จัดงานปีใหม่ เสียภาษีอย่างไร?

จัดงานปีใหม่ เสียภาษีอย่างไร?

เทศกาลปีใหม่ที่ผ่านไปนั้น เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่บริษัทห้างร้านหลายแห่ง และถือเป็นส่วนใหญ่ที่ต่างก็มีการจัดงานสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานให้แก่พนักงานลูกจ้าง มีทั้งการจัดเลี้ยงอาหาร และจับรางวัล แจกของขวัญซึ่งก็เป็นปกติทั่วไปที่ต้องมีคนโชคดีมากที่ได้รับรางวัลใหญ่และก็ต้องมีคนโชคดีน้อยที่ก็จะได้รับรางวัลน้อยกลับบ้านต่าง ๆ กันไป ในที่นี้มีประเด็นที่เป็นสาระสำคัญมากล่าวถึงกับในเรื่องของการแจกของขวัญให้แก่พนักงานลูกจ้างว่า สำหรับการจัดงานปีใหม่ให้แก่พนักงาน ในกรณีที่นายจ้างได้เขียนระเบียบเกี่ยวกับสวัสดิการพนักงานระบุไว้แล้วนั้นจะมีประเด็นภาษีที่เกี่ยวข้องอะไรบ้าง เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการบันทึกบัญชีให้สามารถนำส่งภาษีได้ถูกต้องและครบถ้วนต่อไป ดังนี้

กรณีงานเลี้ยง

  1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล ถือเป็นรายจ่ายในทางภาษีได้ เนื่องจากรายจ่ายดังกล่าวไม่ได้ให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะเจาะจง เป็นรายจ่ายส่วนรวม และได้มีการระบุไว้ในระเบียบสวัสดิการพนักงาน
  2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้องานเลี้ยงเป็นภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงแก่กิจการ แต่เป็นภาษีซื้อประเภทสวัสดิการโดยไม่เลือกปฏิบัติให้กับพนักงานคนใดคนหนึ่งจึงย่อมนำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้
  3. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถือเป็นเงินได้ที่ได้จากการให้ตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

อย่างไรก็ตาม หากของขวัญจับสลากในงานเลี้ยงให้แก่พนักงานทุกคนในลักษณะสวัสดิการ โดยไม่เลือกปฏิบัติให้กับพนักงานคนใดคนหนึ่ง ย่อมมีลักษณะเช่นเดียวกับการเลี้ยงพนักงาน จึงถือว่าเป็นประเภทสวัสดิการของพนักงาน ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการย่อมนำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้

  • ภาษีขาย การมอบของขวัญจากการจับสลากถือเป็นสวัสดิการของพนักงานดังกล่าวนั้น ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1(8) แห่งประมวลรัษฎากร ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นเมื่อมีการส่งมอบสินค้าตามมาตรา 78(1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยไม่จำเป็นต้องจัดทำใบกำกับภาษี


กรณีจับสลาก

  1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล ถือเป็นรายจ่ายในทางภาษีได้ เนื่องจากรายจ่ายดังกล่าวไม่ได้ให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดโดยเฉพาะเจาะจง เป็นรายจ่ายส่วนรวม และได้มีการระบุไว้ในระเบียบสวัสดิการพนักงาน
  2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ภาษีซื้อ ที่เกิดจากค่าของขวัญพนักงานในวันปีใหม่ เป็นภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการ จึงต้องห้ามไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร
  1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา การที่พนักงานได้รับรางวัลจากการจับสลากหรือชิงรางวัลในงานเลี้ยงปีใหม่ ไม่ว่าจะได้รับทุกคนหรือเฉพาะบางคนเมื่อพนักงานจับรางวัลได้ ถือเป็นประโยชน์เพิ่มของพนักงาน เข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องนำมารวมเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย
  2. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย หลังจากพนักงานได้รับรางวัลแล้ว บริษัทมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายพนักงาน ตามมาตรา 50(1) แห่งประมวลรัษฎากร

ขอบคุณที่มา :อ้างอิง: https://www.53ac.com
 61
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด เป็นหนึ่งในเครื่องมือในการวิเคราะห์งบการเงินที่น่าสนใจอีกวิธีหนึ่ง นอกเหนือจากการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน หรือว่าการวิเคราะห์งบโดยวิธีแนวนอน วิธีแนวโน้ม  วิธีแนวตั้ง หรือวิเคราะห์ร้อยละของยอดรวม หลายๆ คนคงคุ้นเคยกับการวิเคราะห์งบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะทางการเงินมาบ้างแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า หนึ่งในวิธีวิเคราะห์งบการเงินที่มีประโยชน์มากอีกวิธีหนึ่งก็คือ การวิเคราะห์กระแสเงินสด
เพื่อไม่ให้คิดภาษีมูลค่าเพิ่มผิดพลาด และต้องจ่ายภาษีมากกว่าที่ควรจะเป็น เราไปดูเช็กลิสต์รายการสินค้าแบบไหนบ้างที่ไม่ต้องนำมาคำนวณฐานภาษีกันค่ะ
ในปัจจุบันการนำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ ถือเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างงาน เพิ่มการจ้างงาน และส่งเสริมการแข่งขันและนวัตกรรม นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศ รวมไปถึงช่วยให้สร้างโอกาสขยายตลาด และเพิ่มรายได้แบบก้าวกระโดด ดังนั้น การดำเนินธุรกิจนำเข้า-ส่งออกที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว
ใบขอซื้อ (PR) เป็นเอกสารที่เป็นฉบับแรกสุดในบริษัทขนาดใหญ่ก่อนที่จะได้รับการอนุมัติเพื่อทำเอกสารใบสั่งซื้อ ส่วนใบสั่งซื้อ (PO) หรือ ใบเสนอราคา เอกสารใบสั่งซื้อนี้ สามารถใช้เป็นหลักฐานในการทำธุรกิจได้เป็นอย่างดี หากการสั่งซื้อนั้นเกิดความล่าช้ากว่ากำหนด หรือ มีข้อโต้แย้งที่ทำสินค้าให้เราไม่ได้อย่างที่ตกลงกันไว้
ภาษีเงินได้หมายถึงภาษีทั้งสิ้นที่กิจการต้องจ่ายทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งเป็นภาษีเงินได้ที่คำนวณจากกำไร นอกจากนี้ภาษีเงินได้ยังรวมถึงภาษีประเภทอื่น เช่น ภาษีหักณ.ที่จ่ายของบริษัท บริษัทร่วม หรือกิจการร่วมค้าหักไว้จากการแบ่งปันส่วนทุนหรือกำไรให้กับกิจการ ในการดำเนินธุรกิจนั้น เมื่อมีกำไรธุรกิจจะต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่รัฐบาล ซึ่งภาษีเงินได้ดังกล่าวนั้นถูกคำนวณขึ้นตามกฎหมายของภาษีอากร โดยใช้ระเบียบใช้แนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากร ซึ่งกฎหมาย ระเบียบ หรือแนวปฏิบัตินั้นอาจแตกต่างจากวิธีการทางบัญชีของกิจการซึ่งได้กระทำตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป กำไรสุทธิที่คำนวณตามหลักการบัญชีจึงแตกต่างจากกำไรสุทธิตามหลักเกณฑ์ภาษีอากร จึงมีผลทำให้ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายตามหลักการบัญชีแตกต่างจากภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งคำนวณจากกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีอากร จำนวนที่แตกต่างนั้นก็คือ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีนั่นเอง

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์