หลักการจัดเก็บอากรขาเข้า อากรขาออก

หลักการจัดเก็บอากรขาเข้า อากรขาออก



อากร
 หมายถึง เงินรายได้ของประเทศที่กฎหมายกำหนดให้กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานจัดเก็บจากการนำของเข้ามาในหรือส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร หรือ จากกรณีอื่นๆ ตามที่บัญญัติในกฎหมายศุลกากรและกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ตลอดจนกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอากรศุลกากร

ของที่นำเข้ามาในหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร เป็นของที่ต้องเสียอากร  สามารถค้นหาอัตราอากร ได้จากพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530   โดยภาค 2 เป็นอัตราสำหรับการนำเข้า ทั้งนี้ ต้องมีความรู้ในเรื่องการจัดพิกัดของของ ที่เรียกว่า ระบบฮาร์โมไนซ์  (สากล เป็นชุดเลขรหัส 6 หลัก แต่อาเซียนตกลงกันภายในจัดแบ่งย่อยเป็น 8 หลัก )  ภาค 3 เป็นอัตราสำหรับการส่งออก นอกจากนี้ในพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร ยังมีของที่กฎหมายกำหนดให้ได้รับยกเว้นอากรหากนำของเข้า หรือ ส่งของออก แล้วแต่กรณี แต่ต้องมีลักษณะตามเงื่อนไขที่กำหนด  โดยสามารถค้นหาได้จาก ภาค 4 ว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากร

อัตราภาษีที่เรียกเก็บ บางประเภทเรียกเก็บตามสภาพ บางประเภทเรียกเก็บตามราคา บางประเภทเรียกเก็บทั้งตามสภาพ และ ตามราคา

ตามสภาพ หมายถึง อัตราที่เรียกเก็บตามจำนวน ปริมาตร ปริมาณ เช่น กระบือตัวละ 500 บาท น้ำมันลิตรละ 0.50 บาท เป็นต้น

ตามราคา หมายถึง อัตราที่รียกเก็บตามร้อยละของราคาศุลกากร เช่น  รองเท้านำเข้า  อัตรา 30 % ของราคา C.I.F (Cost,Insurance and Freight : ราคาสินค้ารวมทำพิธีส่งออก/ค่าขนส่ง/ค่าประกัน)  
ไม้ส่งออก อัตรา 10% ของราคา F.O.B.(Free On Bord: ราคาสินค้ารวมทำพิธีส่งออก)

ของใดที่กฎหมายกำหนดให้มีทั้งอัตราตามสภาพ และ อัตราตามราคา ให้คำนวณทั้ง 2 แบบ และให้ชำระอากรตามแบบที่คำนวณอากรได้สูงสุด

ของนำเข้าที่นำเข้ามาเพื่อการส่งออก ไม่ว่าจะส่งออกในสภาพเดิม หรือ ในสภาพที่ผ่านกระบวนการผลิต สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรที่รัฐบาลกำหนดเพื่อส่งเสริมการส่งออก โดยสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรมีทั้ง การคืนอากรที่ได้ชำระแล้ว หรือ การยกเว้นอากรขาเข้า อากรขาออก ทั้งนี้ ผู้ใช้สิทธิประโยชน์ต้องทำตามเงื่อนไข วิธีการที่กฎหมายหรือประกาศกำหนด

การชำระอากร ให้ยื่นใบขนสินค้าตามแบบที่กรมศุลกากรกำหนด ปัจจุบันเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ แต่การนำเข้า ส่งออก บางประเภท กรมศุลกากรอนุญาตให้ไม่ต้องจัดทำใบขนสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้นำของเข้า หรือ ผู้ส่งของออก เช่น  ของทางไปรษณีย์   ของติดตัวผู้โดยสาร

อากรที่ชำระไว้เกินสามารถขอคืนเงินได้ในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แต่ หากชำระอากรไว้ขาดกรมศุลกากรมีสิทธิ์เรียกเก็บอากรที่ขาดได้ตามกำหนดเวลา   

ผู้นำของเข้า หรือ ผู้ส่งของออก หรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการทางศุลกากร ต้องเก็บเอกสารที่ใช้ในการศุลกากรตามที่กรมศุลกากรกำหนด 5 ปี นับแต่วันนำของเข้าหรือส่งของออก  และหากเลิกกิจการต้องเก็บไว้อีก 2 ปี นับแต่วันเลิกกิจการ

บทลงโทษ : การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย มีบทลงโทษ ทั้งทางแพ่งและทางอาญา   




อ้างอิง : https://www.customs.go.th
 582
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การยื่นภาษี กับ เสียภาษี เป็นคนละเรื่องกัน เราต้อง "ยื่นภาษี" เมื่อมี "รายได้ (เงินได้)" ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่เราต้อง "เสียภาษี" เมื่อคำนวณแล้ว "เงินได้สุทธิ" มีจำนวนมากกว่า 150,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี
วงจรธุรกิจ คือ กระบวนการผลิตเงินสด โดยในขั้นแรกเงินสดจะแปรสภาพอยู่ในรูปของวัตถุดิบ จากนั้นเมื่อผ่านกระบวนการต่าง ๆ ก็จะเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น แล้วแปรเปลี่ยนไปเป็นสินค้าและขายสินค้าที่ผลิตออกมาสำเร็จให้กับลูกค้า เปลี่ยนเป็นยอดขายค้างรับ จากนั้นเมื่อเก็บเงินได้ ก็จะถูกโอนไปยังบัญชีธนาคาร แล้วกลับมาเป็นเงินสดอีกครั้งหนึ่ง เป็นอันว่าครบหนึ่งวงจร
ความหมายของ สินค้าคงเหลือในทางการบัญชี คือ ทรัพย์สินที่กิจการมีไว้เพื่อขาย หรืออาจให้ความหมายโดยละเอียดยิ่งขึ้นว่า สินค้าคงเหลือ คือ “สินค้าสำเร็จรูป งานหรือสินค้าระหว่างทำ วัตถุดิบ และวัสดุใช้ในการผลิตเพื่อขายตามปกติของกิจการ 
แรงจูงใจหลักในการที่จะทำให้บริษัทหนึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลก็คงจะหนีไม่พ้นสิทธิที่บริษัทเสียภาษีบนฐานของผลกำไรของบริษัท กล่าวคือบริษัทสามารถหักรายจ่ายต่างๆออกจากรายได้ได้ตามจริง และเงินได้ของบริษัทที่จะเสียภาษีก็จะเป็นแค่ส่วนของผลกำไรของบริษัทเท่านั้น ไม่ใช่ต้องเสียจากรายได้หรือเหมารายจ่ายได้สูงสุดเพียง 60% เช่นที่ต้องเสียในระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
สินค้าขายได้ดีไหม เราถือสินค้าไว้นานเท่าไรกว่าจะขายได้ นักบัญชีจะช่วยเจ้าของธุรกิจวิเคราะห์สินค้าคงเหลือได้อย่างไรบ้าง
ประเภทของธุรกิจสามารถแบ่งได้เป็นแบบบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สำหรับคนที่ทำธุรกิจ ต้องทราบว่าธุรกิจของตนเองจัดอยู่ในประเภทไหน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์