sale@onlinesoft.co.th
02-402-6117
,
081-359-6920
Menu
Home
Products
Sales Order - ระบบขาย
Purchase Order - ระบบจัดซื้อ
Accounts Receivable - ระบบบัญชีลูกหนี้
Accounts Payable - ระบบบัญชีเจ้าหนี้
Inventory Control - ระบบสินค้าคงเหลือ
General Ledger - ระบบบัญชีแยกประเภท
Financial Management - ระบบงบการเงิน
Budget Control - ระบบควบคุมงบประมาณ
Cheque and Bank - ระบบเช็คและธนาคาร
Import & Export - ระบบนำเข้าและส่งออกข้อมูล
Multi-Currency - ระบบอัตราแลกเปลี่ยนสกุล
Value Added Tax - ระบบภาษี
Audit & Internal Control - ระบบตรวจสอบและควบคุมภายใน
Fixed Assets - ระบบคำนวณค่าเสื่อมราคา
Payroll - ระบบคำนวณเงินเดือน
ESS ระบบลาออนไลน์
Services
จองอบรม Online
วีดีโอสอนการใช้งาน
คู่มือการใช้งาน
คำถามที่พบบ่อย FAQs
บริการ Maintenance
วิธีการชำระเงิน
Download Brochure
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
Partners
โครงการ Partners สำนักงานบัญชี
ลูกค้าอ้างอิง
News
ข่าวสาร
บทความบัญชี
บทความบริหาร
About Us
เกี่ยวกับเรา
แนวคิดการบริหาร
Office Location
ร่วมงานกับเรา
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
ทดลองใช้งาน
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
การจัดทำงบประมาณ และบัญชีการเงิน สำหรับ นิติบุคคล
การจัดทำงบประมาณ และบัญชีการเงิน สำหรับ นิติบุคคล
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
การจัดทำงบประมาณ และบัญชีการเงิน สำหรับ นิติบุคคล
การจัดทำงบประมาณ และบัญชีการเงิน สำหรับ นิติบุคคล
ย้อนกลับ
ในทุกปี คณะกรรมการนิติบุคคลฯ จะมีการประชุมประจำปี วาระหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ การขออนุมัติงบประมาณประจำปี ในการจัดทำงบประมาณจะประกอบด้วย
- การจัดทำงบประมาณ
- การจัดทำแผนการเงิน
- การขออนุมัติ
เมื่อได้งบประมาณที่ผ่านการอนุมัติมาแล้ว ก็จะต้องส่งข้อมูลงบประมาณ ให้ผู้รับผิดชอบด้านบัญชีการเงินทำการ set up งบประมาณ เข้าโปรแกรมบัญชี เพื่อเป็นตัวตั้ง และควบคุมการใช้จ่าย ในระหว่างปี เพื่อไม่ให้เกินวงเงินงบประมาณ
ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจ ทั้งระบบของการจัดทำงบประมาณ และบัญชีการเงิน จะขอแบ่งงานบัญชีการเงินเป็น 2 ส่วน คือ
1.งานงบประมาณ
2.งานบัญชีการเงิน
จากภาระหน้าที่ดังกล่าว จะเห็นว่างานบัญชีการเงิน ก็เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการได้ข้อมูลเพื่อการบริหารงบประมาณ ดังนั้นผู้รับผิดชอบด้านบัญชีการเงินจะต้องจัดวางระบบบัญชีการเงิน และหาเครื่องมือ คือโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงาน เพื่อให้เป็นเครื่องมือของการบริหารงบประมาณที่ง่าย และสะดวกต่อการทำงาน
การจัดทำงบประมาณ
1. การจัดทำงบประมาณ
งบประมาณรายได้
งบประมาณค่าใช้จ่าย
งบประมาณโครงการ
งบประมาณการลงทุน
2. การจัดทำแผนการเงิน และขออนุมัติงบประมาณ เพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณของนิติบุคคลฯ ซึ่งประกอบด้วย
งบประมาณรายได้ เป็นการประมาณการรายได้ต่างๆ ที่คาดว่าจะได้รับในปีหน้า เช่น เงินค่าส่วนกลางที่รับจากสมาชิกนิติบุคคลฯ เงินรับจากกิจกรรมต่างๆ รายได้จากการขายสติ๊กเกอร์รถยนต์ และรายได้อื่นๆ เป็นต้น
งบประมาณค่าใช้จ่าย เป็นการประมาณการรายจ่ายที่คาดว่าจะจ่ายในปีหน้า เช่นค่าใช้จ่ายดำเนินงาน ค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภค ค่าใช้จ่ายโครงการต่างๆ เป็นต้น
งบประมาณโครงการ เป็นการจัดทำงบประมาณในรูปโครงการต่างๆ เช่น โครงการจัดกิจกรรมต่างๆของนิติบุคคลฯ จะเห็นว่าบางโครงการอาจมีรายได้ การที่ทำในรูปโครงการมีข้อดีที่ทำให้เราทราบรายได้ และค่าใช้จ่ายแต่ละโครงการรวมทั้งหากมีการประเมินผลก็จะทำให้เราสามารถตัดสินใจได้ในปีต่อๆไป ว่าจะดำเนินการต่อไปหรือไม่
งบประมาณการลงทุน เป็นงบประมาณที่ทางนิติบุคคลฯ วางแผนที่จะลงทุนในปีหน้า เช่นการสร้างอาคาร และการซื้อครุภัณฑ์ เป็นต้น
งบประมาณการเงิน หรือการจัดทำแผนการเงิน เมื่อทางนิติบุคคลฯ ได้จัดทำงบประมาณรายได้ งบประมาณค่าใช้จ่าย งบประมาณโครงการ งบประมาณการลงทุน แล้วก็จะมาทำแผนการใช้จ่ายเงิน เรียกว่า งบประมาณการเงิน เสร็จแล้วก็จะส่งข้อมูลให้ผู้รับผิชอบด้านบัญชีเพื่อบันทึกตั้งงบประมาณ ในระบบบัญชี
โปรแกรมบัญชี ฟังก์ชั่น ที่ตอบโจทย์สำนักงานบัญชี นักบัญชี
บทความโดย
: www.buncheesiam.com
1852
ผู้เข้าชม
บทความที่เกี่ยวข้อง
รายการปรับปรุงบัญชีที่มักหลงลืม มีอะไรบ้าง? ป้องกันได้อย่างไร?
รายการปรับปรุงบัญชีที่มักหลงลืม มีอะไรบ้าง? ป้องกันได้อย่างไร?
ณ วันสิ้นงวดบัญชี สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่นักบัญชีต้องทำก่อนการจัดทำงบการเงิน คือ ปิดบัญชี ปรับปรุงรายการบัญชี และแก้ไขข้อผิดพลาดจากการบันทึกบัญชีต่างๆ เพื่อให้การจัดทำงบการเงินถูกต้องตรงตามความเป็นจริงมากที่สุดซึ่งแน่นอนว่า ในการปรับปรุงปิดบัญชี ณ วันสิ้นงวด จะมีรายการที่เคยรับรู้ในระหว่างงวดมาก่อน แต่ต้องทำการปรับปรุงให้ถูกต้องตอนสิ้นปี หรือบางรายการที่ไม่เคยรับรู้มาก่อน แต่ต้องทำการปรับปรุงการบันทึกบัญชีให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์คงค้างในการปรับปรุงรายการบันทึกบัญชี มีโอกาสที่นักบัญชีจะปรับปรุงรายการได้ไม่ครบถ้วน ในบทความนี้เรารวบรวมรายการที่มักลืมปรับปรุงตอนปิดบัญชีบ่อยๆ มาให้เพื่อนๆ สำรวจตัวเองกันค่ะ
ทฤษฎีการจัดทำงบการเงินรวม
ทฤษฎีการจัดทำงบการเงินรวม
งบการเงินรวมเป็นรายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ทราบถึงผลประกอบการของกลุ่มกิจการ โดยงบการเงินรวมนำเสนอเสมือนว่ากลุ่มกิจการนั้นเป็นกิจการเดียว ฉะนั้นการจัดทำงบการเงินรวมมีความสำคัญมากต่อการที่นักวิเคราะห์ทางการเงิน หรือผู้ใช้งบการเงินที่ต้องการพิจารณางบการเงินของกลุ่มกิจการ โดยประโยชน์ของการวิเคราะห์งบการเงิน ยังคงไม่แตกต่างจากประโยชน์การวิเคราะห์งบการเงินของกิจการใดกิจการหนึ่ง คือทำให้ผู้ใช้งบการเงินรวมสามารถนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ตัดสินใจทางการเงิน การเลือกลงทุนในกลุ่มกิจการ หรือใช้พยากรณ์อนาคตผลประกอบการและฐานะทางการเงินของกลุ่มกิจการ หรือใช้เป็นเครื่องมือการวินิจฉัยปัญหาของการบริหารงาน การดำเนินงาน หรือใช้เป็นเครื่องมือประเมินผล (Evaluation) ของฝ่ายบริหาร
กิจการที่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี
กิจการที่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี
สำหรับกิจการที่มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี คือ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี และต้องจัดให้มีการทำบัญชีสำหรับการประกอบธุรกิจของตนโดยมีรายละเอียด หลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีประกอบธุรกิจเป็นประจำในสถานที่หลายแห่งแยกจากกันให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการธุรกิจในสถานที่นั้นเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
เจ้าหน้าที่สรรพากรจะรับรู้รายได้ที่เรามีได้อย่างไร
เจ้าหน้าที่สรรพากรจะรับรู้รายได้ที่เรามีได้อย่างไร
อยากวางแผนภาษีของกิจการให้ดี แต่ไม่รู้เลยว่าเจ้าหน้าที่สรรพากรจะรับรู้รายได้ที่เรามีได้อย่างไร คุณกำลังเป็นแบบนี้อยู่ใช่มั้ย?
เอกสาร PR PO เอาไว้ใช้ทำอะไร
เอกสาร PR PO เอาไว้ใช้ทำอะไร
ใบขอซื้อ (PR) เป็นเอกสารที่เป็นฉบับแรกสุดในบริษัทขนาดใหญ่ก่อนที่จะได้รับการอนุมัติเพื่อทำเอกสารใบสั่งซื้อ ส่วนใบสั่งซื้อ (PO) หรือ ใบเสนอราคา เอกสารใบสั่งซื้อนี้ สามารถใช้เป็นหลักฐานในการทำธุรกิจได้เป็นอย่างดี หากการสั่งซื้อนั้นเกิดความล่าช้ากว่ากำหนด หรือ มีข้อโต้แย้งที่ทำสินค้าให้เราไม่ได้อย่างที่ตกลงกันไว้
บิลที่ใช้ไม่ได้ ทิ้งเลย หรือ บันทึกบัญชีดี
บิลที่ใช้ไม่ได้ ทิ้งเลย หรือ บันทึกบัญชีดี
เอกสารประกอบการบันทึกค่าใช้จ่ายแบบไหนที่ไม่สามารถใช้ได้
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com