ประโยชน์ของการทำบัญชี

ประโยชน์ของการทำบัญชี

  

       การทำบัญชี จะทำให้กิจการทราบผลการดำเนินงานฐานะทางการเงินของธุรกิจและความมั่นคงของธุรกิจโดยในการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชีนั้นจะบันทึกบัญชีรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจ เช่น การลงทุนรายรับ และ รายจ่าย ที่เป็นของกิจการนั้นโดยไม่นำส่วนที่เป็นของส่วนตัว(ส่วนของเจ้าของ) เข้ามาบันทึกด้วยเมื่อมีการบันทึกรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้วข้อมูลที่ได้บันทึกไว้นั้นจะสามารถนำมาจัดทำเป็นรายงานทางการเงินได้ เช่น งบดุลและงบกำไรขาดทุนซึ่งเป็นภาพสะท้อนในการดำเนินธุรกิจดังนี้ คือ                                   

       งบกำไรขาดทุน
จะสะท้อนภาพผลการดำเนินงานในรอบระยะเวลาหนึ่งๆ ว่ากิจการมีรายได้หรือค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเท่าไรมีผลกำไรหรือขาดทุนนอกจากนี้ยังช่วยในการประเมินถึงความสามารถในอนาคตได้อีกด้วย เช่น การวิเคราะห์แนวโน้มการเติบโตของรายได้จากสำนักงานบัญชี                                      

       งบดุล จะสะท้อนภาพฐานะทางการเงินของกิจการได้แก่ ทรัพย์สินหนี้สินและส่วนของเจ้าของว่ามีความมั่นคงมากน้อยแค่ไหน สินทรัพย์ที่มีอยู่จะบ่งบอกศักยภาพในการเจริญเติบโตและความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจในอนาคตนอกจากนี้ยังแสดงถึงสภาพคล่องและความเสี่ยงในขณะนั้น                                        

       งบกระแสเงินสด
 จะสะท้อนภาพการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการในรอบระยะเวลาหนึ่งๆ โดยแบ่งเป็น 3 กิจกรรมคือ
  1. กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
  2. กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน
  3. กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน
โดยตัวเลขที่ปรากฏในงบการเงิน จะสามารถนำมาวิเคราะห์เป็นอัตราส่วนทางการเงิน เพื่อวัดผลสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ เช่น การวัดสภาพคล่องของธุรกิจการวัดประสิทธิภาพการใช้สินทรัพย์การวัดความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ และความสามารถในการชำระหนี้ เป็นต้น

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


บทความโดย
 :  suretax
 1052
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

งบการเงินคือรายงานทางการเงินและบัญชี ที่แสดงให้เห็นสถานะการดำเนินงานของกิจการ ซึ่งประกอบด้วยงบแสดงฐานะทางการเงิน (งบดุล) งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
วงจรธุรกิจ คือ กระบวนการผลิตเงินสด โดยในขั้นแรกเงินสดจะแปรสภาพอยู่ในรูปของวัตถุดิบ จากนั้นเมื่อผ่านกระบวนการต่าง ๆ ก็จะเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น แล้วแปรเปลี่ยนไปเป็นสินค้าและขายสินค้าที่ผลิตออกมาสำเร็จให้กับลูกค้า เปลี่ยนเป็นยอดขายค้างรับ จากนั้นเมื่อเก็บเงินได้ ก็จะถูกโอนไปยังบัญชีธนาคาร แล้วกลับมาเป็นเงินสดอีกครั้งหนึ่ง เป็นอันว่าครบหนึ่งวงจร
กรณีย้ายสถานประกอบการและผู้ประกอบการได้แจ้งเปลี่ยนแปลงที่อยู่ต่อหน่วยงานที่มีอำนาจตามกฎหมายและหน่วยงานที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ใบกำกับภาษีที่ออกให้แก่ผู้ซื้อหรือผู้ใช้บริการจะสามารถใช้ใบเดิมได้หรือไม่
นักบัญชีเป็นวิชาชีพเฉพาะทางที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจแบบแยกออกจากกันไม่ได้ ธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเป็นต้องมี “ผู้ทำบัญชี”ที่รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของธุรกิจ เพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของธุรกิจที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี พระราชบัญญัติการบัญชีจึงได้มีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ทำบัญชีไว้ชัดเจน โดยมีการแบ่งแยกหน้าที่และความรับผิดชอบกับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือธุรกิจ ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด ดังนี้
ต้นทุนผันแปร และต้นทุนคงที่คำว่า “คงที่” (Fixed) และ “ผันแปร” (Variable) ใช้เพื่ออธิบายว่าต้นทุนจะผันแปรไปอย่างไร เมื่อกิจกรรมเปลี่ยนแปลงไปต้นทุนผันแปร  เป็นต้นทุนซึ่งมีจำนวนรวมที่ผันแปรไปเป็นสัดส่วนโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรม ปริมาณกิจกรรมดังกล่าวได้แก่ หน่วยของสินค้าที่ผลิตขาย ชั่วโมงแรงงาน ชั่วโมงเครื่องจักร ตัวอย่างของต้นทุนผันแปร ได้แก่ วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง วัสดุสิ้นเปลือง เป็นต้น
เงินฝากธนาคาร (Bank Commercial) 5 ประเภท มี กี่ แบบ อะไรบ้าง 

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์