การวางแผนภาษีอย่างไร ให้ธุรกิจยั่งยืน

การวางแผนภาษีอย่างไร ให้ธุรกิจยั่งยืน


การวางแผนภาษีอากร (Tax Planning) คือ การกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เพื่อการปฏิบัติในอนาคตเกี่ยวกับรายการทางการเงิน (Financial Transactions) อาทิ รายการรายได้ ค่าใช้จ่ายต่างๆ และจำนวนกำไรหรือขาดทุน ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางภาษีอากรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในอันที่จะป้องกันมิให้เกิดปัญหาภาษีอากรไม่ว่าประการใดๆ โดยมุ่งหมายให้การเสียภาษีอากรและการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรขององค์กรเป็นไปโดยถูกต้อง และครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายภาษีอากรกำหนดไว้ และเป็นผลให้จำนวนภาษีอากรที่ต้องเสียนั้น เป็นจำนวนน้อยที่สุดหรือประหยัดที่สุด รวมทั้งใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรสูงสุด ทั้งนี้ โดยไม่อาศัยการทุจริตหลีกเลี่ยงภาษีอากร

ผู้ประกอบการพึงต้องระลึกอยู่เสมอว่า ‘ภาษีอากร’ เป็นภาระผูกพันหรือปัญหาทางด้านรายจ่ายที่เกิดขึ้นควบคู่กันไปกับการดำเนินธุรกิจ เช่นเดียวกับรายจ่ายหรือต้นทุนทางธุรกิจอื่นๆ โดยทั่วไป และเป็นปัญหาหรือภาระผูกพันที่ไม่อาจเลื่อน หรือผัดผ่อนเวลาออกไปได้ เพราะภาษีอากรเป็น “หนี้ที่เกิดขึ้นโดยผลของกฎหมาย” ซึ่งผู้เสียภาษีพึงต้องชำระตามกำหนดเวลาโดยไม่อาจบิดพลิ้ว การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีอากรในทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับองค์กร เป็นหน้าที่โดยตรงของผู้บริหารที่ต้องกระทำเป็นอันดับแรกๆ เช่นเดียวกับการวางแผนโดยทั่วไป เช่น ต้องรู้องค์ประกอบของกฎหมายภาษีอากรแต่ละประเภทที่ต้องเสีย

การวางแผนภาษีอากรที่จะให้ได้ผลต้องกระทำทันทีที่เริ่มต้นประกอบธุรกิจ และต้องกระทำต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ โดยผู้ที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านภาษีอากรประเภทนั้นๆ ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในกิจการที่จะวางแผนภาษีอากรด้วย การวางแผนภาษีอากรจึงอาจต้องอาศัยบุคลากรที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย อาทิ กรรมการผู้จัดการ สมุห์บัญชี นักกฎหมาย ผู้เชี่ยวชาญทางภาษีอากร และฝ่ายที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ร่วมปรึกษาหารือโดยรอบด้านในประเด็นภาษีอากรที่เกิด และต้องกระทำควบคู่ไปกับการวางแผนธุรกิจที่มีประเด็นภาษีอากรเข้ามาเกี่ยวข้อง

การวางแผนภาษีอากร โดยอาศัยความรู้ความชำนาญในประเด็นข้อกฎหมายภาษีอากร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องอาจมีความยุ่งยาก หรือสลับซับซ้อนมากน้อยแตกต่างกันไป ตามสภาพหรือข้อเท็จจริงทางธุรกิจ และบทบัญญัติทางกฎหมายภาษีอากร ตลอดจนแนวทางปฏิบัติของทางราชการคำวินิจฉัย และคำพิพากษาของศาล ซึ่งเป็นการวางแผนภาษีอากรในระดับที่ลึกลงไปอีกระดับหนึ่ง อาทิ

  • 1. การวางแผนภาษีอากรเพื่อเริ่มกิจการหรือเมื่อริเริ่มกิจการใหม่
  • 2. การวางแผนเพื่อการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
  • 3. การวางแผนภาษีอากรด้านรายได้
  • 4. การวางแผนภาษีอากรด้านรายจ่าย
  • 5. การวางแผนภาษีอากรด้านทรัพย์สินและหนี้สิน
  • 6. การวางแผนภาษีอากรเกี่ยวกับหน้าที่ทางภาษีอากร
  • 7. การวางแผนภาษีอากรในประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

การวางแผนภาษีอากรในระดับนี้อาจจำเป็นต้องร่วมมือกันหลายฝ่าย บางกรณีต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญทางภาษีอากร จึงจะสามารถวางแผนภาษีอากรที่จะทำให้ได้ประโยชน์สูงสุด

วัตถุประสงค์ในการวางแผนภาษีอากร มีดังนี้

  • 1. เพื่อให้การเสียภาษีอากรโดยถูกต้อง ครบถ้วนและจำนวนน้อยที่สุด โดยไม่อาศัยการหลีกเลี่ยงภาษีอากร
  • 2. เพื่อขจัดปัญหาทางภาษีอากร
  • 3. เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการเสียภาษีอากรไม่ถูกต้อง
  • 4. เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
  • 5. เพื่อลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็น และไม่ได้มาตรฐาน
  • 6. เพื่อเตรียมพร้อมต่อการเรียกตรวจสอบภาษีอากรโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ
  • 7. เพื่อเสริมสร้างระบบการควบคุมภายในให้มีประสิทธิภาพ



** เครดิต คุณสุเทพ พงษ์พิทักษ์ อดีตสรรพากรภาค 4 กรมสรรพากร **

 449
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การบัญชีที่เกี่ยวกับสินค้าและการจัดเก็บสินค้ามีความ สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับรายการบัญชีประเภทอื่น ยกตัวอย่างเช่น บริษัท นกช้าง จำกัด มี การนำวัตุดิบและแรงงานทางตรงเข้าสู่ระบบการบัญชีสินค้าและการจัดเก็บสินค้า บริษัทฯก็ควรทราบว่าต้องมีฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง
มาดูในข้อแตกต่างของการจดทะเบียนที่หลายคนสงสัยว่า จดแบบบุคคลธรรมดา กับ จดแบบนิติบุคคล ต่างกันอย่างไร หรือ จะมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร ทำความเข้าใจก่อนเริ่มธุรกิจ "ร้านอาหาร" โดยเฉพาะถ้าเปิดเป็นร้านอาหารแบบจริงจัง หรือมีหุ้นส่วนร่วมด้วย จะเสียภาษีรูปแบบบุคคลธรรมได้หรือไม่ หรือควรจดทะเบียนบริษัท แต่ละแบบต้องทำอย่างไร ? แล้วแบบไหนใช้ประโยชน์ทางภาษีได้มากกว่ากัน
การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของผู้ที่จ่ายเงินส่วนผู้ที่รับเงินได้นั้นจะเป็นผู้ที่ถูก โดยหากมีการหักภาษี ณ. ที่จ่ายกับจะใช้แบบยื่น ภ.ง.ด.3 แต่หากหักกับนิติบุคคลจะใช้แบบยื่น ภ.ง.ด.53 ใบบทความนี้เราจะพูดถึงการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่เป็นนิติบุคคลกัน
การยื่นภาษีมีหลายสิ่งที่ต้องพิจารณาเพื่อให้แน่ใจว่าการยื่นภาษีเป็นไปอย่างถูกต้องและครบถ้วน ต่อไปนี้คือสิ่งที่ควรรู้ก่อนยื่นภาษี
นักบัญชีเป็นวิชาชีพเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจแบบแยกออกจากกันไม่ได้ ธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเป็นต้องมี “ผู้ทำบัญชี”ที่รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของธุรกิจ เพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของธุรกิจที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี พระราชบัญญัติการบัญชีจึงได้มีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ทำบัญชีไว้ชัดเจน โดยมีการแบ่งแยกหน้าที่และความรับผิดชอบกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือธุรกิจ ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด ดังนี้
อัตราส่วนทางการเงิน  ( Financial ratio) เป็นการนำตัวเลขที่อยู่ในงบการเงิน มาหาอัตราส่วนเพื่อใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกิจการอื่นหรือ เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานในอดีต ช่วยให้ผู้วิเคราะห์ประเมินผลการดำเนินงาน แนวโน้ม และความเสี่ยง ของกิจการได้ดียิ่งขึ้น

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์