รายการลดหย่อนภาษีสำหรับนิติบุคคล

รายการลดหย่อนภาษีสำหรับนิติบุคคล


การลดหย่อนภาษีสำหรับนิติบุคคล

รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนภาษีจุดมุ่งหมายเช่นเดียวกับ การลดหย่อนภาษีสำหรับบุคคลธรรมดา ทั้งนี้เพื่อให้การชำระภาษีในปีนั้น ๆ มีจำนวนน้อยลง เพราะมีการหักค่าใช้จ่ายในแต่ละปีภาษีมากขึ้น ต่างกันเพียงแค่รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนแตกต่างจากบุคคลธรรมดาเท่านั้น โดยรายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนได้ มีดังนี้

รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนได้ 1.การลดหย่อนภาษีในการนำเงินรายจ่ายมาหักออก 2 เท่า

สำหรับนิติบุคคลที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน SMEs ที่มีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท ซึ่งมีรายได้จากการขายสินค้า/บริการในรอบปีภาษีนั้นไม่เกินจำนวน 30 ล้านบาท สามารถนำค่าใช้จ่ายในกิจการมาหักออกเป็นรายจ่ายได้ถึง 2 เท่า ไม่ว่าจะเป็นค่าสอบบัญชี ค่าจัดทำบัญชี โดยสามารถนำค่ารายการเหล่านี้ในเวลา 5 รอบปีบัญชีต่อเนื่องกัน มาหักเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า

2.การลดหย่อนภาษีสำหรับการเพิ่มรายจ่ายในรอบปีภาษีนั้น

รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาใช้เป็นรายจ่ายเพื่อลดหย่อนภาษี มีได้หลายรายการ เช่น

1.เงินบริจาคที่ได้บริจาคในนามของนิติบุคคล

2.การจ้างแรงงานผู้สูงอายุ ทั้งนี้มีเงื่อนไขคือ ค่าจ้างนั้นต้องมีค่าจ้างไม่เกิน 15,000 บาท/เดือน/คน และต้องมีจำนวนลูกจ้างที่เป็นผู้สูงอายุไม่เกิน 10% ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น

3.ค่าใช้จ่ายสำหรับการฝึกอบรมพนักงาน เพื่อพัฒนาและเพิ่มพูนศักยภาพของพนักงานในนิติบุคคลนั้น

4.ค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน อันเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการดำเนินหรือเกี่ยวเนื่องกับการดำเนินกิจการของนิติบุคคลนั้น เช่น คอมพิวเตอร์ รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อาคารโรงงาน เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร แต่ทั้งหมดนี้มีเงื่อนไขว่านิติบุคคลนั้นจะต้องมีสินทรัพย์ถาวรจำนวนไม่เกิน 200 ล้านบาท และมีจำนวนพนักงานภายในนิติบุคคลไม่เกินจำนวน 200 คน 

การลดหย่อนภาษีสำคัญอย่างไร ?

การเสียภาษีทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลซึ่งถือว่าเป็น “หน้าที่” ตามที่กฎหมายกำหนด ทำให้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มีเงินได้ จะต้องชำระภาษีในรอบปีภาษีนั้น ๆ ภายในกำหนดระยะเวลา ดังนั้นหากมีการวางแผนการก่อให้เกิดรายจ่ายที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง รวมถึงยังสามารถนำรายจ่ายนั้นมาหักออกจากการคำนวณเงินได้ ตามที่กฎหมายกำหนดยินยอมให้เป็นรายการซึ่งนำมาหักได้แล้ว ก็จะเป็นผลดีต่อผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียภาษีในรอบปีภาษีนั้น ๆ 


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



ที่มา : LINK

 476
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้ตรวจสอบบัญชี หรือ ผู้สอบบัญชี CPA (Certified Public Accountant) คือ ผู้ที่ขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพพ.ศ.2547 มีสิทธิในการตรวจสอบและรับรองบัญชีของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ทุกขนาด ทุกประเภท (ไม่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์) การสอบ CPA เป็นการทดสอบความรู้และความสามารถในด้านบัญชีและงานที่เกี่ยวข้อง และเป็นที่ยอมรับและเคารพในวงกว้างในวงการบัญชีและการเงิน
ส่วนลด (Discount) หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ขายยอมลดให้กับผู้ซื้อ ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดของผู้ขาย ในการจูงใจให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้า หรือจูงใจให้ผู้ซื้อสินค้าปริมาณมาก หรือเพื่อจูงใจให้ลูกค้าที่ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อมาชำระหนี้เร็วขึ้นในการดำเนินธุรกิจซื้อ-ขายสินค้านั้น มักจะให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อใน 2 ลักษณะคือ
หลายคนอาจมีคำถามว่า บุคคลธรรมดาผู้มีเงินได้ก็ยื่นภาษีทุกปีอยู่แล้วทำไมต้องยื่นเสียภาษีครึ่งปีอีก? ซึ่งก็มีแค่บุคคลที่มีเงินได้บางประเภทเท่านั้นที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีครึ่งปี โดยการเสียภาษีครึ่งปีนี้ถือเป็นการบรรเทาภาระภาษี เพราะหากไม่มีการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 94 หรือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี จะต้องยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและชำระภาษีเป็นเงินจำนวนมาก โดยภาษีเงินได้ครึ่งปีที่จ่ายไป สามารถนำไปใช้หักออกจากภาษีประจำปีที่คำนวณได้ ตัวอย่างเช่น นายเอได้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีไปแล้วจำนวน 6,000 บาท พอสิ้นปีนายเอคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายเป็นจำนวน 9,000 บาท นายเอก็จ่ายภาษีเพิ่มแค่ 3,000 บาทเท่านั้น  (9,000-6,000 บาท)
ERP ย่อมาจาก Enterprise Resource Planning คือ ระบบที่ใช้ในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรต่างๆ ขององค์กร โดยจะเชื่อมโยงระบบงานต่างๆ ขององค์กรไว้ในที่เดียวกัน เพื่อให้เป็นระบบมาตรฐานเดียวกัน ทั้งระบบจัดซื้อ ระบบบัญชี ระบบการบริหาร และระบบการจัดการบุคคล มีจุดประสงค์เพื่อให้มีการบริหารและใช้ทรัพยากรร่วมกันภายในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ความหมายของการจัดการคลังสินค้า (Introduction to Warehouse Management)คลังสินค้า หมายถึง พื้นที่ที่ได้วางแผนแล้วเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ในการใช้สอยและการเคลื่อนย้ายสินค้าและวัตถุดิบ โดยคลังสินค้าทำหน้าที่ในการเก็บสินค้า ระหว่างกระบวนการเคลื่อนย้ายเพื่อสนับสนุนการผลิตและการกระจายสินค้า ซึ่งสินค้าที่เก็บในคลังสินค้าสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่1. วัตถุดิบ (Material) ซึ่งอยู่ในรูป วัตถุดิบ ส่วนประกอบและชิ้นส่วนต่างๆ2. สินค้าสำเร็จรูปหรือสินค้า จะนับรวมไปถึงงานระหว่างการผลิต ตลอดจนสินค้าที่ต้องการทิ้งและวัสดุที่นำมาใช้ใหม่

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์