จดทะเบียนแก้ไขตราประทับ

จดทะเบียนแก้ไขตราประทับ


ตราประทับบริษัทสูญหาย หรือชำรุด หรือต้องการเปลี่ยนรูปแบบใหม่ จะต้องทำอย่างไร

กรณีที่บริษัทมีตราประทับอยู่แล้ว แต่อาจชำรุด สูญหาย หรือต้องการเปลี่ยนรูปแบบใหม่ บริษัทจะต้องแจ้งจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงตราประทับใหม่

ขั้นตอนการจดทะเบียนแก้ไขตราประทับ

  • การจดทะเบียนแก้ไขตราประทับ ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือที่ประชุมคณะกรรมการ
  • กรณีตราประทับบริษัทสูญหาย ให้ระบุ คำว่า "ตราหาย" แทนที่การประทับตราในคำขอจดทะเบียนและหนังสือมอบอำนาจ
  • กรณีตราประทับบริษัทชำรุด ให้ระบุ คำว่า "ตราชำรุด"
  • กรรมการผู้มีอำนาจ มีหน้าที่ยื่นขอจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลงตราประทับ


เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียนแก้ไขตราประทับ

  1. แบบ บอจ.1 คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัดและหน้าหนังสือรับรอง
  2. คำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
  3. แบบ บอจ.4 รายการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม และ/หรือมติพิเศษ
  4. สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
  5. ดวงตราสำคัญดวงใหม่
  6. หนังสือมอบอำนาจ
  7. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)

"ตัวอย่างการกรอกเอกสาร"


ค่าธรรมเนียม

  • จดทะเบียนแก้ไขตราประทับบริษัท 500 บาท
  • หนังสือรับรอง รายการละ 40 บาท
  • รับรองสำเนาเอกสารคำขอจดทะเบียน หน้าละ 50 บาท


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ที่มา : www.twentyfouraa.com
 13904
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

สำหรับ "บริษัทจำกัด" ที่มีวันสิ้นรอบปีบัญชี คือ 31 ธันวาคม 2566 จะต้องปิดงบการเงิน ยื่นงบการเงิน และยื่นภาษีบริษัทประจำปี ภายในวันสุดท้ายดังนี้
เนื้อหาที่จะนำมาแบ่งปันให้ได้เรียนรู้ร่วมกันในครั้งนี้ เป็นเรื่องของ ‘ค่าเสื่อมราคา’ ที่ผมเองก็มักจะได้เห็น และได้พบปัญหาที่เกิดจากความเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อน หรือมีแนวปฏิบัติที่ออกจะสับสนไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชี และแนวปฏิบัติของกรมสรรพากรตามที่ควรจะเป็น ซึ่งเมื่อพูดถึง ‘ค่าเสื่อมราคา’ เราจะสามารถแบ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องออกเป็นสองส่วนด้วยกันคือ ประเด็นที่เกี่ยวกับหลักการบัญชี กับหลักการภาษี ซึ่งสรุปเป็นภาพรวมแบบนี้ครับว่า
ตรายางบริษัท เป็นเครื่องมือทางธุรกิจอย่างหนึ่ง ประกอบไปด้วยโลโก้บริษัท หรืออาจใส่ชื่อบริษัทเข้าไปด้วยก็ได้ ตรายางบริษัทต้องสั่งทำเป็นพิเศษ เพื่อใช้สำหรับเป็นตัวแทนบริษัท หรือองค์กร ในการรับรองเอกสาร การทำธุรกรรม และทำนิติกรรมต่างๆ โดยเฉพาะ  
ในยุคที่กรมสรรพากร ได้มีการบริหารภายใต้นโยบายปรับเปลี่ยนองค์กรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารการจัดเก็บภาษีและยกระดับการให้บริการด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกมาใช้ในการบริหารการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรทุกกระบวนงาน หรือที่เรียกว่า “RD Digital Government – Data Analytics” และนำมาสู่แนวคิดเรื่อง “บัญชีเดียว” ของผู้ประกอบธุรกิจ ส่งผลให้มีการกล่าวถึง “นักบัญชีภาษีอากร” ซึ่งจะเป็นผู้ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการเสียภาษีได้ถูกต้องและเหมาะสมมากขึ้น
บอจ.2 บอจ.3 บอจ.5 เป็นเอกสารประกอบการจดทะเบียนที่สำคัญอย่างหนึ่งเวลาที่เราเอาบริษัทไปทำธุรกรรมในด้านต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เราไปเปิดบัญชีธนาคารในนามบริษัทธนาคารก็จะขอ บอจ.2 บอจ.3 บอจ.5 ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าเอกสารดังกล่าวนั้นคืออะไร
ในทุกปี คณะกรรมการนิติบุคคลฯ จะมีการประชุมประจำปี วาระหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ การขออนุมัติงบประมาณประจำปี  ในการจัดทำงบประมาณจะประกอบด้วย

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์