ระบบบัญชีสำหรับธุรกิจขนาดจิ๋ว

ระบบบัญชีสำหรับธุรกิจขนาดจิ๋ว


คณะกรรมการกำหนดแนวปฏิบัติทางการบัญชีและมาตรฐานการบัญชีสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ได้แก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) และสมาคมอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ไทยได้ร่วมกันเผยแพร่ระบบบัญชีสำหรับธุรกิจขนาดย่อมโดยเน้นไปที่ธุรกิจที่มีขนาดเล็กมาก หรือ ธุรกิจขนาดจิ๋ว

       กล่าวคือ ระบบบัญชีที่เผยแพร่นี้จัดเตรียมไว้ให้สำหรับธุรกิจที่เป็นบุคคลธรรมดาไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลและไม่ต้องอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

       กลุ่มของธุรกิจที่ไม่ต้องอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้แก่ธุรกิจทั่วไปที่มีรายรับไม่เกิน 1 ล้าน 2 แสนบาทต่อปี หรือเฉลี่ยมีรายได้จากการขายไม่เกิน 100,000 บาทต่อเดือน นั่นเอง

       ระบบบัญชีที่สมาคมนักบัญชีฯ นำมาเผยแพร่ให้กับเจ้าของธุรกิจขนาดจิ๋วหรือธุรกิจขนาดย่อมที่เข้าข่ายดังกล่าวนี้เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้มีความง่ายและสะดวกในการใช้งานเบื้องต้นจึงมีรูปแบบที่สามารถพัฒนาเพื่อให้เข้าสู่ระบบบัญชีตามมาตรฐานสากลต่อไปได้โดยง่าย

       เป็นแนวความคิดที่ต้องการสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งทางการบริหารจัดการธุรกิจให้กับบรรดาเอสเอ็มอีไทยเพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขันได้ในระดับสากลต่อไป

       ระบบบัญชีดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำบัญชีด้วยมือและมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์มารองรับเพื่อให้เจ้าของกิจการสามารถทำบัญชีให้ง่ายขึ้นโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วย

ตัวอย่างของระบบบัญชีสำหรับธุรกิจขนาดจิ๋วที่เป็นบุคคลธรรมดาประเภทธุรกิจการค้าหรือธุรกิจแบบซื้อมาขายไปจะครอบคลุมกิจกรรมในการทำธุรกิจ

โปรแกรมบัญชี ฟังก์ชั่น ที่ตอบโจทย์สำนักงานบัญชี นักบัญชี


บทความโดย :  nationejobs
 599
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ลูกหนี้ไม่ชำระค่าสินค้าจะทำอย่างไรประเด็นปัญหาลูกหนี้ไม่จ่ายค่าสินค้า และมาตรการแก้ไขเฉพาะหน้า
ค่าเสื่อมราคา หรือ Depreciation Expense เป็นการหักค่าใช้จ่ายสินทรัพย์ถาวรในแต่ละปี เนื่องจากสินทรัพย์ถาวรมีต้นทุนสูง และใช้งานได้เกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชี โดยหลักการจึงสามารถตัดเป็นรายจ่ายได้ในแต่ละปีเป็นค่าเสื่อมราคา อธิบายอย่างเข้าใจง่าย ค่าเสื่อมราคาคือหลักการทางบัญชี เพราะถ้าไม่มีวิธีหักค่าเสื่อมของสินทรัพย์แล้วนั้น เงินที่ลงทุนซื้อสินทรัพย์จำพวกนั้นก็จะกลายเป็นค่าใช้จ่ายไปทันทีทั้งก้อนซึ่งจะมีผลต่องบกำไรขาดทุน เราจึงจำเป็นต้องมาทะยอย หักเป็นค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับอายุการใช้งานเพื่อให้การคิดต้นทุนค่าใช้จ่ายเหมาะสมกับการคำนวณกำไรขาดทุนภาษี
การวางแผนภาษีอากร (Tax Planning) คือ การกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เพื่อการปฏิบัติในอนาคตเกี่ยวกับรายการทางการเงิน (Financial Transactions) อาทิ รายการรายได้ ค่าใช้จ่ายต่างๆ และจำนวนกำไรหรือขาดทุน ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางภาษีอากรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในอันที่จะป้องกันมิให้เกิดปัญหาภาษีอากรไม่ว่าประการใดๆ โดยมุ่งหมายให้การเสียภาษีอากรและการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรขององค์กรเป็นไปโดยถูกต้อง และครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายภาษีอากรกำหนดไว้ และเป็นผลให้จำนวนภาษีอากรที่ต้องเสียนั้น เป็นจำนวนน้อยที่สุดหรือประหยัดที่สุด รวมทั้งใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรสูงสุด ทั้งนี้ โดยไม่อาศัยการทุจริตหลีกเลี่ยงภาษีอากร
การสลักหลังเช็ค เราสามารถทำได้กี่แบบ แล้วมันแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
กฎหมาย E-payment คือ ? พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 เกิดขึ้นเพื่อรองรับระบบภาษี และเอกสารธุรกรรมทางการอิเล็กทรอนิกส์
การจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่าย ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 161) กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีเงินได้พึงประเมิน ตาม มาตรา 40(5)-(8) แห่งประมวลรัษฎากร เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากร

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์