รวมทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับใบเสร็จรับเงิน

รวมทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับใบเสร็จรับเงิน


ใบเสร็จรับเงินคืออะไร?

ใบเสร็จรับเงิน จริงๆ แล้วคือเอกสารที่ใช้ในการรับเงินจากผู้ขายหรือผู้ให้เช่าออกใบเสร็จนี้ให้กับผู้ซื้อ เพื่อเป็นเอกสารยืนยันว่าผู้ขายหรือผู้ให้เช่านั้นได้รับเงินแล้ว การออกใบเสร็จรับเงินเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นสิ่งที่ต้องทำเพราะตามกฎหมายแล้วกำหนดไว้ว่าให้ผู้รับเงิน ต้องออกใบเสร็จให้กับผู้ขายทันที เมื่อมีการรับเงิน โดยไม่เว้นแต่กรณีที่ผู้ซื้อจะขอหรือไม่ขอก็แล้วแต่ แต่ถ้าหากเป็นธุรกิจที่มีขนาดเล็ก อาจจะไม่ต้องออกใบเสร็จรับเงินให้กับผู้ซื้อทุกครั้ง แต่ทางกรมสรรพากรได้กำหนดไว้ว่าต้องออกใบเสร็จรับเงินต่อเมื่อมีการขายสินค้าที่มีจำนวนเงินเกิน 100 บาท/ต่อครั้ง

บิลเงินสดคืออะไร?

บิลเงินสดจริงๆ แล้วคือเอกสารในการรับเงินที่ผู้รับเงินออกให้แก่ผู้จ่ายเงิน เพื่อเก็บเอาไว้เป็นหลักฐานว่าได้รับชำระเงินค่าสินค้าหรือบริการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คล้ายกับใบเสร็จรับเงิน แต่จะมีความเป็นทางการน้อยกว่าใบเสร็จรับเงิน โดยปกติแล้วบิลเงินสดจะเป็นหน้าตาเปล่าๆ หรือเป็นแบบฟอร์มที่ให้คนขายกรอกข้อมูลลงในบิลเอง ถ้าหากพูดถึงประโยชน์ของบิลเงินสดก็คือเหมือนกับใบเสร็จรับเงินนั่นเอง

ใบเสร็จรับเงินและบิลเงินสดแตกต่างกันอย่างไร?<

จริงๆ แล้วใบเสร็จรับเงินกับบิลเงินสดไม่ได้มีความแตกต่างอะไรกันมากนัก ถ้าในมุมมองของคนทำบัญชีจะถือว่าทั้งใบเสร็จรับเงินและบิลเงินสดเป็นเอกสารรับเงิน แต่จะแตกต่างกันที่ความน่าเชื่อถือของแต่ละบิล โดยบิลเงินสดและใบเสร็จรับเงินจะใช้ก็ต่อเมื่อลูกค้ามาซื้อสินค้าหรือบริการแล้วชำระเงินทันที แต่ใบเสร็จรับเงินจะใช้ก็ต่อเมื่อลูกค้าได้มาใช้จ่ายชำระหนี้จากการซื้อสินค้าหรือใช้บริการที่ผ่านมาแล้ว

วิธีแก้ปัญหาเวลาไม่ได้รับใบเสร็จรับเงินหรือบิลเงินสด

ปกติแล้วหลายครั้งที่เวลาเราไปซื้อของหรือซื้อสินค้า แต่คนขายไม่ยอมออกใบเสร็จรับเงินหรือบิลเงินสดให้เรา แล้วเราจะทำยังไงกัน ในเมื่อเราไม่สามารถใช้เอกสารมาใช้ในการเป็นหลักฐานในการจ่ายได้ อย่าตกใจไป เบื้องต้นในกรณีนี้ทางสรรพากรมีวิธีการแก้ปัญหาให้ดังต่อไปนี้

กรณีรายจ่ายของกิจการที่จ่ายจริงแต่ผู้รับเงินไม่มีหลักฐานการรับเงินที่เพียงพอต่อการบันทึกบัญชี กิจการ สามารถจัดทำเอกสารประกอบการลงบัญชี โดยอาจเลือกใช้เอกสารอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

1. ให้ใช้ใบรับเงินแทน

โดยปกติเอกสารนี้จะเอาไว้ใช้สำหรับผู้รับเงินยินยอมออกใบรับเงินโดยจะต้องมีข้อมูลที่สำคัญดังกล่าวตามด้านล่างนี้

  • เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกใบรับ
  • ชื่อหรือยี่ห้อของผู้ออกใบรับ
  • เลขลำดับของเล่มและของใบรับ
  • วันเดือนปีที่ออกใบรับ
  • จำนวนเงินที่รับ
  • ชนิด ชื่อ จำนวนและราคาสินค้า
2. ให้ใช้ใบสำคัญรับเงิน

โดยปกติแล้วจะใช้ในกรณีผู้รับเงินไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินให้ได้แต่ยินยอมที่จะลงลายมือชื่อในช่องผู้รับเงิน

3. ให้ใช้ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน

ตามปกติแล้วใช้ในกรณีกิจการจ่ายเงินค่าซื้อสินค้าหรือบริการเบ็ดเตล็ดแต่ไม่สามารถเรียกใบเสร็จรับเงินจาก ผู้ขายหรือผู้ให้บริการได้ต้องให้พนักงานของกิจการเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินดังกล่าว

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!




ขอบคุณบทความจาก :: www.kmcpaccounting.com 

 1525
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การปิดงบการเงินแบบ normal อาจจะเป็นเรื่องไม่ normal อีกต่อไป ตั้งแต่มี Covid-19 เข้ามา แทบจะทุกธุรกิจได้รับผลกระทบจากโควิด เริ่มตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ และแน่นอนว่าผลกระทบเหล่านี้ย่อมต้องสะท้อนออกมาในงบการเงินอย่างถูกต้องและเหมาะสมเช่นกัน ก่อนจะปิดบัญชีปีนี้มีจุดเสี่ยงสำคัญอะไรในงบการเงินบ้างที่นักบัญชีต้องเรียนรู้ เราขออาสาพาทุกท่านมาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันเลย ในบทความนี้ค่ะ
ทุกๆ ปีของการนำส่งงบการเงิน เมื่อพูดถึงเรื่องการยื่นงบการเงิน นักบัญชีก็ต้องนึกถึงการยื่น บอจ.5 ควบคู่มาด้วย แล้วก็จะมีคำถามต่อว่า แล้ว บอจ.5 คืออะไร ต้องยื่นทำไม ในการทำธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคล ก็จะมีผู้ถือหุ้นหลายคน แล้วแต่ว่าแต่ละกิจการจะตกลงกัน ซึ่งการยื่นบอจ.5 ก็เป็นเหมือนการยืนยันในทุกๆปีว่า รายชื่อผู้ถือหุ้นปัจจุบันนี้ คือใครบ้าง แล้วสัดส่วนหุ้นคนละเท่าไหร่ ก็เลยมีความจำเป็นที่จะต้องนำส่งข้อมูลในทุกๆ ปีค่ะ เราไปดูรายละเอียดกัน
บอจ.2 บอจ.3 บอจ.5 เป็นเอกสารประกอบการจดทะเบียนที่สำคัญอย่างหนึ่งเวลาที่เราเอาบริษัทไปทำธุรกรรมในด้านต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เราไปเปิดบัญชีธนาคารในนามบริษัทธนาคารก็จะขอ บอจ.2 บอจ.3 บอจ.5 ในบทความนี้เราจะมาดูกันว่าเอกสารดังกล่าวนั้นคืออะไร
ในปัจจุบันการนำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างประเทศ ถือเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญอย่างมาก เพราะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจ สร้างงาน เพิ่มการจ้างงาน และส่งเสริมการแข่งขันและนวัตกรรม นอกจากนี้ยังมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศ รวมไปถึงช่วยให้สร้างโอกาสขยายตลาด และเพิ่มรายได้แบบก้าวกระโดด ดังนั้น การดำเนินธุรกิจนำเข้า-ส่งออกที่มีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว
ภาษีซื้อต้องห้าม กฎหมายห้ามไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่รู้หรือไม่ว่า ภาษีซื้อต้องห้ามบางประเภทนั้น สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ก่อนอื่นต้องขอทบทวนความรู้กันนิดนึงก่อนว่า ภาษีธุรกิจที่เราจะคุยกันนั้นแยกเป็นสองเรื่อง
ภาษีเงินได้หมายถึงภาษีทั้งสิ้นที่กิจการต้องจ่ายทั้งภายในและภายนอกประเทศ ซึ่งเป็นภาษีเงินได้ที่คำนวณจากกำไร นอกจากนี้ภาษีเงินได้ยังรวมถึงภาษีประเภทอื่น เช่น ภาษีหักณ.ที่จ่ายของบริษัท บริษัทร่วม หรือกิจการร่วมค้าหักไว้จากการแบ่งปันส่วนทุนหรือกำไรให้กับกิจการ ในการดำเนินธุรกิจนั้น เมื่อมีกำไรธุรกิจจะต้องจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่รัฐบาล ซึ่งภาษีเงินได้ดังกล่าวนั้นถูกคำนวณขึ้นตามกฎหมายของภาษีอากร โดยใช้ระเบียบใช้แนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากร ซึ่งกฎหมาย ระเบียบ หรือแนวปฏิบัตินั้นอาจแตกต่างจากวิธีการทางบัญชีของกิจการซึ่งได้กระทำตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป กำไรสุทธิที่คำนวณตามหลักการบัญชีจึงแตกต่างจากกำไรสุทธิตามหลักเกณฑ์ภาษีอากร จึงมีผลทำให้ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายตามหลักการบัญชีแตกต่างจากภาษีเงินได้นิติบุคคลซึ่งคำนวณจากกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีอากร จำนวนที่แตกต่างนั้นก็คือ ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีนั่นเอง

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์