5 รายได้ที่ไม่ได้เกิดจากการประกอบธุรกิจโดยตรง

5 รายได้ที่ไม่ได้เกิดจากการประกอบธุรกิจโดยตรง


โดยปกติแล้วเมื่อกิจการมีรายได้เกิดขึ้น จะต้องรับรู้รายได้โดยการนำรายได้ดังกล่าวไปบันทึกบัญชี ไปคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในงบกำไรขาดทุน รายได้ที่ต้องนำไปคำนวณกำไรสุทธิมักจะได้แก่ รายได้จากการขาย รายได้จากการให้บริการ และรายได้อื่น

ปัญหาของรายได้อื่นซึ่งเป็นรายได้ที่เกิดจากผลพลอยได้จากการประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่การประกอบธุรกิจโดยตรง เป็นรายได้ทางอ้อม เช่น

1. กำไรจากการจำหน่ายทรัพย์สิน

เมื่อกิจการได้มีการนำทรัพย์สินออกจำหน่าย จะต้องนำมูลค่าตามบัญชีของทรัพย์สิน (Book Value) ซึ่งเป็นราคาทุนของทรัพย์สินหักด้วยค่าเสื่อมราคาสะสมจนถึงวันจำหน่ายทรัพย์สินนั้น นำมาหักออกจากมูลค่าที่ขายได้  หากมูลค่าที่ขายได้สูงกว่าราคาตามบัญชี ผลต่างที่เกิดขึ้นถือเป็นกำไรจากการจำหน่ายทรัพย์สิน ในทางตรงข้ามหากมูลค่าที่ขายได้ต่ำกว่าราคาตามบัญชี ผลต่างที่เกิดขึ้นถือเป็นขาดทุนจากการจำหน่ายทรัพย์สิน

2. กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

เมื่อกิจการมีผลแตกต่างของอัตราแลกเปลี่ยนเกิดขึ้นอันเนื่องจากการแปลงค่าเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย ซึ่งจะทำให้มีผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนในการรับรู้เป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีที่เกิดขึ้นในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี  เมื่อสิ้นรอบบัญชีกิจการจะต้องแปลงค่าเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทย โดยเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่รับมาหรือจ่ายไปในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี ให้ใช้วิธีการคำนวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทยตามราคาตลาดในวันที่รับมาหรือจ่ายไปนั้น

3. ดอกเบี้ยรับ

ดอกเบี้ยรับเป็นรายได้ที่อาจเกิดจากการนำเงินไปฝากธนาคาร การให้กู้ยืมเงิน หรือนำเงินของกิจการไปหาประโยชน์ เช่น นำไปซื้อพันธบัตร นำไปฝากตั๋วสัญญาใช้เงิน  ผลประโยชน์ที่ได้ก็คือ ดอกเบี้ยซึ่งต้องถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม  ข้อสังเกตอย่างหนึ่งก็คือ ดอกเบี้ยดังกล่าวไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

4. เงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไร

เมื่อกิจการได้นำเงินไปลงทุนในกิจการอื่น ต่อมากิจการนั้นมีกำไรเกิดขึ้นได้มีการจ่ายเงินปันผล เงินปันผลที่กิจการได้รับถือเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยทั่วไปแล้วเงินปันผลที่ได้รับจะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 10 ซึ่งกิจการมีสิทธินำไปเครดิตภาษีปลายปีได้ อย่างไรก็ดีเงินปันผลจะยกเว้นไม่ถือเป็นรายได้จะต้องเข้าเงื่อนไขตามมาตรา 65 ทวิ (10) แห่งประมวลรัษฎากร

5. ค่าปรับหรือดอกเบี้ยที่ผิดสัญญา

เมื่อกิจการได้มีการขายสินค้า ให้บริการ หรือซื้อสินค้า รับบริการ  แล้วมีความผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากการส่งมอบสินค้าหรือบริการ หรือเกิดการชำระเงินล่าช้า จึงได้มีการคิดค่าปรับ หรือดอกเบี้ยที่ผิดนัดผิดสัญญา  ดอกเบี้ยหรือค่าปรับดังกล่าวต้องนำมาถือเป็นเงินได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเนื่องจากไม่ใช่การขายสินค้าหรือบริการ

 
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!

ที่มา : Link

 398
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การยื่นภาษี กับ เสียภาษี เป็นคนละเรื่องกัน เราต้อง "ยื่นภาษี" เมื่อมี "รายได้ (เงินได้)" ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่เราต้อง "เสียภาษี" เมื่อคำนวณแล้ว "เงินได้สุทธิ" มีจำนวนมากกว่า 150,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี
เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น!! เราควรตรวจสอบสถานะ ผู้สอบบัญชี CPA ก่อนใช้บริการดังนี้
ยื่นภาษีย้อนหลัง ต้องเตรียมเอกสารให้พร้อม เช็กเลยมีอะไรบ้าง
กิจการขนาดเล็กมักมีข้อจำกัดเรื่องเงินทุนหมุนเวียนรวมทั้งกำลังคน การจัดวางพนักงานในหน้าที่ต่างๆจึงไม่ค่อยมีการแบ่งแยกหน้าที่ พนักงานหนึ่งคนต้องรับผิดชอบงานหลายอย่างและอย่าได้หวังว่าจะมีแผนกต่างๆเหมือนองค์กรขนาดใหญ่
ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ.30 เป็นการรับรู้รายได้ที่แตกต่างกัน โดยส่วนมากตาม ภ.ง.ด.50 หรือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT: Corporate Income Tax) จะรับรู้รายได้ตามเกณฑ์คงค้าง ส่วนภ.พ. 30 (VAT) เป็นการรับรู้รายได้ตาม Tax Point ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นไปตามหลักการรับรู้ของภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ และประเภทรายได้ที่เกิดขึ้นด้วยตามตัวอย่างที่แสดงให้ดูในตารางสรุปด้านล่าง ดังนี้
สำหรับหลักการบัญชีคู่นั้นหมายถึงการบันทึกรายการบัญชีทั้งสองด้าน ด้วยการเดบิตและเครดิตอย่างน้อยสองบัญชีขึ้นไป ด้วยการนำสมการบัญชีมาใช้ด้วยการลงทั้งสองด้านนั้นจะต้องมียอดเท่ากัน แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องมีจำนวนบัญชีที่เท่ากัน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์