sale@onlinesoft.co.th
02-402-6117
,
081-359-6920
Menu
Home
Products
Sales Order - ระบบขาย
Purchase Order - ระบบจัดซื้อ
Accounts Receivable - ระบบบัญชีลูกหนี้
Accounts Payable - ระบบบัญชีเจ้าหนี้
Inventory Control - ระบบสินค้าคงเหลือ
General Ledger - ระบบบัญชีแยกประเภท
Financial Management - ระบบงบการเงิน
Budget Control - ระบบควบคุมงบประมาณ
Cheque and Bank - ระบบเช็คและธนาคาร
Import & Export - ระบบนำเข้าและส่งออกข้อมูล
Multi-Currency - ระบบอัตราแลกเปลี่ยนสกุล
Value Added Tax - ระบบภาษี
Audit & Internal Control - ระบบตรวจสอบและควบคุมภายใน
Fixed Assets - ระบบคำนวณค่าเสื่อมราคา
Payroll - ระบบคำนวณเงินเดือน
ESS ระบบลาออนไลน์
Services
จองอบรม Online
วีดีโอสอนการใช้งาน
คู่มือการใช้งาน
คำถามที่พบบ่อย FAQs
บริการ Maintenance
วิธีการชำระเงิน
Download Brochure
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
Partners
โครงการ Partners สำนักงานบัญชี
ลูกค้าอ้างอิง
News
ข่าวสาร
บทความบัญชี
บทความบริหาร
About Us
เกี่ยวกับเรา
แนวคิดการบริหาร
Office Location
ร่วมงานกับเรา
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
ทดลองใช้งาน
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
ค่าเสื่อมราคาคืออะไร?
ค่าเสื่อมราคาคืออะไร?
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
ค่าเสื่อมราคาคืออะไร?
ค่าเสื่อมราคาคืออะไร?
ย้อนกลับ
ค่าเสื่อมราคาคืออะไร?
ค่าเสื่อมราคา หรือ Depreciation Expense เป็นการหักค่าใช้จ่ายสินทรัพย์ถาวรในแต่ละปี เนื่องจากสินทรัพย์ถาวรมี
ต้นทุนสูง และใช้งานได้เกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี โดยหลักการจึงสามารถตัดเป็นรายจ่ายได้ในแต่ละปีเป็น
ค่าเสื่อมราคา
อธิบายอย่างเข้าใจง่าย ค่าเสื่อมราคาคือหลักการทางบัญชี เพราะถ้าไม่มีวิธีหักค่าเสื่อมของสินทรัพย์แล้วนั้น เงินที่ลงทุน
ซื้อสินทรัพย์จำพวกนั้นก็จะกลายเป็นค่าใช้จ่ายไปทันทีทั้งก้อนซึ่งจะมีผลต่องบกำไรขาดทุน เราจึงจำเป็นต้องมาทะยอย
หักเป็นค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับอายุการใช้งานเพื่อให้การคิดต้นทุนค่าใช้จ่ายเหมาะสมกับการคำนวณกำไรขาดทุนภาษี
ยกตัวอย่าง
ทอรี่บริษัท ลงทุนซื้อเครื่องจักรใหม่มูลค่าสองล้านบาท สามารถผลิตสินค้าได้เดือนละสองแสนบาท ใช้ได้ยี่สิบปี หากใน
เดือนนั้นโรงงานมีรายได้จากการผลิตทั้งเครื่องจักรใหม่เครื่องจักรเก่ารวมกันแค่สี่แสนบาท จะกลายเป็นว่าเดือนนั้นบริษัท
ขาดทุนทันที แต่ถ้าเราตัดเป็นค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักรเหล่านั้น สมมติเดือนละหนึ่งแสน งบการเงินก็จะดูต่อเนื่องและ
สมเหตุสมผลมากขึ้น
จากตัวอย่างข้างต้นจะแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของค่าเสื่อมราคามากยิ่งขึ้น
ประเภทสินทรัพย์
สินทรัพย์ที่พูดถึงในเรื่องค่าเสื่อมราคา เป็นสินทรัพย์ประเภทมีไว้ใช้งานเป็นระยะเวลายาวนานและมักจะมีมูลค่าสูง เช่น
อาคาร อุปกรณ์ เครื่องจักร รถยนต์
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ
การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา ให้คำนวณตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในแต่ละรอบระยะเวลา
บัญชี ในกรณีที่รอบระยะเวลาบัญชีใดไม่เต็ม 12 เดือนให้เฉลี่ยหักตามส่วนสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น ทั้งนี้ ไม่เกิน
อัตราร้อยละของมูลค่าต้นทุนตามประเภทของทรัพย์สินดังกล่าวข้างต้น โดยให้เฉลี่ยเป็นวัน เช่น บริษัทแห่งหนึ่ง มีรอบ
ระยะเวลาบัญชีปกติตามปีปฏิทิน ได้ซื้อเครื่องจักร มูลค่า 500,000 บาท เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2561 คำนวณ
ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักร ดังนี้
ค่าเสื่อมราคา ในปี 2561 = 500,000 x 20/100 x 31/365 = 8,493.15 บาท
ปกติทรัพย์สินอย่างอื่นหักค่าเสื่อมราคาได้ร้อยละ 20 ของมูลค่า นั่นหมายถึง ได้ทรัพย์สินนั้นมาเต็มรอบระยะเวลาบัญชี
ข้อควรรู้
อย่างที่บอกไปข้างต้น ค่าเสื่อมราคา จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อสินทรัพย์นั้นมีประโยชน์การใช้เกินกว่า 1 รอบบัญชี(หรือ 1 ปี)
ดังนั้น สินทรัพย์ที่กิจการซื้อมาและใช้ประโยชน์หมดภายใน 1 ปี แบบนี้จะไม่เกิดค่าเสื่อมราคาแต่จะนับเป็นค่าใช้จ่าย
เช่น อุปกรณ์สำนักงานที่มีอายุการใช้งานต่ำ เป็นต้น
“ที่ดิน” ที่มีอายุการใช้งานเกิน 1 ปี ไม่คิดค่าเสื่อมราคา เพราะโดยปรกติที่ดินมักมีมูลค่าซากที่สูงขึ้นหรือไม่ลดลง
ยกเว้นในบางกรณีที่พิสูจน์ได้จริงว่ามีการใช้ประโยชน์จากที่ดินจนทำให้เกิดการเสื่อมแน่นอน เช่น กิจการการเผาขยะ
เพราะจะทำให้หน้าดินเสื่อมสภาพและไม่สามารถกู้คืนมาได้ เป็นต้น
ทำไมต้องทราบเรื่องค่าเสื่อมราคา?
เพราะค่าเสื่อมราคาถือเป็นค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่งที่สำคัญของกิจการ เพราะมักเป็นค่าใช้จ่ายที่มีมูลค่ามากและมีผลต่อ
กำไรของกิจการสูง ถ้าหากเราไม่ทราบเกี่ยวกับค่าเสื่อมราคาแล้วละก็อาจส่งผลต่องบกำไรขาดทุนของกิจการได้ นี่คือ
เหตุผลที่จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับค่าเสื่อมราคาค่ะ
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!
ที่มา : jobdst.com
692
ผู้เข้าชม
บทความที่เกี่ยวข้อง
อยากเปิด สำนักงานบัญชี มีองค์ประกอบอะไรบ้าง
อยากเปิด สำนักงานบัญชี มีองค์ประกอบอะไรบ้าง
ภาษีมูลค่าเพิ่ม มีเพิ่มให้รัฐ ไม่ใช่เพิ่มค่าใช่จ่าย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม มีเพิ่มให้รัฐ ไม่ใช่เพิ่มค่าใช่จ่าย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value-added tax หรือ VAT) คือ ภาษีประเภทหนึ่งซึ่งผู้ประกอบการแต่ละคนจะมีหน้าที่นำส่ง โดยเก็บจากการเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้า โดยปกติเมื่อมีการซื้อสินค้าเราจะจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มรวมอยู่ในราคาสินค้า ให้แก่ผู้ที่ขายสินค้าให้เรา เมื่อเรานำไปขายต่อเราก็มีหน้าที่เก็บภาษีเพิ่มขึ้นมาเพื่อนำส่งสรรพากร หากเราไม่คิดราคาสินค้าที่มีการรวมและแยกภาษีมูลค่าเพิ่มให้เรียบร้อย สุดท้ายแล้วเราจะเข้าเนื้อเพราะต้องออกเงินส่วนนั้นเพื่อนำส่งภาษีเอง
การวิเคราะห์หาจุดคุ้มทุน
การวิเคราะห์หาจุดคุ้มทุน
จุดคุ้มทุนมีความสำคัญในการตัดสินใจกำหนดราคาขาย และปริมาณสินค้าที่จะขาย โดยการคำนวณจะต้องคำนวณทีละหนึ่งผลิตภัณฑ์ หากมีผลิตภัณฑ์หลายตัวก็คำนวณหลายครั้งโดยอย่าลืมที่จะจัดสรรค่าใช้จ่ายของผลิตภัณฑ์แต่ละตัวด้วยเพื่อไม่ให้มีค่าใช้จ่ายคงที่สูงเกินไป การคำนวณต้องใช้ปัจจัยเหล่านี้คือ
AI จะกลายเป็นเพื่อนใหม่ของนักบัญชีหรือไม่ ?
AI จะกลายเป็นเพื่อนใหม่ของนักบัญชีหรือไม่ ?
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า "AI" คือ เทคโนโลยีที่สร้างขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์หรือเครื่องจักรสามารถทำงานหรือประมวลผลข้อมูลได้เสมือนกับสมองของมนุษย์ โดย AI สามารถเรียนรู้ (Learning) คิดวิเคราะห์ (Reasoning) และปรับปรุงหรือแก้ไขตัวเองได้ (Self-correction) ในกระบวนการทำงาน ซึ่งถูกนำมาใช้ในหลายด้าน เช่น หุ่นยนต์ การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) การรู้จำภาพ และระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)
5 รายได้ที่ไม่ได้เกิดจากการประกอบธุรกิจโดยตรง
5 รายได้ที่ไม่ได้เกิดจากการประกอบธุรกิจโดยตรง
โดยปกติแล้วเมื่อกิจการมีรายได้เกิดขึ้น จะต้องรับรู้รายได้โดยการนำรายได้ดังกล่าวไปบันทึกบัญชี ไปคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในงบกำไรขาดทุน รายได้ที่ต้องนำไปคำนวณกำไรสุทธิมักจะได้แก่ รายได้จากการขาย รายได้จากการให้บริการ และรายได้อื่น
มาทำความรู้จักกับใบสั่งขาย (Sale Order)
มาทำความรู้จักกับใบสั่งขาย (Sale Order)
ใบสั่งขาย (Sale Order)หมายถึง การบันทึกรายการสั่งขายสินค้าหรือบริการ เพื่อเป็นการยืนยันการซื้อสินค้าของลูกค้า เริ่มจากเมื่อลูกค้ามีความต้องการสั่งซื้อสินค้า ฝ่ายขายจะตรวจสอบข้อมูลต่างๆ เช่น จำนวนสินค้าคงเหลือ จำนวนสินค้ากำลังผลิต จำนวนสินค้าที่ถูกจอง หรือข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า เช่น ประวัติการชำระเงิน หรือวงเงินเครดิต เพื่อยืนยันว่าสามารถขายสินค้าให้กับลูกค้ารายนี้ได้หรือไม่ เมื่อมีการตกลงการซื้อขาย ฝ่ายขายจะเริ่มสร้างคำสั่งขาย หากมีสินค้าอยู่ในคลังแล้ว ระบบจะเข้าไปจองสินค้าให้ แต่ถ้าสินค้าไม่พอระบบจะใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนการสั่งซื้อหรือผลิตต่อไป
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com