กรมสรรพากรขยายเวลามาตรการภาษีการใช้งานระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax) ถึง 31 ธ.ค.2568

กรมสรรพากรขยายเวลามาตรการภาษีการใช้งานระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax) ถึง 31 ธ.ค.2568



กรมสรรพากรขยายเวลามาตรการภาษีการใช้งานระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax)  ออกไปอีก 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 (จากเดิมที่สิ้นสุดเมื่อ 31 ธันวาคม 2565) โดยออกเป็นร่างกฎหมาย รวม 2 ฉบับ 
สาระสำคัญของร่างกฎหมาย 2 ฉบับ ที่เกี่ยวกับการขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ มีดังนี้

ฉบับแรก ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ เป็นการขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เป็นระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2566 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2568  โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวน 2 เท่าของค่าใช้จ่ายที่ลงทุนไป ซึ่งเป็นรายจ่ายเกี่ยวกับระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้ 

1.ค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนในระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt)  เช่น การจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
2.ค่าใช้จ่ายเพื่อการลงทุนในระบบภาษี หัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax) เช่น การจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้นำส่งภาษี
3.ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการระบบใบกากับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) และระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax) จากผู้ให้บริการ เช่น ค่าบริการของผู้ให้บริการจัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือค่าบริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
 
ฉบับที่สอง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยภาษีเงินได้ มีสาระสำคัญ เป็นการขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการใช้ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax) โดยนิติบุคคล (ไม่รวมมูลนิธิหรือสมาคม) และบุคคลธรรมดา จะได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่มีอัตราร้อยละ 5 ร้อยละ 3 และร้อยละ 2 ลดเหลือร้อยละ 1 (จากเดิมที่ลดร้อยละ 2) สำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินผ่านระบบ e-Withholding Tax เป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2566 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2568


การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์นี้
 จะทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลประมาณ 20 ล้านบาท แต่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการ
1)ส่งเสริมให้ภาคเอกชนใช้ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt และระบบ e-Withholding Tax อย่างต่อเนื่องและแพร่หลาย
2) ลดต้นทุนการจัดทำ การจัดเก็บเอกสารเกี่ยวกับการเสียภาษีของภาคเอกชน และ 3) มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการใช้ระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (e - Withholding Tax) จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีกระแสเงินสดเพิ่มขึ้น ปีละประมาณ 9,800 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นเม็ดเงินหมุนเวียนที่เพิ่มมูลค่าให้แก่ระบบเศรษฐกิจต่อไป





ที่มา : https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/64128
 797
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็คือ “เงิน” ที่ผู้จ่ายเงิน “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายให้กับผู้รับเงิน แล้วเอาเงินนั้นไปให้กับรัฐ นั่นทำให้ผู้รับเงินไม่ได้รับเงินเต็มจำนวนครับ แต่จะได้เงินบวกกระดาษแผ่นนึงที่เรียกว่า “หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” ส่วนผู้จ่ายเงินยังต้องจ่ายเต็มนะครับ เพียงแต่จ่ายให้กับผู้รับเงินโดยตรงส่วนนึง แล้วให้สรรพากรอีกส่วนนึง หน้าที่หัก ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของผู้จ่าย ทั้ง บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล
ภ.ง.ด. 50 คือ แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลใช้สำหรับนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งตามกฎหมายประเทศไทย หรือ ต่างประเทศ โดยการยื่น ภ.ง.ด. 50 จำต้องยื่นภายใน 150 (ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม) วันนับตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดยจะต้องยื่นทุกปี ไม่ว่าจะมีรายได้หรือไม่มีรายได้
ช่วงหลังนี้เราจะเห็นว่านักธุรกิจรุ่นใหม่ไฟแรงเกิดขึ้นมามากมายพร้อมไอเดียที่พรั่งพรู ที่ทำให้เกิดเทรนด์และกระแสการใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เกิดขึ้น หลายคนประสบความสำเร็จมากจนทำให้สินค้าและบริการขายดีเทน้ำเทท่า แต่ก็ไม่วายที่อยู่ๆ  ธุรกิจที่สร้างขึ้นจะเจ๊งไปต่อหน้าต่อตาได้ มาดูกันว่าสิ่งที่เราต้องรู้ในการทำธุรกิจนั้นมีอะไรบ้างก่อนที่เราจะขายดีจนเจ๊ง
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ด้วย
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า "AI" คือ เทคโนโลยีที่สร้างขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์หรือเครื่องจักรสามารถทำงานหรือประมวลผลข้อมูลได้เสมือนกับสมองของมนุษย์ โดย AI สามารถเรียนรู้ (Learning) คิดวิเคราะห์ (Reasoning) และปรับปรุงหรือแก้ไขตัวเองได้ (Self-correction) ในกระบวนการทำงาน ซึ่งถูกนำมาใช้ในหลายด้าน เช่น หุ่นยนต์ การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing) การรู้จำภาพ และระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems)

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์