กรมพัฒน์ฯ แนะ!!! ผู้ทำบัญชีเช็กลิสต์สิ่งที่ต้องทำ ก้าวสู่ผู้ทำบัญชีอย่างถูกกฎหมาย

กรมพัฒน์ฯ แนะ!!! ผู้ทำบัญชีเช็กลิสต์สิ่งที่ต้องทำ ก้าวสู่ผู้ทำบัญชีอย่างถูกกฎหมาย



นักบัญชีเป็นวิชาชีพเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจแบบแยกออกจากกันไม่ได้ ธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเป็นต้องมี “ผู้ทำบัญชี”ที่รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของธุรกิจ เพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของธุรกิจที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี พระราชบัญญัติการบัญชีจึงได้มีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ทำบัญชีไว้ชัดเจน โดยมีการแบ่งแยกหน้าที่และความรับผิดชอบกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือธุรกิจ ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด ดังนี้

1.มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
2.มีความรู้ภาษาไทยเพียงพอที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ทำบัญชีได้
3.เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีหรือขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชี
4.ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ในมาตรา 39(3) แห่ง พ.ร.บ.วิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547 เว้นแต่ต้องคำพิพากษา หรือ พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
5.มีคุณวุฒิการศึกษา แบ่งตามขนาดของธุรกิจได้ 2 ระดับ คือ
    5.1) ไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่า สามารถเป็นผู้ทำบัญชีให้กับธุรกิจได้ทุกประเภทและทุกขนาดกิจการ
    5.2) ต่ำกว่าปริญญาตรี แต่ไม่ต่ำกว่าอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า สามารถเป็นผู้ทำบัญชีให้กับธุรกิจได้เฉพาะห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน และบริษัทจำกัด ที่ ณ วันปิดบัญชีในรอบปีที่ผ่านมา มีทุกรายการต่อไปนี้ คือ ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท

เมื่อเป็นผู้ทำบัญชีแล้วต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชีตามที่กฎหมายกำหนด ดังนี้

1. เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี

2. แจ้งรายละเอียดการทำบัญชีในระบบงานผู้ทำบัญชี e-Accountant ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มทำบัญชี ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงรายการที่แจ้งไว้ ต้องแจ้งภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง

3. พัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพบัญชี (CPD) ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงต่อปีปฏิทิน มีชั่วโมงบัญชีไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง โดยสามารถแจ้ง CPD ได้ทันทีหลังทำกิจกรรม แต่ไม่เกิน 30 ม.ค. ของปีถัดไป โดยแจ้งผ่านทางระบบ e-Accountant หรือระบบ CPD Online ของสภาวิชาชีพบัญชี

4. ยืนยันรายชื่อธุรกิจที่รับทำบัญชี และยืนยันการเป็นสมาชิกวิชาชีพบัญชี ผ่านทางระบบ e-Accountant ภายในวันที่ 30 ม.ค. ของปีถัดไป (เริ่มยืนยันตั้งแต่ 1 ม.ค. เป็นต้นไป)

5. รับทำบัญชีได้ไม่เกิน 100 รายต่อปีปฏิทิน (โดยนับตามจำนวนรายธุรกิจ ไม่ได้นับตามรอบปีบัญชีงบการเงิน)
ทั้งนี้ ผู้ทำบัญชีสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พ.ร.บ.การบัญชี 2543 และประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ.2557 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2559 และหากไม่ปฎิบัติตามเงื่อนไขข้างต้นจะมีบทลงโทษ คือ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท และอาจส่งผลต่อการนำส่งงบการเงินทางระบบ DBD e-filing

ผู้ทำบัญชีมีบทบาทสำคัญในการจัดทำ และนำเสนอข้อมูลทางบัญชีของนิติบุคคล คุณภาพของผู้ทำบัญชีย่อมส่งผลต่อคุณภาพของข้อมูลทางด้านบัญชี ผู้ทำบัญชีจำเป็นต้องมีความรู้ และประสบการณ์ในการจัดทำบัญชี และนำเสนองบการเงิน การอัปเดตความรู้ทางด้านบัญชี ภาษีอากรและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้กับนักบัญชีอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน อธิบดี กล่าวสรุป

ปัจจุบัน (ข้อมูล ณวันที่ 30 กันยายน 2565) ประเทศไทยมีผู้ทำบัญชีประมาณ 78,816 คน สำนักงานบัญชี 10,156 แห่ง และสำนักงานบัญชีคุณภาพ จำนวน 166 แห่ง


สอบถามรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่สายด่วน 1570 ส่วนส่งเสริมพัฒนาวิชาชีพบัญชี กองกำกับบัญชีธุรกิจ โทร 02 547 4395 และ www.dbd.go.th



สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!
 561
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

กรณีที่บุคคลใดยื่นแบบภาษีภายในกำหนดแต่ชำระภาษีไม่ครบถ้วน หรือยื่นแบบภาษีล่าช้า ละเลย หรือหลีกเลี่ยงการยื่นแบบภาษี จะต้องเสียเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามกฎหมายกำหนด และหากฝ่าฝืน หลีกเลี่ยง ไม่ยอมชำระจะต้องรับโทษทางอาญาด้วย บทลงโทษมีดังนี้
ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงสำหรับการรับรู้รายได้สำหรับมาตรฐานการบัญชี ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกประกาศสภาวิชาชีพบัญชีที่ 6/2561 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า ซึ่งมีการบังคับใช้มาระยะหนึ่งแล้วตั้งแต่ต้นปี 2562 ที่ผ่านมา
การวางแผนภาษีสิ้นปีเป็นกระบวนการในการจัดการเรื่องการเงินเพื่อผลประโยชน์ทางภาษีประจำปีที่ดีที่สุด ซึ่งรวมถึงการกำหนดเวลาการขายการซื้อหรือการเปลี่ยนแปลงบางอย่างเพื่อให้สามารถดำเนินการในกรอบเวลาที่ดีที่สุด การชะลอการกระทำหรือสร้างความมั่นใจว่ากิจกรรมบางอย่างเกิดขึ้นก่อนสิ้นปีจะมีผลอย่างมากต่อการเรียกเก็บภาษี มีปัจจัยภายในและภายนอกหลายประการที่อาจส่งผลกระทบต่อการวางแผนภาษีสิ้นปีเช่นกัน
VES หรือ VAT for Electronic Service เป็นระบบที่กรมสรรพากรได้จัดทําขึ้นเพื่ออํานวยความสะดวกให้กับธุรกิจไอทีข้ามชาติที่ให้บริการ e-Service จากต่างประเทศ ซึ่งต้องมาจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร ให้สามารถทําธุรกรรมภาษีผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ทั้งหมด ตั้งแต่การจดทะเบียน การยื่นแบบการชําระภาษี การจัดทําเอกสาร การรับเอกสาร และการส่งเอกสาร ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
สมุห์บัญชีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จะต้องตรวจสอบอยู่เสมอว่า บัญชีย่อยเจ้าหนี้จะมียอดรวมตรงกับบัญชีคุมยอดเจ้าหนี้การค้า...
การสลักหลังเช็ค เราสามารถทำได้กี่แบบ แล้วมันแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์