sale@onlinesoft.co.th
02-402-6117
,
081-359-6920
Menu
Home
Products
Sales Order - ระบบขาย
Purchase Order - ระบบจัดซื้อ
Accounts Receivable - ระบบบัญชีลูกหนี้
Accounts Payable - ระบบบัญชีเจ้าหนี้
Inventory Control - ระบบสินค้าคงเหลือ
General Ledger - ระบบบัญชีแยกประเภท
Financial Management - ระบบงบการเงิน
Budget Control - ระบบควบคุมงบประมาณ
Cheque and Bank - ระบบเช็คและธนาคาร
Import & Export - ระบบนำเข้าและส่งออกข้อมูล
Multi-Currency - ระบบอัตราแลกเปลี่ยนสกุล
Value Added Tax - ระบบภาษี
Audit & Internal Control - ระบบตรวจสอบและควบคุมภายใน
Fixed Assets - ระบบคำนวณค่าเสื่อมราคา
Payroll - ระบบคำนวณเงินเดือน
ESS ระบบลาออนไลน์
Services
จองอบรม Online
วีดีโอสอนการใช้งาน
คู่มือการใช้งาน
คำถามที่พบบ่อย FAQs
บริการ Maintenance
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
Download Brochure
Partners
Partners สำหรับสำนักงานบัญชี
รายชื่อ Partners สำนักงานบัญชี
News
ข่าวสาร
บทความบัญชี
บทความบริหาร
About Us
เกี่ยวกับเรา
แนวคิดการบริหาร
Office Location
ร่วมงานกับเรา
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
ทดลองใช้งาน
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
การจัดทำงบประมาณ และบัญชีการเงิน สำหรับ นิติบุคคล
การจัดทำงบประมาณ และบัญชีการเงิน สำหรับ นิติบุคคล
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
การจัดทำงบประมาณ และบัญชีการเงิน สำหรับ นิติบุคคล
การจัดทำงบประมาณ และบัญชีการเงิน สำหรับ นิติบุคคล
ย้อนกลับ
ในทุกปี คณะกรรมการนิติบุคคลฯ จะมีการประชุมประจำปี วาระหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ การขออนุมัติงบประมาณประจำปี ในการจัดทำงบประมาณจะประกอบด้วย
- การจัดทำงบประมาณ
- การจัดทำแผนการเงิน
- การขออนุมัติ
เมื่อได้งบประมาณที่ผ่านการอนุมัติมาแล้ว ก็จะต้องส่งข้อมูลงบประมาณ ให้ผู้รับผิดชอบด้านบัญชีการเงินทำการ set up งบประมาณ เข้าโปรแกรมบัญชี เพื่อเป็นตัวตั้ง และควบคุมการใช้จ่าย ในระหว่างปี เพื่อไม่ให้เกินวงเงินงบประมาณ
ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ทั้งระบบของการจัดทำงบประมาณ และบัญชีการเงิน จะขอแบ่งงานบัญชีการเงินเป็น 2 ส่วน คือ
1.งานงบประมาณ
2.งานบัญชีการเงิน
จากภาระหน้าที่ดังกล่าว จะเห็นว่างานบัญชีการเงิน ก็เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการได้ข้อมูลเพื่อการบริหารงบประมาณ ดังนั้นผู้รับผิดชอบด้านบัญชีการเงินจะต้องจัดวางระบบบัญชีการเงิน และหาเครื่องมือ คือโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงาน เพื่อให้เป็นเครื่องมือของการบริหารงบประมาณที่ง่าย และสะดวกต่อการทำงาน
การจัดทำงบประมาณ
1. การจัดทำงบประมาณ
งบประมาณรายได้
งบประมาณค่าใช้จ่าย
งบประมาณโครงการ
งบประมาณการลงทุน
2. การจัดทำแผนการเงิน และขออนุมัติงบประมาณ เพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณของนิติบุคคลฯ ซึ่งประกอบด้วย
งบประมาณรายได้ เป็นการประมาณการรายได้ต่างๆ ที่คาดว่าจะได้รับในปีหน้า เช่น เงินค่าส่วนกลางที่รับจากสมาชิกนิติบุคคลฯ เงินรับจากกิจกรรมต่างๆ รายได้จากการขายสติ๊กเกอร์รถยนต์ และรายได้อื่นๆ เป็นต้น
งบประมาณค่าใช้จ่าย เป็นการประมาณการรายจ่ายที่คาดว่าจะจ่ายในปีหน้า เช่นค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค ค่าใช้จ่ายโครงการต่างๆ เป็นต้น
งบประมาณโครงการ เป็นการจัดทำงบประมาณในรูปโครงการต่างๆ เช่น โครงการจัดกิจกรรมต่างๆของนิติบุคคลฯ จะเห็นว่าบางโครงการอาจมีรายได้ การที่ทำในรูปโครงการมีข้อดีที่ทำให้เราทราบรายได้ และค่าใช้จ่ายแต่ละโครงการรวมทั้งหากมีการประเมินผลก็จะทำให้เราสามารถตัดสินใจได้ในปีต่อๆไป ว่าจะดำเนินการต่อไปหรือไม่
งบประมาณการลงทุน เป็นงบประมาณที่ทางนิติบุคคลฯ วางแผนที่จะลงทุนในปีหน้า เช่นการสร้างอาคาร และการซื้อครุภัณฑ์ เป็นต้น
งบประมาณการเงิน หรือการจัดทำแผนการเงิน เมื่อทางนิติบุคคลฯ ได้จัดทำงบประมาณรายได้ งบประมาณค่าใช้จ่าย งบประมาณโครงการ งบประมาณการลงทุน แล้วก็จะมาทำแผนการใช้จ่ายเงิน เรียกว่า งบประมาณการเงิน เสร็จแล้วก็จะส่งข้อมูลให้ผู้รับผิชอบด้านบัญชีเพื่อบันทึกตั้งงบประมาณ ในระบบบัญชี
โปรแกรมบัญชี ฟังก์ชั่น ที่ตอบโจทย์สำนักงานบัญชี นักบัญชี
บทความโดย
: www.buncheesiam.com
1320
ผู้เข้าชม
บทความที่เกี่ยวข้อง
การจัดหมวดบัญชีและผังบัญชี
การจัดหมวดบัญชีและผังบัญชี
การที่จะทำการบันทึกรายการค้าในบัญชีแยกประเภทต่าง ๆ ให้ละเอียดและเป็นระเบียบเรียบร้อยสะดวกแก่การจัดทำรายงานเพื่อประโยชน์ในการอ้างอิงและค้นหาภายหลังนั้น ควรจัดบัญชีต่าง ๆ ให้เป็นหมวดหมู่และกำหนดเลขที่สำหรับหมวดหมู่บัญชีไว้ใน “ผังบัญชี” (Chart of Account)
การจัดทำกระดาษทำการสำหรับผู้สอบบัญชี
การจัดทำกระดาษทำการสำหรับผู้สอบบัญชี
หลักฐานที่แสดงถึงการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี หลักฐานที่ได้รับจากการปฏิบัติงานตรวจสอบและรับรองบัญชี และสิ่งที่ตรวจพบจากการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ซึ่งได้แก่ เอกสารที่ผู้สอบบัญชีภาษีอากรได้จัดทำขึ้นเอง เอกสารที่ได้รับมาจากกิจการที่ทำการตรวจสอบ หรือที่ขอจากบุคคลภายนอกกิจการ ทั้งนี้ เพื่อใช้ในการจัดทำรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชี
ภาษีครึ่งปี สำคัญอย่างไร
ภาษีครึ่งปี สำคัญอย่างไร
หลายคนอาจมีคำถามว่า บุคคลธรรมดาผู้มีเงินได้ก็ยื่นภาษีทุกปีอยู่แล้วทำไมต้องยื่นเสียภาษีครึ่งปีอีก? ซึ่งก็มีแค่บุคคลที่มีเงินได้บางประเภทเท่านั้นที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีครึ่งปี โดยการเสียภาษีครึ่งปีนี้ถือเป็นการบรรเทาภาระภาษี เพราะหากไม่มีการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 94 หรือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี จะต้องยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและชำระภาษีเป็นเงินจำนวนมาก โดยภาษีเงินได้ครึ่งปีที่จ่ายไป สามารถนำไปใช้หักออกจากภาษีประจำปีที่คำนวณได้ ตัวอย่างเช่น นายเอได้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีไปแล้วจำนวน 6,000 บาท พอสิ้นปีนายเอคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายเป็นจำนวน 9,000 บาท นายเอก็จ่ายภาษีเพิ่มแค่ 3,000 บาทเท่านั้น (9,000-6,000 บาท)
ผู้ใช้ประโยชน์จากการบัญชี
ผู้ใช้ประโยชน์จากการบัญชี
ข้อมูลทางการบัญชีสื่อให้เห็นภาพที่แท้จริงของธุรกิจ เพื่อให้บุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถมอง เห็นถึงประสิทธิภาพและความสามารถในการดำเนินงานของธุรกิจทั้งในอดีต ปัจจุบันและพยากรณ์ในอนาคตได้ กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ จากข้อมูลทางการบัญชีแบ่งได้ 2 กลุ่มดังนี้
หลัก 3 ข้อ เพื่อทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายให้ร้านค้า
หลัก 3 ข้อ เพื่อทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายให้ร้านค้า
ผู้ประกอบการหลายคนอาจเข้าใจว่าการทำบัญชีนั้นมีไว้สำหรับบริษัทใหญ่หรือเพื่อร้านค้าทั่วไปอย่างเดียวเท่านั้น แต่อันที่จริงแล้วพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ก็สามารถทำบัญชีให้กับร้านได้เหมือนกัน ซึ่งการทำบัญชีให้ร้านออนไลน์นั้นนอกจากจะเป็นการสรุปยอดขายและรายจ่ายในทุกๆ เดือนแล้ว ยังช่วยให้เรามีข้อมูลสรุปรายได้ที่ชัดเจนแน่นอนนอกเหนือจากตัวเลขที่ระบบของเว็บไซต์บันทึกเอาไว้อีกด้วย
ระบบบัญชีสำหรับธุรกิจขนาดจิ๋ว
ระบบบัญชีสำหรับธุรกิจขนาดจิ๋ว
คณะกรรมการกำหนดแนวปฏิบัติทางการบัญชีและมาตรฐานการบัญชีสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ ได้แก่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (ISMED) และสมาคมอุตสาหกรรมซอฟท์แวร์ไทยได้ร่วมกันเผยแพร่ระบบบัญชีสำหรับธุรกิจขนาดย่อมโดยเน้นไปที่ธุรกิจที่มีขนาดเล็กมาก หรือ ธุรกิจขนาดจิ๋ว
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com