ภาษีป้าย! จ่ายเมื่อไหร่?

ภาษีป้าย! จ่ายเมื่อไหร่?



ภาษีป้ายเป็นภาษีซึ่ง
องค์กรปกครองท้องถิ่นมีหน้าที่ในการจัดเก็บ  เพื่อหารายได้มาพัฒนาท้องถิ่นของตน  โดยจัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้าของผู้ประกอบการเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะแสดงโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลักจารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่นๆ 

ดังนั้น ป้ายชื่อของผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นรูปภาพโลโก้ ตัวอักษรภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นป้ายทั่วไป ป้ายผ้าใบ ป้ายบิลบอร์ด หรือป้ายไฟโฆษณาล้วนต้องเสียภาษีป้ายทั้งสิ้น

ใครต้องภาษีป้าย?

ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษี คือ เจ้าของป้ายหรือผู้ครอบครองป้าย

แต่ถ้าไม่อาจหาตัวผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือที่ดินที่ป้ายนั้นติดตั้งอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย

จ่ายภาษีป้ายที่ไหน? 

สถานที่รับชำระภาษีป้าย คือ

  • กรุงเทพฯ ได้แก่ สำนักงานเขต และศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) ที่ป้ายนั้นติดตั้งอยู่
  • ต่างจังหวัด ได้แก่ เทศบาล สุขาภิบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เมืองพัทยา เขตเทศบาล เขตสุขาภิบาล  เขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด และเขตเมืองพัทยา ที่ป้ายนั้นติดตั้งอยู่

อัตราภาษีป้ายใหม่ ต้องรู้ !!

เพิ่งมีการปรับอัตราภาษีป้ายใหม่  โดยใช้บังคับสำหรับป้ายที่ต้องเสียภาษี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 ดังนี้

ประเภทที่ 1 ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน

  • (ก) ป้ายที่มีข้อความเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนไปข้อความอื่นได้ อัตรา 10 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
  • (ข) ป้ายนอกจาก (ก) ให้คิดอัตรา 5 บาทต่อ 500 ตารางเซนติเมตร

ประเภทที่ 2 ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ และหรือปนกับภาพ และหรือเครื่องหมายอื่น

  • (ก) ป้ายที่มีข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพที่เคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนเป็นข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพอื่นได้  อัตรา 52 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
  • (ข) ป้ายนอกจาก (ก) อัตรา 26 บาทต่อ 500 ตารางเซนติเมตร

ประเภทที่ 3 ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครืองหมายไดๆ และป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ

  • (ก) ป้ายที่มีข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพที่เคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนเป็นข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพอื่นได้  อัตรา 52 บาท ต่อ 500 ตารางเซนเมตร
  • (ข) ป้ายนอกจาก (ก) อัตรา 50 บาทต่อ 500 ตารางเซนติเมตร

ต้องเสียภาษีป้ายเมื่อใด?

เจ้าของป้ายหรือผู้ครอบครองป้ายจะต้องยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี (แบบ ภ.ป.1) ภายในวันที่ 31 มีนาคมของทุกปี

  • หากติดตั้งป้ายใหม่หรือเปลี่ยนแปลงข้อความในป้าย ต้องยื่นแบบ ภ.ป.1 ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ติดตั้งใหม่หรือที่เปลียนแปลงข้อความใหม่
  • หากเจ้าของป้ายได้รับหนังสือแจ้งประเมินภาษี (แบบ ภ.ป.3) ให้ชำระภาษีภายใน 15 วัน นับตั้งแต่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน  

บทลงโทษ

  1. ไม่ยื่นแบบฯภายในกำหนดเวลาต้องเสียเงินเพิ่ม ร้อยละ 2 ต่อเดือนของภาษี
  2. ไม่ชำระภาษีภายในเวลากำหนดเวลาต้องเสียค่าปรับร้อยละ 10 ของภาษี
  3. หากยื่นแบบฯไม่ตรงความจริงทำให้ชำระภาษีขาดไปต้องเสียค่าปรับร้อย 10 ของค่าภาษี

ป้ายที่ไม่ต้องเสียภาษี

อย่างไรก็ตาม มีข้อยกเว้นป้ายบางประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีได้แก่

  1. ป้ายที่แสดงไว้ ณ โรงมหรสพและบริเวณของโรงมหรสพนั้นเพื่อโฆษณามหรสพ
  2. ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้าหรือที่สิ่งหุ้มห่อหรือบรรจุสินค้า
  3. ป้ายที่แสดงไว้ในบริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว
  4. ป้ายที่แสดงไว้ที่คนหรือสัตว์
  5. ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นหรือภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐาน เพื่อหารายได้และแต่ละป้ายมีพื้นที่ไม่เกิน 3 ตารางเมตรที่กำหนดในกฎกระทรวงแต่ไม่รวมถึงป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพานิชย์
  6. ป้ายของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยระเบบบริหารราชการแผ่นดิน
  7. ป้ายขององค์การที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นๆและหน่วยงานที่นำรายได้ส่งรัฐ
  8. ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทยธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
  9. ป้ายของโรงเรียนเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่แสดงไว้ ณ อาคารหรือบริเวรของโรงเรียนเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น
  10. ป้ายของผู้ประกอบการเกษตรซึ่งค้าผลผลิตอันเกิดจากการเกษตรของตน
  11. ป้ายของวัดหรือผู้ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการกุศลสาธารณะโดยเฉพาะ
  12. ป้ายของสมาคมหรือมูลนิธิ
  13. ป้ายตามที่กำหนดในกระทรวง

หากติดป้ายที่มีแต่อักษรไทยอย่างเดียว  ไม่เคลื่อนที่  เปลี่ยนแปลงไม่ได้ จะมีอัตราถูกที่สุดคือ 5 บาทต่อ 500 ตารางเซนติเมต ขณะที่ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยเลย หรือป้ายที่มีอักษรไทยปนกับภาพ/ภาษาอื่นและเคลื่อนที่ได้ จะต้องเสียภาษีอัตรา 52 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร จะเห็นว่าอัตราภาษีต่างกันมากเลยทีเดียว ดังนั้นก่อนจะทำป้ายอย่าลืมคำนึงถึงเงินค่าภาษีป้ายที่จะต้องเสียในแต่ละปีด้วยนะคะ



ขอบคุณที่มา : accountingcenter.co

 525
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำบัญชีถือเป็นหัวใจหลักของการทำธุรกิจ เพราะบัญชีจะทำให้คุณทราบที่มาที่ไปของเงินในแต่ละส่วน มองเห็นผลกำไร ขาดทุนได้อย่างชัดเจนและที่สำคัญการทำบัญชียังช่วยลดการเกิดทุจริตภายในกิจการ สามารถทำการตรวจสอบย้อนข้อมูลทางการเงินหลังได้บริษัทส่วนใหญ่จึงทำการจ้างนักบัญชีเข้ามาทำงานในส่วนนี้ เพื่อความถูกต้อง
ความสำเร็จในการทำธุรกิจออนไลน์หรือธุรกิจทุกประเภทเกิดจากองค์ประกอบหลายส่วน การจัดวางระบบการเงินและการบัญชีเป็นส่วนที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรก เพราะนอกจากจะทำให้เราทราบสถานะของกิจการว่ามีผลกำไรขาดทุนหรือไม่อย่างไร การจัดทำบัญชีและการเงินยังช่วยให้เราทราบข้อมูลของกิจการ เช่น ทราบจำนวนทรัพย์สิน หนี้สิน
การยื่นภาษีมีหลายสิ่งที่ต้องพิจารณาเพื่อให้แน่ใจว่าการยื่นภาษีเป็นไปอย่างถูกต้องและครบถ้วน ต่อไปนี้คือสิ่งที่ควรรู้ก่อนยื่นภาษี
เมื่อธุรกิจขาดทุน สำหรับบุคคลธรรมดาจะต้องเสียภาษีขั้นต่ำอัตรา 0.5% ของเงินได้ ถ้าภาษีที่คำนวนได้ไม่ถึง 5,000 บาท ได้รับยกเว้นภาษีและผลขาดทุนสะสมไม่สามารถยกไปหักกับเงินได้ในปีถัดไป แต่สำหรับนิติบุคคลเมื่อขาดทุนจะไม่เสียภาษีและผลขาดทุนสามารถนำไปหักจากกำไรในปีอื่นได้ไม่เกิน 5 ปี
ถ้ามีภาษีที่ต้องชำระจำนวนตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป ทั้งภาษีครึ่งปีและภาษีสิ้นปี ผู้เสียภาษีมีสิทธิ ขอผ่อนชำระภาษีได้เป็น 3 งวดเท่า ๆ กัน โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่มใดๆ ผู้เสียภาษีอาจติดต่อขอผ่อนชำระได้ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาโดยใช้แบบบ.ช. 35 จำนวน 1 ชุด 3 แผ่น ข้อความเหมือนกันดังนี้
มาดูในข้อแตกต่างของการจดทะเบียนที่หลายคนสงสัยว่า จดแบบบุคคลธรรมดา กับ จดแบบนิติบุคคล ต่างกันอย่างไร หรือ จะมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร ทำความเข้าใจก่อนเริ่มธุรกิจ "ร้านอาหาร" โดยเฉพาะถ้าเปิดเป็นร้านอาหารแบบจริงจัง หรือมีหุ้นส่วนร่วมด้วย จะเสียภาษีรูปแบบบุคคลธรรมได้หรือไม่ หรือควรจดทะเบียนบริษัท แต่ละแบบต้องทำอย่างไร ? แล้วแบบไหนใช้ประโยชน์ทางภาษีได้มากกว่ากัน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์