กรมพัฒน์ฯ แนะ!!! ผู้ทำบัญชีเช็กลิสต์สิ่งที่ต้องทำ ก้าวสู่ผู้ทำบัญชีอย่างถูกกฎหมาย

กรมพัฒน์ฯ แนะ!!! ผู้ทำบัญชีเช็กลิสต์สิ่งที่ต้องทำ ก้าวสู่ผู้ทำบัญชีอย่างถูกกฎหมาย



นักบัญชีเป็นวิชาชีพเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจแบบแยกออกจากกันไม่ได้ ธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเป็นต้องมี “ผู้ทำบัญชี”ที่รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของธุรกิจ เพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของธุรกิจที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี พระราชบัญญัติการบัญชีจึงได้มีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ทำบัญชีไว้ชัดเจน โดยมีการแบ่งแยกหน้าที่และความรับผิดชอบกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือธุรกิจ ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด ดังนี้

1.มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
2.มีความรู้ภาษาไทยเพียงพอที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ทำบัญชีได้
3.เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชี
4.ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ในมาตรา 39(3) แห่ง พ.ร.บ.วิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547 เว้นแต่ต้องคำพิพากษา หรือ พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
5.มีคุณวุฒิการศึกษา แบ่งตามขนาดของธุรกิจได้ 2 ระดับ คือ
    5.1) ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่า สามารถเป็นผู้ทำบัญชีให้กับธุรกิจได้ทุกประเภทและทุกขนาดกิจการ
    5.2) ต่ำกว่าปริญญาตรี แต่ไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า สามารถเป็นผู้ทำบัญชีให้กับธุรกิจได้เฉพาะห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจำกัด ที่ ณ วันปิดบัญชีในรอบปีที่ผ่านมา มีทุกรายการต่อไปนี้ คือ ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท

เมื่อเป็นผู้ทำบัญชีแล้วต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชีตามที่กฎหมายกำหนด ดังนี้

1. เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี

2. แจ้งรายละเอียดการทำบัญชีในระบบงานผู้ทำบัญชี e-Accountant ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มทำบัญชี ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงรายการที่แจ้งไว้ ต้องแจ้งภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง

3. พัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี (CPD) ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อปีปฏิทิน มีชั่วโมงบัญชีไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง โดยสามารถแจ้ง CPD ได้ทันทีหลังทำกิจกรรม แต่ไม่เกิน 30 ม.ค. ของปีถัดไป โดยแจ้งผ่านทางระบบ e-Accountant หรือระบบ CPD Online ของสภาวิชาชีพบัญชี

4. ยืนยันรายชื่อธุรกิจที่รับทำบัญชี และยืนยันการเป็นสมาชิกวิชาชีพบัญชี ผ่านทางระบบ e-Accountant ภายในวันที่ 30 ม.ค. ของปีถัดไป (เริ่มยืนยันตั้งแต่ 1 ม.ค. เป็นต้นไป)

5. รับทำบัญชีได้ไม่เกิน 100 รายต่อปีปฏิทิน (โดยนับตามจำนวนรายธุรกิจ ไม่ได้นับตามรอบปีบัญชีงบการเงิน)
ทั้งนี้ ผู้ทำบัญชีสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พ.ร.บ.การบัญชี 2543 และประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ.2557 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559 และหากไม่ปฎิบัติตามเงื่อนไขข้างต้นจะมีบทลงโทษ คือ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท และอาจส่งผลต่อการนำส่งงบการเงินทางระบบ DBD e-filing

ผู้ทำบัญชีมีบทบาทสำคัญในการจัดทำ และนำเสนอข้อมูลทางบัญชีของนิติบุคคล คุณภาพของผู้ทำบัญชีย่อมส่งผลต่อคุณภาพของข้อมูลทางด้านบัญชี ผู้ทำบัญชีจำเป็นต้องมีความรู้ และประสบการณ์ในการจัดทำบัญชี และนำเสนองบการเงิน การอัปเดตความรู้ทางด้านบัญชี ภาษีอากรและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้กับนักบัญชีอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน อธิบดี กล่าวสรุป

ปัจจุบัน (ข้อมูล ณวันที่ 30 กันยายน 2565) ประเทศไทยมีผู้ทำบัญชีประมาณ 78,816 คน สำนักงานบัญชี 10,156 แห่ง และสำนักงานบัญชีคุณภาพ จำนวน 166 แห่ง


สอบถามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่สายด่วน 1570 ส่วนส่งเสริมพัฒนาวิชาชีพบัญชี กองกำกับบัญชีธุรกิจ โทร 02 547 4395 และ www.dbd.go.th



สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!
 563
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การสลักหลังเช็ค เราสามารถทำได้กี่แบบ แล้วมันแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
การวางแผนภาษีอากร (Tax Planning) คือ การกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เพื่อการปฏิบัติในอนาคตเกี่ยวกับรายการทางการเงิน (Financial Transactions) อาทิ รายการรายได้ ค่าใช้จ่ายต่างๆ และจำนวนกำไรหรือขาดทุน ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางภาษีอากรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในอันที่จะป้องกันมิให้เกิดปัญหาภาษีอากรไม่ว่าประการใดๆ โดยมุ่งหมายให้การเสียภาษีอากรและการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรขององค์กรเป็นไปโดยถูกต้อง และครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายภาษีอากรกำหนดไว้ และเป็นผลให้จำนวนภาษีอากรที่ต้องเสียนั้น เป็นจำนวนน้อยที่สุดหรือประหยัดที่สุด รวมทั้งใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรสูงสุด ทั้งนี้ โดยไม่อาศัยการทุจริตหลีกเลี่ยงภาษีอากร
ก่อนเริ่ม วางแผนภาษี เจ้าของกิจการจำเป็นต้องศึกษาความรู้เรื่องภาษีเสียก่อน เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการทำบัญชี และการยื่นภาษีแก่สรรพากร  กิจการจะสามารถวางแผนภาษีได้ ก็ต่อเมื่อทราบก่อนว่าต้องยื่นแบบฯ ภาษีใดบ้างภาษีหลักๆ และกำหนดเวลาในการยื่นภาษีแต่ละประเภท มีดังนี้
เพื่อนำส่งภาษีให้แก่กรมสรรพากร ทั้งนี้ไม่ว่ารายได้ของคุณจะถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ก็ตาม ก็ยังคงเป็นหน้าที่ในการที่เราจะต้องยื่นภาษีให้ถูกต้อง หากไม่ยื่นภาษี และเราเองมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว ก็อาจทำให้กรมสรรพากรเรียกค่าปรับชำระภาษีล่าช้าจากเราได้ ดังนั้น "หากไม่อยากเสียค่าปรับย้อนหลังก็ควรศึกษาการยื่นภาษีให้ถูกต้อง"
ส่วนของเจ้าของ หรือ ส่วนของผู้ถือหุ้น คือ ส่วนของทุนที่เจ้าของนำเงินมาลงทุนในบริษัทประกอบกับกำไรสะสมที่บริษัททำมาหาได้ในแต่ละปีสะสมรวมกัน กลายเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
ความหมายของ สินค้าคงเหลือในทางการบัญชี คือ ทรัพย์สินที่กิจการมีไว้เพื่อขาย หรืออาจให้ความหมายโดยละเอียดยิ่งขึ้นว่า สินค้าคงเหลือ คือ “สินค้าสำเร็จรูป งานหรือสินค้าระหว่างทำ วัตถุดิบ และวัสดุใช้ในการผลิตเพื่อขายตามปกติของกิจการ 

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์