เคล็ดลับการบริหารกระแสเงินสดในภาวะวิกฤต

เคล็ดลับการบริหารกระแสเงินสดในภาวะวิกฤต



การจะอยู่รอดในวิกฤตการณ์ต่างๆ ได้นั้น องค์กรจะต้องพยายามรักษาเสถียรภาพกระแสเงินสดของบริษัทให้ได้เพื่อรอดพ้นวิกฤติได้อย่างไร ที่นี่มีคำตอบค่ะ

1. ตัดสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์หรือไม่ก่อให้เกิดรายได้

ในระหว่างนี้อาจจะต้องครอบครองสินทรัพย์เท่าที่จำเป็นเพื่อการอยู่รอด อย่าให้มีกำลังการผลิตว่างเปล่าจากการถือครองสินทรัพย์ที่ใช้ในการผลิต หรือให้บริการเกินความจำเป็น สินทรัพย์ที่ครอบครองอยู่มีค่าใช้จ่ายในการครอบครอง ไม่ว่าการจัดเก็บ ดูแล รักษา หรือภาษี  หากผลตอบแทนไม่คุ้มค่าที่จะเก็บไว้แล้วในระยะยาวอาจจะต้องตัดสินใจตัดไฟแต่ต้นลม แล้วจะรู้ได้อย่างไร  พูดง่ายแต่ทำยาก คือต้องมองไปข้างหน้า แล้วคาดการณ์อนาคตว่าอะไรจะเกิดขึ้นบ้างในภาพที่วาดไว้ในมุมต่างๆ  และอย่ามองเข้าข้างตัวเอง โลกนี้ช่างโหดร้ายนัก จำไว้

2. อย่าก่อหนี้เพิ่ม ลดหนี้ได้ให้ลด

หนี้ที่มีต้นทุนการเงินสูงให้รีบลดก่อน  เช่น ชำระหนี้คืนด้วยการขายสินทรัพย์ที่ไม่จำเป็นเพื่อเอากระแสเงินสดมาชำระหนี้ หรืออาจจะต้องยอมเฉือนเนื้อเถือหนัง กัดฟันจ่ายหนี้ไปก่อน แล้วทำตัวสมถะให้ได้มากที่สุด ทำตัวเป็นกบจำศีลเล็กน้อยเพื่อรักษาบาดแผลให้หายดี  คิดง่ายๆ  “ถือสินทรัพย์ไว้ได้ผลตอบแทนน้อยกว่าต้นทุนการเงินของหนี้ที่มีอยู่”

3. เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย

ลดรายจ่ายคือส่วนที่เราใช้เป็นหลักการพื้นฐานในการเพิ่มกำไร หรือเพิ่มกระแสเงินสด แต่การลดรายจ่ายเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ตอบโจทย์ที่หนักอึ้งนี้  เพราะแม้จะทำตัวสมถะแล้ว แต่กิจการก็ยังต้องมีต้นทุนการดำรงชีพอย่างแน่นอน จึงจำเป็นต้องหารายได้ให้พอกับรายจ่าย  ใครๆ ก็รู้ข้อนี้ แต่การหารายได้ในครั้งนี้ จำเป็นต้องหาช่องทางการหารายได้เพิ่มจากการลงทุน การดำเนินงาน เพราะฉะนั้นย้อนกลับไปข้อ 1, 2  อาจจะไม่ต้องตัดขายสินทรัพย์ หรือใช้วิธีการบริหาร เจรจาหนี้กับเจ้าหนี้เพื่อรักษาสภาพคล่อง  เพราะหากสามารถหาผลตอบแทนจากรายได้ได้มากกว่าต้นทุนการถือครองสินทรัพย์ และต้นทุนการเงิน ก็ย่อมอาจจะยอมได้กับการเป็นหนี้

 
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ขอบคุณที่มา : dharmniti

 320
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เจ้าของกิจการย่อมต้องทราบดีว่านิติบุคคลมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลปีละ 2 ครั้ง คือ รอบครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) และรอบสิ้นปี (ภ.ง.ด. 50)  ยกเว้นเฉพาะนิติบุคคลจะไม่ต้องยื่นภาษีเงินได้รอบครึ่งปีก็ต่อเมื่อเริ่มประกอบกิจการเป็นปีแรก หรือ ยกเลิกกิจการ ซึ่งทำให้มีรอบระยะเวลาบัญชีไม่ครบ 12 เดือน
ภายใต้หลักการที่ว่าการจัดทำบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายและมาตรฐานการบัญชีนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่สามารถสะท้อนผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินที่แท้จริงของกิจการได้ จากการสำรวจเบื้องต้น พบว่า
อัตราส่วนทางการเงิน  ( Financial ratio) เป็นการนำตัวเลขที่อยู่ในงบการเงิน มาหาอัตราส่วนเพื่อใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกิจการอื่นหรือ เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานในอดีต ช่วยให้ผู้วิเคราะห์ประเมินผลการดำเนินงาน แนวโน้ม และความเสี่ยง ของกิจการได้ดียิ่งขึ้น
ประเทศไทยได้เริ่มจัดทำอนุสัญญา ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2505  กับประเทศสวีเดน และได้มีการเจรจาทำอนุสัญญากับต่างประเทศเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง โดยโครงสร้างทั่วๆ ไป ของอนุสัญญาประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
ส่วนลด (Discount) หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ขายยอมลดให้กับผู้ซื้อ ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดของผู้ขาย ในการจูงใจให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้า หรือจูงใจให้ผู้ซื้อสินค้าปริมาณมาก หรือเพื่อจูงใจให้ลูกค้าที่ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อมาชำระหนี้เร็วขึ้นในการดำเนินธุรกิจซื้อ-ขายสินค้านั้น มักจะให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อใน 2 ลักษณะคือ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์