sale@onlinesoft.co.th
02-402-6117
,
081-359-6920
Menu
Home
Products
Sales Order - ระบบขาย
Purchase Order - ระบบจัดซื้อ
Accounts Receivable - ระบบบัญชีลูกหนี้
Accounts Payable - ระบบบัญชีเจ้าหนี้
Inventory Control - ระบบสินค้าคงเหลือ
General Ledger - ระบบบัญชีแยกประเภท
Financial Management - ระบบงบการเงิน
Budget Control - ระบบควบคุมงบประมาณ
Cheque and Bank - ระบบเช็คและธนาคาร
Import & Export - ระบบนำเข้าและส่งออกข้อมูล
Multi-Currency - ระบบอัตราแลกเปลี่ยนสกุล
Value Added Tax - ระบบภาษี
Audit & Internal Control - ระบบตรวจสอบและควบคุมภายใน
Fixed Assets - ระบบคำนวณค่าเสื่อมราคา
Payroll - ระบบคำนวณเงินเดือน
ESS ระบบลาออนไลน์
Services
จองอบรม Online
วีดีโอสอนการใช้งาน
คู่มือการใช้งาน
คำถามที่พบบ่อย FAQs
บริการ Maintenance
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
Download Brochure
Partners
Partners สำหรับสำนักงานบัญชี
รายชื่อ Partners สำนักงานบัญชี
News
ข่าวสาร
บทความบัญชี
บทความบริหาร
About Us
เกี่ยวกับเรา
แนวคิดการบริหาร
Office Location
ร่วมงานกับเรา
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
ทดลองใช้งาน
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
5 ควรรู้เกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
5 ควรรู้เกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
5 ควรรู้เกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
5 ควรรู้เกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
ย้อนกลับ
1. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
เป็นภาษีที่ผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ต้องเสียให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของบ้าน ที่ดิน คอนโดมิเนียม หรือสิ่งปลูกสร้างใดๆ ทั้งที่ใช้และไม่ได้ใช้ประโยชน์ จะจัดเก็บภาษีตามมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่ในครอบครอง โดยจะทำการจัดเก็บเป็นรายปี จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ได้แก่
เกษตรกรรม
, ที่อยู่อาศัย, อื่น ๆ (พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม) และที่ดินรกร้างว่างเปล่า
2. ผู้เสียภาษี คือ
เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เจ้าของอาคารชุด ผู้ครอบครองหรือทำประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ เป็นทรัพย์สินของรัฐ ผู้มีหน้าที่ชำระภาษีแทนผู้เสียภาษี เช่น ผู้จัดการมรดก หรือทายาท ผู้จัดการทรัพย์สิน เป็นต้น
3. หน่วยงานที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษี
ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท) ได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตําบล กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา โดยหน่วยงานผู้มีหน้าที่จัดเก็บจะส่งแบบประเมินแสดงจํานวนเงินภาษีที่ต้องชําระให้แก่ผู้เสียภาษี
4. วิธีการคำนวณภาษี
- กรณีที่ดินไม่มีสิ่งปลูกสร้าง ภาระภาษี = มูลค่าที่ดิน x อัตราภาษี (มูลค่าที่ดิน = ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน/ตร.ว. x ขนาดพื้นที่ดิน)
- กรณีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาระภาษี = (มูลค่าที่ดิน+มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง) x อัตราภาษี (มูลค่าที่ดิน = ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน/ตร.ว. x ขนาดพื้นที่ดิน) มูลค่าสิ่งปลูกสร้าง = ราคาประเมินทุนทรัพย์สิ่งปลูกสร้าง/ตร.ม. x ขนาดพื้นที่สิ่งปลูกสร้าง) – ค่าเสื่อมราคา)
- กรณีห้องชุด ภาระภาษี = มูลค่าห้องชุด x อัตราภาษี (มูลค่าห้องชุด = ราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุด/ตร.ม. x ขนาดพื้นที่ ห้องชุด)
5. ผู้ที่เสียภาษีควรดำเนินการ
ตรวจสอบบัญชีรายการที่ดินของตนเองให้ถูกต้อง หากไม่ถูกต้องสามารถยื่นคำร้องต่อผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อขอแก้ไขให้ถูกต้องได้ทันที ตรวจสอบพื้นที่แบบประเมิน และชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!
ขอบคุณบทความจาก ::
www.spu.ac.th
ภาษีที่ดิน
สิ่งปลูกสร้าง
อสังหาริมทรัพย์
535
ผู้เข้าชม
บทความที่เกี่ยวข้อง
หลักการจัดเก็บอากรขาเข้า อากรขาออก
หลักการจัดเก็บอากรขาเข้า อากรขาออก
อากร หมายถึง เงินรายได้ของประเทศที่กฎหมายกำหนดให้กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานจัดเก็บจากการนำของเข้ามาในหรือส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร หรือ จากกรณีอื่นๆ ตามที่บัญญัติในกฎหมายศุลกากรและกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ตลอดจนกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอากรศุลกากร
4 ขั้นตอนในการวิเคราะห์กระแสเงินสด
4 ขั้นตอนในการวิเคราะห์กระแสเงินสด
การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด เป็นหนึ่งในเครื่องมือในการวิเคราะห์งบการเงินที่น่าสนใจอีกวิธีหนึ่ง นอกเหนือจากการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน หรือว่าการวิเคราะห์งบโดยวิธีแนวนอน วิธีแนวโน้ม วิธีแนวตั้ง หรือวิเคราะห์ร้อยละของยอดรวม หลายๆ คนคงคุ้นเคยกับการวิเคราะห์งบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะทางการเงินมาบ้างแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า หนึ่งในวิธีวิเคราะห์งบการเงินที่มีประโยชน์มากอีกวิธีหนึ่งก็คือ การวิเคราะห์กระแสเงินสด
หากยื่นภาษี 2565 ล่าช้ามีบทลงโทษอย่างไร
หากยื่นภาษี 2565 ล่าช้ามีบทลงโทษอย่างไร
กรณีที่บุคคลใดยื่นแบบภาษีภายในกำหนดแต่ชำระภาษีไม่ครบถ้วน หรือยื่นแบบภาษีล่าช้า ละเลย หรือหลีกเลี่ยงการยื่นแบบภาษี จะต้องเสียเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามกฎหมายกำหนด และหากฝ่าฝืน หลีกเลี่ยง ไม่ยอมชำระจะต้องรับโทษทางอาญาด้วย บทลงโทษมีดังนี้
การบริหารความเสี่ยงงานบัญชี มีวิธีรับมือได้อย่างไร?
การบริหารความเสี่ยงงานบัญชี มีวิธีรับมือได้อย่างไร?
ความเสี่ยงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกองค์กรธุรกิจ เป็นโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่าหรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต และมีผลกระทบ ที่จะทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จหรือบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร ที่กำหนดไว้ งานบัญชีเป็นงานที่มีความสำคัญมากของทุกองค์กร มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลบัญชีและ การเงิน ซึ่งต้องมีความถูกต้องสำหรับผู้ประกอบการนำไปใช้ในการตัดสินใจ และมีความน่าเชื่อถือ สำหรับบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามงานบัญชีก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดข้อผิดพลาดซึ่งจะก่อ ให้เกิดความเสียหายต่อองค์กร ผู้ประกอบการจะรับมือกับความเสี่ยงในงานบัญชีได้อย่างไร บทความนี้ มีคำตอบ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม เจ้าของกิจการ เสียจริงหรือ ?
ภาษีมูลค่าเพิ่ม เจ้าของกิจการ เสียจริงหรือ ?
ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ Vat 7% ทำไมถึงต้องเก็บ ?
การรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี
การรับรองคุณภาพสำนักงานบัญชี
ภายใต้หลักการที่ว่าการจัดทำบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายและมาตรฐานการบัญชีนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่สามารถสะท้อนผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินที่แท้จริงของกิจการได้ จากการสำรวจเบื้องต้น พบว่า
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com