราจะต้องยื่นภาษีให้ถูกต้อง หากไม่ยื่นภาษี และเราเองมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว ก็อาจทำให้กรมสรรพากรเรียกค่าปรับชำระภาษีล่าช้าจากเราได้ ดังนั้น "หากไม่อยากเสียค่าปรับย้อนหลังก็ควรศึกษาการยื่นภาษีให้ถูกต้อง"
การปิดงบการเงินแบบ normal อาจจะเป็นเรื่องไม่ normal อีกต่อไป ตั้งแต่มี Covid-19 เข้ามา แทบจะทุกธุรกิจได้รับผลกระทบจากโควิด เริ่มตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ และแน่นอนว่าผลกระทบเหล่านี้ย่อมต้องสะท้อนออกมาในงบการเงินอย่างถูกต้องและเหมาะสมเช่นกัน ก่อนจะปิดบัญชีปีนี้มีจุดเสี่ยงสำคัญอะไรในงบการเงินบ้างที่นักบัญชีต้องเรียนรู้ เราขออาสาพาทุกท่านมาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันเลย ในบทความนี้ค่ะ
e Invoice และ e Tax invoice ถือว่าเป็นสองคำที่หลาย ๆ คนคุ้นหู วันนี้เราจะมาเจาะข้อสงสัยว่าสองคำนี้คืออะไร มีความหมายว่าอย่างไร และใช้ในสถานการณ์ใดบ้าง 

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์