เอกสารที่ใช้ประกอบค่าใช้จ่ายของกิจการ ในกรณีที่หลักฐานไม่เพียงพอ

เอกสารที่ใช้ประกอบค่าใช้จ่ายของกิจการ ในกรณีที่หลักฐานไม่เพียงพอ



การบันทึกค่าใช้จ่ายให้ถูกต้องในการทำธุรกิจนั้นเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเอกสารที่ใช้ประกอบค่าใช้จ่ายของกิจการ ก็เป็นเรื่องต้องทำให้ถูกต้องเช่นกันเพื่อเป็นหลักฐานการยืนการใช้จ่ายนั้นๆ

หลายครั้งที่ไม่สามารถหาหลักฐานมาประกอบการใช้จ่ายได้ ทั้งๆที่เป็นการใช้จ่าย เพื่อให้เกิดประโยชน์กับกิจการโดยเฉพาะ แต่ในความเป็นจริงแล้วหากพิสูจน์ได้ว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้เกิดขึ้นจริงกับกิจการโดยเฉพาะแต่ในความเป็นจริงแล้ว หากพิสูจน์ได้ว่าค่าใช้จ่ายเหล่านี้เกิดขึ้นจริงกรมสรรพากรก็มีแนวทางปฏิบัตให้ถูกต้องได้

โดยบทความนี้จะมาแนะนำเอกสารที่ระบุอยู่ใน “คู่มือการจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีที่สามารถเป็นรายจ่ายทางภาษีได้” ของกรมสรรพากร เพื่อใช้สำหรับค่าใช้จ่ายของกิจการที่จ่ายจริงแต่ไม่มีหลักฐานเพียงพอ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง

กรณีรายจ่ายของกิจการที่จ่ายไปเพื่อประโยชน์ของกิจการจริง แต่ไม่มีหลักฐานการรับเงินเพียงพอ สามารถจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชีได้ แยกเป็นกรณีดังนี้

  • เอกสารที่ใช้ประกอบค่าใช้จ่ายของกิจการ

1. ใบรับเงิน

กรณีผู้รับเงินยินยอมออกใบรับเงิน (ตามมาตรา 105 ทวิ) ในใบรับเงินและสำเนาใบรับเงิน ต้องมีรายละเอียดตัวเลขไทยหรือเลขอารบิค และอักษรภาษาไทย หากทำเป็นภาษาต่างประเทศก็ให้มีภาษาไทยกำกับด้วยนะครับ ต้องมีรายละเอียดดังนี้

- เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกใบรับเงิน

- ชื่อของผู้ออกใบรับเงิน

- เลขที่เอกสารของใบรับเงิน

- วันเดือนปีที่ออกใบรับเงิน

- จำนวนเงินที่ได้รับ

- ชนิด ชื่อ จำนวนและราคาสินค้า

- ถ้าเป็นการขายสินค้าให้กับผู้ซื้อซึ่งขายสินค้าประเภทเดียวกันต้องแสดงชื่อที่อยู่ของผู้ซื้อไว้ในใบรับเงินด้วยทุกครั้งที่มีการรับเงิน

2. ใบสำคัญรับเงิน

กรณีที่ผู้รับเงินไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินให้ได้ แต่ยินยอมที่จะลงลายมือชื่อในช่องผู้รับเงิน และยินยอมให้แนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สามารถใช้เอกสาร “ใบสำคัญรับเงิน” ได้

3. ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน

กรณีจ่ายค่าสินค้าหรือบริการเบ็ตเตล็ดแต่ไม่สามารถเรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการได้ จำเป็นต้องให้พนักงานของกิจการเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินนั้น ก็สามารถใช้เอกสาร “ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน” ได้เช่นกัน

4. ใบสำคัญจ่าย

กรณีที่มีค่าใช้จ่ายแต่ใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีระบุเป็นชื่อผู้อื่น เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา เป็นต้น แต่กิจการสามารถพิสูจน์ได้ว่า กิจการเป็นผู้จ่ายเงินจริง และมีหลักฐานอื่นๆ แนบ เช่น สัญญาเช่า เป็นต้น ให้จัดทำเอกสาร “ใบสำคัญจ่าย” โดยระบุรายละเอียดดังนี้

- ชื่อ ที่อยู่ เลขบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ของผู้รับเงิน

- วันที่จ่ายเงิน

- ระบุประเภทของรายการที่จ่าย และจำนวนเงินที่จ่าย

- ลงลายมือชื่อผู้รับเงินไว้เป็นหลักฐาน

- มีการลงนามอนุมัติจ่ายโดยผู้มีอำนาจเท่านั้น



  • กรณีนี้ต้องแนบหลักฐานการจ่ายเงินต่าง ๆ ด้วยนะคะได้แก่

- หลักฐานการจ่ายเงิน เช่น สำเนาเช็คระบุชื่อผู้รับเงิน หรือหลักฐานการตัดบัญชี (Bank Statement) หรือสำเนาใบโอนเงินธนาคาร หรือสลิปโอนเงินอิเลคทรอนิกส์อื่นๆ

- ในกรณีชำระเป็นเงินสด ต้องแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้รับเงิน

- เอกสารพิจารณาที่เกี่ยวข้อง เช่น รายงานการประชุมที่มีมติให้อนุมัติเป็นรายจ่ายได้ จดหมายผู้บริหาร คำรับรองอนุมัติรายจ่าย รายการเบิกจ่ายที่ผ่านการอนุมัติและมีลายมือชื่อผู้อนุมัติจ่าย เป็นต้น

- ห
ลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่าย

 1298
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบบ ภ.พ.30 คือแบบแสดงรายการสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขาย เพื่อนำส่งกรมสรรพากร โดยผู้มีหน้าที่จัดทำคือ เจ้าของธุรกิจที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และได้ทำการขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต้องนำส่งให้กรมสรรพากรทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือสามารถยื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็ได้
กระดาษทำการ (Work Sheet) หมายถึง แบบฟอร์มที่รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นในการจัดทำงบการเงินมาไว้ที่เดียวกันกระดาษทำการเป็นเครื่องมือสำคัญในการปรับปรุงรายการตอนสิ้นงวดก่อนปิดบัญชีดังนั้นกระดาษทำการจะจัดทำขึ้นภายหลังที่ได้จดบันทึกรายการต่าง ๆ ของธุรกิจในบัญชีครบถ้วนแล้วแต่ยังไม่ได้ลงรายการปรับปรุงและปิดบัญชี
ในยุคที่กรมสรรพากร ได้มีการบริหารภายใต้นโยบายปรับเปลี่ยนองค์กรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการจัดเก็บภาษีและยกระดับการให้บริการด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกมาใช้ในการบริหารการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรทุกกระบวนงาน หรือที่เรียกว่า “RD Digital Government – Data Analytics” และนำมาสู่แนวคิดเรื่อง “บัญชีเดียว” ของผู้ประกอบธุรกิจ ส่งผลให้มีการกล่าวถึง “นักบัญชีภาษีอากร” ซึ่งจะเป็นผู้ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการเสียภาษีได้ถูกต้องและเหมาะสมมากขึ้น
การปิดบัญชี คือ การทำให้ตัวเลขในบัญชีตรงกับความเป็นจริง บัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายจะถูกปิดยอดคงเหลือ โอนไปบัญชีกำไรขาดทุน และยอดคงเหลือของบัญชีกำไรขาดทุนจะโอนไปยังบัญชีทุนพร้อมๆ กับยอดคงเหลือของบัญชี ถอนใช้ส่วนตัว  กิจการสามารถพิสูจน์ความถูกต้องของยอดคงเหลือจากบัญชีแยกประเภทได้โดยการทำงบทดลอง หลังปิดบัญชี
ในการทำบัญชีนั้น ผู้ทำบัญชีต้องจัดทำตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน แต่สำหรับการยื่นภาษีในทุกๆปี ต้องแสดงรายได้และค่าใช้จ่ายโดยใช้หลักเกณฑ์ประมวลรัษฎากร และเป็นที่แน่นอนว่า การใช้หลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ย่อมทำให้มีผลต่างเกิดขึ้นระหว่างบัญชีและภาษี 
สิ่งสำคัญต่อไปที่ต้องทำในการจัดระบบบัญชีเพื่อการจัดการ คือการเลือกหาโปรแกรมบัญชีที่เหมาะสมกับธุรกิจของเรามาใช้ เพื่อความมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ประหยัดคนและประหยัดเวลา การเลือกโปรแกรมบัญชี ท่านจะต้องเปิดโอกาสให้ทีมงานที่เกี่ยวข้องของท่านได้มีส่วนร่วมในการสรรหาด้วยเพราะเคยเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆว่าผู้บริหารเป็นผู้เลือกและตัดสินใจพอซื้อเสร็จก็โยนให้ฝ่ายบัญชีไปใช้ปรากฎว่าฝ่ายบัญชีรู้สึกว่าถูกบังคับก็เลยเกิดการต่อต้านหรือเกิดความไม่ชอบและไม่ให้ความร่วมมือจนในที่สุดก็กลายเป็นความล้มเหลว ปัจจัยที่จะต้องพิจารณาในการเลือกโปรแกรมบัญชีมีดังนี้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์