ความแตกต่างระหว่าง e-Tax Invoice by Email และ e-Tax Invoice & e-Receipt

ความแตกต่างระหว่าง e-Tax Invoice by Email และ e-Tax Invoice & e-Receipt

e-Tax Invoice คืออะไร

“e-Tax Invoice หรือ “ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์” คือใบกํากับภาษีที่ปรับรูปแบบจากที่เคยเป็นกระดาษไปเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หากดูจากจุดที่แตกต่างคือ e-Tax Invoice จะมีหมายเลขใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate) และลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) เป็นเครื่องยืนยันตัวตนของผู้ออกใบกำกับภาษี (ผู้ขาย) และรับรองถึงความถูกต้องของข้อมูล

ข้อดีของ e-Tax Invoice

  • เจ้าของธุรกิจจะลดภาระในการจัดเตรียมเอกสารเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เพราะเมื่อกรมสรรพากรได้รับข้อมูลภาษีซื้อ-ภาษีขายทางอิเล็กทรอนิกส์ครบถ้วนแล้ว ระบบจะจัดทำรายงานภาษีซื้อ-ภาษีขายได้โดยอัตโนมัติ (Electronic VAT Report)
  • ลดต้นทุนในการจัดทำเอกสารใบกำกับภาษีและใบรับจากกระดาษเป็นรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
  • สะดวก ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสาร

ในการจัดทำ e-Tax Invoice มีด้วยกัน 2 รูปแบบ ดังนี้

1. e-Tax Invoice by E-mail

เป็นส่วนหนึ่งของโครงการใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้โครงการระบบภาษีและ ที่จัดทำขึ้นเพื่อรองรับผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มขนาดเล็กที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี มีจำนวนใบกำกับภาษีที่ออกไม่มากนักและยังไม่พร้อมที่จะออกใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างสมบูรณ์ตามที่กรมสรรพากรกำหนด

e-Tax Invoice by E-mail เป็นการจัดทำใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นไฟล์PDF-A3 มีการลงลายมือชื่อด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic signature) แล้วส่งผ่านระบบของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ. หรือ ETDA) เพื่อรับรองเวลาด้วยระบบE-mail โดยผู้ประกอบการไม่ต้องส่งไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ให้กรมสรรพากร

2. e-Tax Invoice & e-Receipt

e-Tax Invoice (ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์) คือใบกำกับภาษีรวมถึงใบเพิ่มหนี้และใบลดหนี้ ที่ได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) หรือได้มีการประทับรับรองเวลา (Time Stamp) ด้วยระบบ E-Tax Invoice by E-mail

e-Receipt (ใบรับอิเล็กทรอนิกส์) คือใบรับหรือใบเสร็จรับเงินที่ได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้ลงลายมือชื่อดิจิทัล ด้วยวิธีการที่กรมสรรพากรกำหนด

ผู้ที่มีสิทธิออก e-Tax Invoice และ e-Receipt

ผู้ประกอบการที่ขอจัดทำ e-Tax Invoice และ e-Receipt มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1. ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือมีหน้าที่ออกใบรับ
2. มีใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์
3. มีระบบการควบคุมภายในที่ดี โดยมีวิธีการสร้าง ส่ง และเก็บข้อมูลที่เชื่อถือได้

ขั้นตอนการทำงานของระบบ e-Tax Invoice และ e-Receipt

1. จัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามรูปแบบที่กำหนดในรูปแบบXML หรือรูปแบบอื่นที่ลงลายมือชื่อดิจิทัล
2. ส่งมอบให้ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
3. นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร ด้วยวิธี
    3.1 Web upload เป็นการส่งข้อมูลให้กับสรรพากร โดยการ upload file ในรูปแบบXML ให้แก่กรมสรรพากรผ่านทางเว็บไซต์ etax.rd.go.th
    3.2 Service provider เป็นการเลือกใช้บริการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ กับผู้ให้บริการส่งข้อมูลที่กรมสรรพากรรับรอง
    3.3 Host to host สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการส่งข้อมูลจำนวนมาก (ไม่น้อยกว่า 500,000 ฉบับ/เดือน) และอยู่ในการกำกับดูแลของกองบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่
4. เก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

ข้อดีของการใช้ e-Tax Invoice & e-Receipt

1.ช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์และการจัดเก็บใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงิน
2.ลดภาระในการจัดเตรียมเอกสารให้แก่กรมสรรพากร
3.ผู้ประกอบการสามารถนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรได้หลายวิธี


 390
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

จุดคุ้มทุนมีความสำคัญในการตัดสินใจกำหนดราคาขาย และปริมาณสินค้าที่จะขาย โดยการคำนวณจะต้องคำนวณทีละหนึ่งผลิตภัณฑ์ หากมีผลิตภัณฑ์หลายตัวก็คำนวณหลายครั้งโดยอย่าลืมที่จะจัดสรรค่าใช้จ่ายของผลิตภัณฑ์แต่ละตัวด้วยเพื่อไม่ให้มีค่าใช้จ่ายคงที่สูงเกินไป การคำนวณต้องใช้ปัจจัยเหล่านี้คือ
ในอดีตที่ผ่านมา ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวัตถุและเทคโนโลยียังไม่มากนัก จึงทำให้การทำงานส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับแรงงานมนุษย์ ต่อมามนุษย์ได้มีการพัฒนาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างมากมาย และเกิดความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ นอกจากนั้นยังเกิดการขยายตัวขององค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน...
สิ่งสำคัญของธุรกิจตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ผู้บริหารและเจ้าของกิจการที่ไม่ใช่นักการบัญชี อาจมองถึงผลกำไรของธุรกิจส่วนใหญ่เกิดจากการบริหารด้านการตลาดซึ่งก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องแต่หากไม่มีข้อมูลตัวเลขจากการจัดทำบัญชี ก็คงไม่สามารถวิเคราะห์และนำมาพิจารณาเพื่อจะนำไปบริหารเพื่อเพิ่มผลกำไรให้กับธุรกิจได้อย่างเหมาะสม  เรามีคำแนะนำ 10 ข้อในการเลือกสำนักงานบัญชีบริการรับทำบัญชีมาให้เป็นแนวทางดังนี้ 
ธุรกิจนิติบุคคลหรือการดำเนินธุรกิจที่มีเจ้าของกิจการอยู่รวมกันมากกว่า หนึ่งคนขึ้นไปนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในรูปลักษณะของบริษัททั่วไปทั้งธรรมดาและมหาชน ห้างหุ้นส่วนจำกัด กิจการร่วมค้า มูลนิธิหรือสมาคม ฯลฯ ที่ได้ไปทำการขึ้นจดทะเบียนไว้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายกับทางหน่วยงานราชการ
ส่วนของเจ้าของ หรือ ส่วนของผู้ถือหุ้น คือ ส่วนของทุนที่เจ้าของนำเงินมาลงทุนในบริษัทประกอบกับกำไรสะสมที่บริษัททำมาหาได้ในแต่ละปีสะสมรวมกัน กลายเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์