คนเดียวแต่หลายอาชีพ "เสียภาษีอย่างไร"

คนเดียวแต่หลายอาชีพ "เสียภาษีอย่างไร"




ก่อนที่จะนำรายได้ต่างๆ มาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่ารายได้เป็นรายได้ประเภทไหน สามารถหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้เท่าไหร่ มีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง

อันดับแรกมาดูที่ ประเภทเงินได้ก่อน

  • 1.เงินเดือน มาตรา 40 (1) การหักค่าใช้จ่าย หักเหมา 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  • 2.รับจ้างทั่วไป รับงานอิสระ มาตรา 40 (2) การหักค่าใช้จ่าย หักเหมา  50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  • 3.ขายสินค้า มาตรา 40 (8) การหักค่าใช้จ่าย หักเหมา 60% หรือหักตามจริง (ต้องมีเอกสารหลักฐาน)
นอกจากนี้ในส่วนของรายได้ที่เข้าร่วมโครงการรัฐ เช่น เราชนะ คนละครึ่ง ม.33 เรารักกัน เป็นรายได้ที่ต้องนำมายื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
  • 1.เงินที่ได้จากลูกค้าผ่านโครงการรัฐ
  • 2.เงินสนับสนุนที่ได้จากรัฐ
  • 3.เงินที่ได้มาจากยอดขายอื่นๆ

ต่อมาเป็น เกณฑ์การเสียภาษี

  • คนโสด รายได้เกิน 60,000 บาทต่อปี ต้องเสียภาษี
  • มีคู่สมรสรายได้รวมกัน 120,000 บาทต่อปี ต้องเสียภาษี

วิธีการคำนวณ

  • วิธีปกติ = รายได้สุทธิ (รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน) x อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • หากมีรายได้มากกว่า 120,000 บาทต่อปี  (ไม่รวมเงินเดือน) ใช้สูตรคำนวณ = รายได้สุทธิ x 0.5% แล้วเปรียบเทียบกับวิธีคำนวณตามปกติ หากวิธีนี้มีภาษีเกิน 5,000 บาทให้เสียภาษีตามวิธีที่สูงกว่า (หากไม่เกิน 5,000 บาทให้เสียภาษีตามวิธีการคำนวณปกติ)
กำหนดเวลายื่นแบบ
  • ภาษีครึ่งปี ภ.ง.ด.94 กำหนดยื่นตั้งแต่ 1 ก.ค.-3. ก.ย. ของปีนั้นๆ โดยนำเงินได้ที่ไม่ใช้เงินได้
  • มาตรา 40 (1) (2) ตั้งแต่เดือน ม.ค.-มิ.ย. ของปีนั้นมารวมคำนวณภาษี
  • ภาษีประจำปี ภ.ง.ด.90 กำหนดยื่นตั้งแต่ 1 ม.ค.-31 มี.ค. ของปีถัดไปโดยนำเงินได้ทุกประเภท ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ธ.ค. ของปีนั้น มารวมคำนวณภาษีและนำภาษีที่ชำระตาม ภ.ง.ด.94 มาเครดิตภาษีได้
อย่างไรก็ตาม ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการต่างๆ หรือผู้ที่มีรายได้จากการขายสินค้าและบริการเกินปีละ 1.8 ล้านบาทต้องยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับจากวันที่มีรายได้ถึงเกณฑ์กับทางกรมสรรพากร โดยผู้ที่ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เมื่อขายสินค้า/บริการ จะต้องออกใบกำกับภาษีและเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากลูกค้าเพื่อนำส่งสรรพากร และต้องจัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และยื่นแบบ ภ.พ.30 ทุกเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



CR. : https://www.pptvhd36.com/
 499
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

"ใบลดหนี้" และ "ใบเพิ่มหนี้" โดยเอกสารทั้ง 2 ชนิดนี้เราจะใช้เมื่อมูลค่ารายการขายสินค้าหรือให้บริการมีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่ตกลงกัน จะออกใบเพิ่มหนี้/ใบลดหนี้ได้ ต้องมีการออกใบกำกับภาษีแล้ว (ผู้ออก) ต้องออกใบเพิ่มหนี้ / ใบลดหนี้ ในเดือนที่มีเหตุที่กล่าวมาเกิดขึ้น (ผู้รับ) ต้องนําภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนที่เพิ่ม หรือขาด ไปใช้ในเดือนที่ได้รับ
นักลงทุนควรที่ความสำคัญกับการทำความเข้าใจในงบการเงินของกิจการ โดยนักลงทุนจะต้องทราบถึงความสำคัญของงบการเงิน ว่ามีความสำคัญอย่างไร เพราะข้อมูลในงบการเงินของแต่ละกิจการนั้น จะสามารถบ่งชี้ให้เราทราบถึงโอกาสในการลงทุนโดยดูจากข้อมูลภายในงบการเงินนั้นๆ งบการเงินของบริษัท ซึ่งในบทความนี้ผู้เขียนต้องการที่จะกล่าวถึง สาระสำคัญของงบการเงินที่นักลงทุนควรที่จะต้องพิจารณา โดยมีด้วยกันอยู่ 2 รายงาน และ 3 งบ ดังนี้
การบัญชีในปัจจุบันมีบทบาทสำคัญต่อทุกๆกิจการ การทำงานของบัญชีก็มีหลายส่วนงานด้วยกัน ซึ่งส่วนงานที่สำคัญของบัญชีก็คือการออกงบการเงิน ในงบการเงินประกอบด้วย 5 งบที่สำคัญคือ
ในการทำบัญชีนั้น ผู้ทำบัญชีต้องจัดทำตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน แต่สำหรับการยื่นภาษีในทุกๆปี ต้องแสดงรายได้และค่าใช้จ่ายโดยใช้หลักเกณฑ์ประมวลรัษฎากร และเป็นที่แน่นอนว่า การใช้หลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ย่อมทำให้มีผลต่างเกิดขึ้นระหว่างบัญชีและภาษี 
ก่อนจะมาเป็น “หนี้สูญ” ต้องผ่านการบันทึกบัญชีลูกหนี้มาก่อน ซึ่งเกิดจากการขายที่ให้เครดิตแก่ลูกหนี้ ที่เรียกกันทั่วไปคือการขายเชื่อ หรืออาจเป็นการขายผ่อนชำระ รวมถึงการรับชำระเป็นงวด ๆ ในลักษณะการเช่าซื้อหรือลีสซิ่ง นอกจากลูกหนี้ที่เกิดจากการค้าแล้วอาจมีลูกหนี้ในลักษณะอื่น ๆ ทั้งนี้ กิจการที่มีลูกหนี้ย่อมมีสิทธิในการเรียกให้ลูกหนี้นั้นชำระเงินตามมูลหนี้ที่เกิดขึ้นตามที่ได้ตกลงกันไว้
การจะเข้าสู่วงจรการทำธุรกิจ เราควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบธุรกิจ “บุคคลธรรมดา” หรือ “นิติบุคคล” เพราะ 2 รูปแบบนี้มีความต่างกันทั้งในเรื่องข้อดี ข้อเสีย รวมถึงการจัดทำบัญชี และภาษี ที่ต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งจะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจในรูปแบบใด ควรศึกษาข้อมูลเหล่านี้ให้ดีก่อน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์