ใบเสนอราคา quotation คืออะไร?

ใบเสนอราคา quotation คืออะไร?



ใบเสนอราคา หรือ quotation คือเอกสารสำคัญสำหรับนักขาย และเจ้าเอกสารตัวนี้เองก็น่าจะเป็นอะไรที่นักขายทุกคนรู้จักกันดีอยู่แล้ว เรียกได้ว่าเป็นใบเบิกทางไปสู่การปิดดีลการขายเลยก็คงไม่เกินจริงไปนัก อย่างไรก็ตามนักขายจำนวนมากแม้จะรู้ว่าเจ้าใบเสนอราคานั้นหน้าตาเป็นอย่างไร แต่เมื่อต้องทำเองหลายต่อหลายครั้งหากบริษัทไม่ได้กำหนดมาตรฐานเอาไว้ นักขายเองก็มักจะออกใบเสนอราคาโดยไม่มี standard ที่ตายตัว นอกจากนี้ตัวนักขายเองก็อาจจะไม่ได้ใส่ใจกับเจ้าใบนี้เท่าที่ควรด้วย

ใบเสนอราคา quotation คืออะไร?

ใบเสนอราคา คือเอกสารที่ผู้ขายออกให้กับผู้ที่สนใจจะซื้อสินค้าหรือบริการ ทั้งนี้เพื่อให้รายละเอียดของสินค้า ราคา และเงื่อนไขต่าง ๆ (ถ้ามี) และเอาไว้ใช้ในการตัดสินใจซื้อสินค้านั้น ๆ นั่นเอง นอกจากนี้ในใบเสนอราคานั้นก็จะมีจำนวนของสินค้า และราคาเบ็ดเสร็จที่ต้องจ่ายรวมมาไว้ให้เลย ทำให้ลูกค้าเห็นภาพรวมของสินค้าที่จะซื้อได้ง่ายมากขึ้น

จะส่งใบเสนอราคาเมื่อไรดี?

โดยมากแล้วใบเสนอราคามักจะถูกส่งเมื่อลูกค้าต้องการให้นักขายอย่างเรา ๆ ส่งใบเสนอราคาให้เพื่อใช้ในการตัดสินใจ หรือดูค่าใช้จ่ายทั้งหมดเกี่ยวกับออเดอร์นี้ แต่ในหลาย ๆ กรณีที่ลูกค้าไม่ได้ร้องขอ นักขายเองก็สามารถที่จะเอ่ยปากเพื่อส่งใบเสนอราคาให้ลูกค้าตัดสินใจได้ด้วยเช่นกัน และสิ่งที่ต้องให้ความสนใจมาก ๆ เลยก็คือเวลาที่ใช้ในการส่งใบเสนอราคาควรจะส่งให้รวดเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจากลูกค้าเองก็ย่อมมองหาจากคู่แข่งไปพร้อม ๆ กันด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตามแม้เวลาในการส่งจะเป็นสิ่งสำคัญ ความถูกต้องของใบเสนอราคาเองนั้นสำคัญยิ่งกว่า เพราะหากมีข้อผิดพลาดแล้วล่ะก็จะทำให้เกิดปัญหาตามมามากมายก่ายกองเลยทีเดียว ดังนั้นแล้วการออกใบเสนอราคาแต่ละครั้งควรให้เวลาตัวเองอย่างพอเพียงในการตรวจสอบข้อผิดพลาดไปพร้อม ๆ กันด้วยเช่นกัน

ใบเสนอราคาที่ดีควรมีอะไรบ้าง?

ทุกครั้งเมื่อนักขายตัดสินใจที่จะออกใบเสนอราคาสักใบหนึ่ง สิ่งสำคัญไม่ใช่แค่รายละเอียดของราคาสินค้าเพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของความเป็นมืออาชีพของใบเสนอราคาเองด้วยเช่นกัน หากบริษัทมี template ของ quotation ที่ให้ใช้งานได้เลย กรณีนี้ก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่หากไม่มีแล้วล่ะก็ อะไรบ้างล่ะ ที่ควรมีในใบเสนอราคา

  • ราคาสินค้า/บริการ แน่นอนว่าสิ่งสำคัญของใบเสนอราคาก็คือเรื่องของราคาสินค้าที่ลูกค้าอยากรู้นั่นเอง และในหัวข้อของสินค้านั้นก็ควรใส่รายละเอียดของสินค้าที่จำเป็นเข้าไปด้วย จำนวนสินค้าก็เป็นสิ่งที่ต้องระวัง ให้ระบุจำนวนที่ลูกค้าสั่งไว้อย่างครบถ้วน และถ้าให้ดีกว่านั้นในใบเสนอราคาเองก็อาจมีการ breakdown ในเรื่องของราคาให้ด้วย เช่น มีค่าขนส่งไหม VAT และอื่น ๆ
  • รายละเอียดบริษัท โดยมากรายละเอียดบริษัทจะต้องประกอบไปด้วย โลโก้บริษัท ที่อยู่บริษัท อีเมล เบอร์โทร และรายละเอียดในส่วนของเลขทะเบียนนิติบุคคล(ถ้ามี)
  • พนักงานขายที่รับผิดชอบ อย่าลืมใส่ชื่อพนักงานในใบเสนอราคา รวมไปถึงช่องทางในการติดต่อหาพนักงานขายด้วย เพื่อที่ว่าหากลูกค้าต้องการติดต่อกลับจะสามารถติดต่อได้อย่างสะดวก
  • รายละเอียดลูกค้า เป็นรายละเอียดโดยทั่ว ๆ ไปของลูกค้านั้น ๆ เช่น ชื่อลูกค้า ชื่อบริษัทลูกค้า เบอร์โทร อีเมล และรายละเอียดอื่น ๆ ถ้าต้องการ
  • ส่วนท้ายเอกสาร ลายเซ็นผู้อนุมัติใบเสนอราคา และช่องลายเซ็นเพื่อให้ลูกค้ายอมรับ รวมไปถึงระบุช่องทางการชำระเงิน และวันหมดอายุของใบเสนอราคานี้ด้วย

ความสำคัญของใบเสนอราคา

1.ช่วยประกอบการตัดสินใจให้กับลูกค้า ก่อนที่ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการสักอย่าง ก็มักจะมีการขอใบเสนอราคาเพื่อนำมาเทียบกันหลาย ๆ เจ้า ดังนั้นแล้ว quotation นี้จึงมีความสำคัญมาก ๆ สำหรับลูกค้าที่อยู่ในการตัดสินใจ อีกทั้งยังมีรายละเอียดสินค้าและราคาสำหรับใช้ในการอ้างอิงให้อย่างครบถ้วน
2.เพิ่มโอกาสซื้อสินค้าของลูกค้า แม้ว่าใบเสนอราคาจะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและนักขายต่างก็รู้ดี แต่ก็มีพนักงานขายจำนวนไม่น้อยเลยที่ต้องให้ลูกค้าตามใบเสนอราคา และสำหรับบริษัทจำนวนมากหากไม่มีใบเสนอราคาไปให้กับผู้มีอำนาจตัดสินใจพิจารณาแล้วล่ะก็ พวกเขาก็อาจจะต้องตัดสินใจไปเลือกรายอื่นแทน
3.เพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับผู้ขาย ยิ่งถ้าหากใบเสนอราคามี format การนำเสนอที่ถูกต้อง มีมาตรฐาน ทำออกมาเป็นอย่างดีก็จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าเป็นอย่างมาก



ที่มา :  www.veniocrm.com
 1278
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ก่อนจะไปรู้จักกับ 50 ทวิ เรามารู้จัก ภาษีหัก ณ ที่จ่ายว่าคืออะไร? กันก่อนดีกว่า แล้วทำไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย ?
ก่อนที่จะนำรายได้ต่างๆ มาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่ารายได้เป็นรายได้ประเภทไหน สามารถหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้เท่าไหร่ มีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง
กฎหมาย E-payment คือ ? พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 เกิดขึ้นเพื่อรองรับระบบภาษี และเอกสารธุรกรรมทางการอิเล็กทรอนิกส์
เมื่อกล่าวถึงการเช่าทรัพย์หรือสัญญาเช่าทรัพย์แล้ว ท่านผู้อ่านหลายท่านที่คลุกคลีอยู่กับวงการภาษีอากรคงจะคุ้นเคยกันเป็นประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรอย่างดีทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรนั้นมีหลากหลายมากมายจนอาจกล่าวได้ว่าจำกันไม่ไหวเลยทีเดียว อย่างไรก็ดีไม่ว่าประเด็นปัญหาดังกล่าวกรมสรรพากรจะได้มีการวางแนววินิจฉัยไว้แล้วเพียงใดก็ตาม แต่ก็พบว่าผู้ที่เกี่ยวข้องก็ยังคงประสบกับปัญหาต่างๆ กันอยู่ไม่น้อย อาจเนื่องมาจากยังขาดความรู้ความเข้าใจในทางปฏิบัติเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาเกี่ยวกับเช่าทรัพย์ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรืออาจมีความเข้าใจในประเด็นปัญหาภาษีอากรที่คลาดเคลื่อนไปรวมทั้งในทางปฏิบัติมีการใช้คำว่า “เช่า” ให้ครอบคลุมไปถึงธุรกรรมอื่นที่ไม่ใช่ “เช่า” ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การเช่าพระเครื่อง การเช่าชั่วโมงอินเทอร์เน็ต การเช่าพื้นที่เพื่อแสดงสินค้าในงานแสดงสินค้าต่างๆ เป็นผลทำให้ความเข้าใจในเรื่องของภาษีอากรเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาที่เรียกว่า “เช่าทรัพย์” นั้นคลาดเคลื่อนไปด้วย ผู้เขียนจึงได้รวบรวมเอาเรื่องราวอันเกี่ยวกับการเช่าทรัพย์ ทั้งในด้านความเป็นเอกเทศสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และในด้านของภาษีอากร ไม่ว่าจะเป็นกรณีการมีรายได้จากการให้เช่าทรัพย์ว่าจะต้องมีภาระภาษีอะไรบ้าง เช่น จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไร ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และสัญญาเช้าที่ทำกันนั้นต้องติดอากรแสตมป์อย่างไรหรือไม่ รวมทั้งกรณีที่ผู้เช่าได้จ่ายค่าเช่าไปในบางกรณีว่าจะลงเป็นรายจ่ายทางภาษี หรือนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้น (ถ้ามี) ไปใช้ได้หรือไม่อย่างไร
ไม่ว่าจะเป็นกิจการเล็กหรือใหญ่คงหนีไม่พ้นที่จะมีค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ ที่ต้องจ่ายจากเงินสด ระบบควบคุมภายในที่เกี่ยวกับเงินสด จะช่วยให้เราสามารถจัดการกับเงินสดได้โดยไม่ทำให้เกิดจุดอ่อนที่อาจก่อให้เกิดการรั่วไหลได้ ฉะนั้น การใช้จ่ายโดยผ่านระบบของเงินสดย่อยจึงจำเป็นอย่างช่วยไม่ได้ เงินสดย่อย Petty Cash Fund คือ เงินสดที่มีไว้ใช้จ่าย สำหรับค่าใช้จ่ายในจำนวนเงินที่เล็กๆ น้อยๆ และเป็นรายการที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ในลักษณะที่ว่าไม่สะดวกพอที่จะจ่ายเป็นเช็ค สำหรับผู้ที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับเงินสดย่อย เราเรียกง่าย ๆ ว่า 
“ภาษี” เป็นรายจ่ายตัวหนึ่งที่สำคัญมากแล้วทุกคนต้องจ่าย นั่นก็คือ รายจ่ายเรื่อง “ภาษี” แต่ก็อย่างที่เรารู้กันว่าภาษีเป็นเรื่องที่ทุกคนยังไงก็ต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นทางตรงอย่างช่วงต้นปีของทุกปีเราก็ต้องรายงานกับสรรพากรว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ถ้าใครจ่ายเกินไปก็ขอคืนได้ ถ้าใครจ่ายภาษีขาดไปก็จ่ายเพิ่ม หรือจะเป็นภาษีทางอ้อมที่บางครั้งก็จ่ายแบบไม่รู้ตัว เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่เวลาเราไปกินข้าวตามร้านค้าต่างๆแล้วมักจะมีตัวนี้แฝงมาด้วย

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์