ค่าเสื่อมราคาคืออะไร?

ค่าเสื่อมราคาคืออะไร?


ค่าเสื่อมราคาคืออะไร?

ค่าเสื่อมราคา หรือ Depreciation Expense เป็นการหักค่าใช้จ่ายสินทรัพย์ถาวรในแต่ละปี เนื่องจากสินทรัพย์ถาวรมีต้นทุนสูง และใช้งานได้เกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี โดยหลักการจึงสามารถตัดเป็นรายจ่ายได้ในแต่ละปีเป็น
ค่าเสื่อมราคา อธิบายอย่างเข้าใจง่าย ค่าเสื่อมราคาคือหลักการทางบัญชี เพราะถ้าไม่มีวิธีหักค่าเสื่อมของสินทรัพย์แล้วนั้น เงินที่ลงทุนซื้อสินทรัพย์จำพวกนั้นก็จะกลายเป็นค่าใช้จ่ายไปทันทีทั้งก้อนซึ่งจะมีผลต่องบกำไรขาดทุน เราจึงจำเป็นต้องมาทะยอย หักเป็นค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับอายุการใช้งานเพื่อให้การคิดต้นทุนค่าใช้จ่ายเหมาะสมกับการคำนวณกำไรขาดทุนภาษี

ยกตัวอย่าง
ทอรี่บริษัท ลงทุนซื้อเครื่องจักรใหม่มูลค่าสองล้านบาท สามารถผลิตสินค้าได้เดือนละสองแสนบาท ใช้ได้ยี่สิบปี หากในเดือนนั้นโรงงานมีรายได้จากการผลิตทั้งเครื่องจักรใหม่เครื่องจักรเก่ารวมกันแค่สี่แสนบาท จะกลายเป็นว่าเดือนนั้นบริษัทขาดทุนทันที แต่ถ้าเราตัดเป็นค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักรเหล่านั้น สมมติเดือนละหนึ่งแสน งบการเงินก็จะดูต่อเนื่องและสมเหตุสมผลมากขึ้นจากตัวอย่างข้างต้นจะแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของค่าเสื่อมราคามากยิ่งขึ้น

ประเภทสินทรัพย์
สินทรัพย์ที่พูดถึงในเรื่องค่าเสื่อมราคา เป็นสินทรัพย์ประเภทมีไว้ใช้งานเป็นระยะเวลายาวนานและมักจะมีมูลค่าสูง เช่น อาคาร อุปกรณ์ เครื่องจักร  รถยนต์ 

เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา ให้คำนวณตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ในกรณีที่รอบระยะเวลาบัญชีใดไม่เต็ม 12 เดือนให้เฉลี่ยหักตามส่วนสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ทั้งนี้ ไม่เกิน
อัตราร้อยละของมูลค่าต้นทุนตามประเภทของทรัพย์สินดังกล่าวข้างต้น โดยให้เฉลี่ยเป็นวัน เช่น  บริษัทแห่งหนึ่ง มีรอบระยะเวลาบัญชีปกติตามปีปฏิทิน  ได้ซื้อเครื่องจักร มูลค่า  500,000 บาท  เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2561  คำนวณ
ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักร  ดังนี้ 

ค่าเสื่อมราคา ในปี 2561 =  500,000  x  20/100  x  31/365 =  8,493.15  บาท

ปกติทรัพย์สินอย่างอื่นหักค่าเสื่อมราคาได้ร้อยละ 20 ของมูลค่า นั่นหมายถึง ได้ทรัพย์สินนั้นมาเต็มรอบระยะเวลาบัญชี

ข้อควรรู้
อย่างที่บอกไปข้างต้น ค่าเสื่อมราคา จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสินทรัพย์นั้นมีประโยชน์การใช้เกินกว่า 1 รอบบัญชี(หรือ 1 ปี) ดังนั้น สินทรัพย์ที่กิจการซื้อมาและใช้ประโยชน์หมดภายใน 1 ปี แบบนี้จะไม่เกิดค่าเสื่อมราคาแต่จะนับเป็นค่าใช้จ่าย
เช่น อุปกรณ์สำนักงานที่มีอายุการใช้งานต่ำ เป็นต้น

“ที่ดิน” ที่มีอายุการใช้งานเกิน 1 ปี ไม่คิดค่าเสื่อมราคา เพราะโดยปรกติที่ดินมักมีมูลค่าซากที่สูงขึ้นหรือไม่ลดลง ยกเว้นในบางกรณีที่พิสูจน์ได้จริงว่ามีการใช้ประโยชน์จากที่ดินจนทำให้เกิดการเสื่อมแน่นอน เช่น กิจการการเผาขยะ
เพราะจะทำให้หน้าดินเสื่อมสภาพและไม่สามารถกู้คืนมาได้ เป็นต้น

ทำไมต้องทราบเรื่องค่าเสื่อมราคา?
เพราะค่าเสื่อมราคาถือเป็นค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่งที่สำคัญของกิจการ เพราะมักเป็นค่าใช้จ่ายที่มีมูลค่ามากและมีผลต่อกำไรของกิจการสูง ถ้าหากเราไม่ทราบเกี่ยวกับค่าเสื่อมราคาแล้วละก็อาจส่งผลต่องบกำไรขาดทุนของกิจการได้ นี่คือเหตุผลที่จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าเสื่อมราคาค่ะ




ที่มา : jobdst.com
 555
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของผู้ที่จ่ายเงินส่วนผู้ที่รับเงินได้นั้นจะเป็นผู้ที่ถูก โดยหากมีการหักภาษี ณ. ที่จ่ายกับจะใช้แบบยื่น ภ.ง.ด.3 แต่หากหักกับนิติบุคคลจะใช้แบบยื่น ภ.ง.ด.53 ใบบทความนี้เราจะพูดถึงการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่เป็นนิติบุคคลกัน
การวางแผนภาษีอากร (Tax Planning) คือ การกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เพื่อการปฏิบัติในอนาคตเกี่ยวกับรายการทางการเงิน (Financial Transactions) อาทิ รายการรายได้ ค่าใช้จ่ายต่างๆ และจำนวนกำไรหรือขาดทุน ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางภาษีอากรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในอันที่จะป้องกันมิให้เกิดปัญหาภาษีอากรไม่ว่าประการใดๆ โดยมุ่งหมายให้การเสียภาษีอากรและการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรขององค์กรเป็นไปโดยถูกต้อง และครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายภาษีอากรกำหนดไว้ และเป็นผลให้จำนวนภาษีอากรที่ต้องเสียนั้น เป็นจำนวนน้อยที่สุดหรือประหยัดที่สุด รวมทั้งใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรสูงสุด ทั้งนี้ โดยไม่อาศัยการทุจริตหลีกเลี่ยงภาษีอากร
กิจการขนาดเล็กมักมีข้อจำกัดเรื่องเงินทุนหมุนเวียนรวมทั้งกำลังคน การจัดวางพนักงานในหน้าที่ต่างๆจึงไม่ค่อยมีการแบ่งแยกหน้าที่ พนักงานหนึ่งคนต้องรับผิดชอบงานหลายอย่างและอย่าได้หวังว่าจะมีแผนกต่างๆเหมือนองค์กรขนาดใหญ่
ทุกๆ ปีของการนำส่งงบการเงิน เมื่อพูดถึงเรื่องการยื่นงบการเงิน นักบัญชีก็ต้องนึกถึงการยื่น บอจ.5 ควบคู่มาด้วย แล้วก็จะมีคำถามต่อว่า แล้ว บอจ.5 คืออะไร ต้องยื่นทำไม ในการทำธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคล ก็จะมีผู้ถือหุ้นหลายคน แล้วแต่ว่าแต่ละกิจการจะตกลงกัน ซึ่งการยื่นบอจ.5 ก็เป็นเหมือนการยืนยันในทุกๆปีว่า รายชื่อผู้ถือหุ้นปัจจุบันนี้ คือใครบ้าง แล้วสัดส่วนหุ้นคนละเท่าไหร่ ก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องนำส่งข้อมูลในทุกๆ ปีค่ะ เราไปดูรายละเอียดกัน
ภาษีซื้อต้องห้าม! สิ่งสำคัญที่ควรรู้ ถ้าพูดถึงเรื่องภาษีซื้อต้องห้ามแล้ว ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมือใหม่บางท่าน อาจจะยังไม่เข้าใจว่าคืออะไร เกี่ยวข้องกับธุรกิจของเราอย่างไร ซึ่งในบทความนี้จะพูดถึงภาษีซื้อต้องห้ามมีลักษณะอย่างไรรวมถึงบทกำหนดโทษในกรณีที่เรานำภาษีซื้อต้องห้ามมาใช้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์