พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต้องรู้ !! กฎหมาย E-Payment รู้ไว้ ป้องกันได้ รับมือง่าย

พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ต้องรู้ !! กฎหมาย E-Payment รู้ไว้ ป้องกันได้ รับมือง่าย


ในปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่หันมาซื้อ-ขายออนไลน์กันมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการทั้งหลาย หันมาทำธุรกิจออนไลน์ หรือขายของออนไลน์กันมากยิ่งขึ้น

กฎหมาย E-payment คือ ? พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 เกิดขึ้นเพื่อรองรับระบบภาษี และเอกสารธุรกรรมทางการอิเล็กทรอนิกส์

โดยมีเงื่อนไขของกฎหมาย E-payment มีดังนี้

1. รับหรือฝากเงินเกินกว่า 400 ครั้ง และ มีจำนวนรวมเกิน 2 ล้านบาทต่อปี (เฉพาะขารับเท่านั้น)

2. รับหรือฝากเกินกว่า 3,000 ครั้ง

ส่งข้อมูลธุรกรรมที่มีลักษณะเฉพาะภายในมีนาคมของปีถัดไป (เฉพาะขารับเท่านั้น)

*หากเกินกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ธนาคารจะนำส่งข้อมูลให้กับกรมสรรพากรทำการตรวจสอบค่ะ


กรมสรรพากรจะได้รับข้อมูลอะไรบ้างเมื่อธนาคารหรือตัวแทนส่งข้อมูลไป

• เลขบัตรประจำตัวประชาชน

• ชื่อ-สกุล

• เลขบัญชีเงินฝาก

• จำนวนครั้งของการฝาก/รับโอนเงิน

• ยอดรวมของการฝาก/รับโอนเงิน

เมื่อเข้าเกณฑ์แล้วจะถูกตรวจสอบทุกรายหรือไม่

•กรมสรรพากรจะไม่เรียกตรวจทุกราย เพราะกรมสรรพากรจะมีการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อจัดกลุ่มผู้เสียภาษีอีกครั้งหนึ่ง

เจ้าของธุรกิจควรเตรียมตัวอย่างไร

1.จัดทำบัญชี รายรับ-รายจ่าย อย่างถูกต้อง

2.เก็บหลักฐานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ

3.ยื่นแบบแสดงรายการภาษีอย่างครบถ้วนและตรงเวลาที่กฎหมายกำหนด

เพียงเท่านี้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทุกท่านก็หมดห่วงเรื่องปัญหา กฎหมาย E-payment แล้วนะคะ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!


ขอบคุณบทความจาก :: www.accrevo.com 

 430
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนจดทะเบียนเลิกบริษัทต้องทำอย่างไรบ้าง ไปดูกันที่บทความนี้ค่ะ
ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์,กิจการค้าที่เป็นพาณิชยกิจที่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์,พาณิชยกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์
ลูกหนี้การค้า ถือเป็นหัวใจหลักที่กระทบกับสภาพคล่องของธุรกิจ ถ้าธุรกิจบริหารจัดการ ลูกหนี้การค้าไม่ดี ติดปัญหารายได้ค้างรับ คือขายของเป็นเงินเชื่อแล้วไม่สามารถเก็บเงินได้ ต้องเกิดบัญชีลูกหนี้การค้า ขึ้น หรือต้องแทงลูกหนี้การค้าเป็นหนี้สูญ  ธุรกิจมีปัญหาเงินขาดมือ ต้องไปกู้หนี้ยืมสินเพื่อหมุนเงิน สุดท้ายส่งผลกระทบมายังนักลงทุนที่อาจไม่ได้รับเงินปันผล เนื่องจากบริษัทมีเงินสดขาดมือ ขาดสภาพคล่องในเรื่องของเงินทุนหมุนเวียน ดังนั้นนักลงทุนควรเลือกลงทุนกับบริษัทที่มีความสามารถในการจัดการหนี้สินได้เป็นอย่างดี
ภ.ง.ด. 50 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลใช้สำหรับนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายประเทศไทย หรือ ต่างประเทศ โดยการยื่น ภ.ง.ด. 50 จำต้องยื่นภายใน 150 (ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม) วันนับตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยจะต้องยื่นทุกปี ไม่ว่าจะมีรายได้หรือไม่มีรายได้
ส่วนของเจ้าของ หรือ ส่วนของผู้ถือหุ้น คือ ส่วนของทุนที่เจ้าของนำเงินมาลงทุนในบริษัทประกอบกับกำไรสะสมที่บริษัททำมาหาได้ในแต่ละปีสะสมรวมกัน กลายเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
กิจการขนาดเล็กมักมีข้อจำกัดเรื่องเงินทุนหมุนเวียนรวมทั้งกำลังคน การจัดวางพนักงานในหน้าที่ต่างๆจึงไม่ค่อยมีการแบ่งแยกหน้าที่ พนักงานหนึ่งคนต้องรับผิดชอบงานหลายอย่างและอย่าได้หวังว่าจะมีแผนกต่างๆเหมือนองค์กรขนาดใหญ่

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์