งบเปล่าและการปิดงบเปล่า

งบเปล่าและการปิดงบเปล่า


งบเปล่า คืองบการเงินของธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่ไม่ได้ดำเนินกิจการ ไม่มีรายได้และค่าใช้จ่ายใดๆ ไม่มีการซื้อขาย ซึ่งถ้าตลอดปีงบการเงินไม่มีการเคลื่อนไหวเลย ผู้ประกอบการก็ยังต้องมีหน้าที่ปิดงบการเงินส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและกรมสรรพากรประจำทุกปี หรือเรียกว่าการปิดงบเปล่าส่ง

โดยช่วงที่ต้องปิดงบเปล่า จะต้องมีผู้ทำบัญชีจัดทำงบเปล่าขึ้นมา และให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบบัญชีพร้อมเซ็นรับรอง จากนั้นส่งให้กรรมการ (เจ้าของกิจการ) อนุมัติงบการเงิน และหลังจากอนุมัติแล้วให้นำส่งงบเปล่านี้ให้กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 1 เดือน

ระยะเวลาดำเนินการทั้งหมดตั้งแต่สิ้นรอบบัญชี ต้องให้เสร็จไม่เกิน 5 เดือน โดยยื่นงบการเงิน ลายเซ็นผู้สอบ และ บอจ.5 ผ่านทางออนไลน์ได้เพียงช่องทางเดียวเท่านั้น ส่วนกรมสรรพากร ให้ยื่นส่งงบการเงิน และ ภ.ง.ด.50 ภายใน 150 วัน นับจากวันสิ้นรอบบัญชี

เงื่อนไขหรือสาระสำคัญของงบเปล่า

1. ต้องไม่มีรายละเอียดต้นงวดยกมาที่เป็นสาระสำคัญ ซึ่งจำเป็นต้องพิสูจน์ความถูกต้อง ไม่ถือว่าเป็นงบเปล่า
2. มีการเคลื่อนไหวของรายการธนาคาร หรือมีการยื่นแบบภาษี (ที่ไม่ใช่แบบเปล่า) จะไม่ใช่งบเปล่า
3. ทุนจดทะเบียนบริษัท ต้องไม่เกิน 5 ล้านบาท ถ้านอกเหนือจากนี้ไม่ถือว่าเป็นงบเปล่า





ขอบคุณที่มา : sites.google.com
 534
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การเฉลี่ยภาษีซื้อ คือ การปันส่วนภาษีซื้อของกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีรายได้จากธุรกิจ VAT และ NON VAT ซึ่งภาษีซื้อที่เกิดขึ้นมาจากการได้สินค้าหรือบริการ มาใช้ในกิจการที่ไม่สามารถจำแนกได้ว่าใช้ในธุรกิจ VAT หรือ NON VAT
เอกสารประกอบการบันทึกค่าใช้จ่ายแบบไหนที่ไม่สามารถใช้ได้
มีผู้ประกอบการหลายท่านที่ทำเอกสารต่างๆเอง ยื่นภาษีเอง มีความรู้ทางด้านภาษีเป็นอย่างดี และไม่อยากเสียเงินจ้างนักบัญชี และก็มีคำถามมาตลอดว่าสามารถทำบัญชีเองได้รึป่าว วันนี้แอดเลยสรุปให้ง่ายๆฉบับนักบัญชียุคใหม่
สำหรับกิจการที่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี คือ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และต้องจัดให้มีการทำบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจของตนโดยมีรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประกอบธุรกิจเป็นประจำในสถานที่หลายแห่งแยกจากกันให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจในสถานที่นั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
เมื่อธุรกิจขาดทุน สำหรับบุคคลธรรมดาจะต้องเสียภาษีขั้นต่ำอัตรา 0.5% ของเงินได้ ถ้าภาษีที่คำนวนได้ไม่ถึง 5,000 บาท ได้รับยกเว้นภาษีและผลขาดทุนสะสมไม่สามารถยกไปหักกับเงินได้ในปีถัดไป แต่สำหรับนิติบุคคลเมื่อขาดทุนจะไม่เสียภาษีและผลขาดทุนสามารถนำไปหักจากกำไรในปีอื่นได้ไม่เกิน 5 ปี

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์