ความแตกต่างของรายได้ตาม ภ.ง.ด.50 กับรายได้ ตาม ภ.พ.30

ความแตกต่างของรายได้ตาม ภ.ง.ด.50 กับรายได้ ตาม ภ.พ.30


ภ.ง.ด.50 และ ภ.พ.30
 เป็นการรับรู้รายได้ที่แตกต่างกัน โดยส่วนมากตาม ภ.ง.ด.50 หรือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT: Corporate Income Tax) จะรับรู้รายได้ตามเกณฑ์คงค้าง ส่วนภ.พ. 30 (VAT) เป็นการรับรู้รายได้ตาม Tax Point ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นไปตามหลักการรับรู้ของภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ และประเภทรายได้ที่เกิดขึ้นด้วย

ตามตัวอย่างที่แสดงให้ดูในตารางสรุปด้านล่าง ดังนี้

ประเภทรายการ

ขายสินค้า (ทั่วไป)
ภาษีเงินได้นิติบุคคล(ภงด.50) :  เกณฑ์สิทธิ์
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30)           :  เมื่อส่งมอบสินค้า


เช่าซื้อ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล(ภงด.50)  :  ตามงวดที่ถึงกำหนดชำระ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30)            :  ตามงวดที่ถึงกำหนดชำระ

ส่งออก (ทั่วไป)
ภาษีเงินได้นิติบุคคล(ภงด.50)  :  เมื่อส่งมอบหรือโอนความเสี่ยงตามตกลง
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30)            :  เมื่อผ่านพิธีศุลกากร FOB มาตรา 79 (1)

ให้บริการ (ทั่วไป)
ภาษีเงินได้นิติบุคคล(ภงด.50)  :  เกณฑ์สิทธิ์ตามส่วนของงานที่ทำเสร็จ
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30)            :  เมื่อรับชำระเงิน

เงินสนับสนุน/ช่วยเหลือ
ภาษีเงินได้นิติบุคคล(ภงด.50)  :  รับรู้เป็นรายได้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30)            :  ไม่รวมเป็นฐานภาษี

ค่าปรับ/สินไหม
ภาษีเงินได้นิติบุคคล(ภงด.50)  :  รับรู้เป็นรายได้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30)            :  ไม่รวมเป็นฐานภาษี

กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน
ภาษีเงินได้นิติบุคคล(ภงด.50)  :  รับรู้เป็นรายได้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30)            :  ไม่รวมเป็นฐานภาษี

ส่งออกสินค้า
ภาษีเงินได้นิติบุคคล(ภงด.50)  :  รับรู้รายได้ตามมาตรา 70 ตรี
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30)            :  ส่งออกอัตรา 0

ขายทรัพย์สินเก่า
ภาษีเงินได้นิติบุคคล(ภงด.50)  :  ​รับรู้เฉพาะส่วนที่เป็นกำไร
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30)            :  รับรู้ VAT ทั้งจำนวน

แจกสินค้า
ภาษีเงินได้นิติบุคคล(ภงด.50)  :  ถือเป็นรายจ่าย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30)            :  รับรู้ VAT

ดอกเบี้ย/เงินปันผล
ภาษีเงินได้นิติบุคคล(ภงด.50)  :  รับรู้เป็นรายได้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30)            :  ไม่รวมเป็นฐานภาษี






ขอบคุณบทความจาก :: Ddproperty
ประกาศบทความโดย :: www.prosofterp.com
 2057
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การคำนวณต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของระบบบัญชีและการเงินของกิจการ เป็นการบันทึกการวัดผลและรายงานข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนของสินค้าของกิจการ โดยทั่วไปการคำนวณต้นทุนจะใช้เวลาและลงรายละเอียดมากในกิจการที่ผลิตสินค้า แต่ไม่ได้หมายความว่ากิจการประเภทอื่นเช่นกิจการขายส่ง ขายปลีก ร้านอาหารหรือบริการต่างๆไม่มีความสำคัญในการที่ต้องคำนวณต้นทุนเลย การคำนวณต้นทุนสามารถนำไปใช้ได้ในทุกกิจการเพราะมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการธุรกิจดังนี้
การเปิดสำนักงานบัญชีถือเป็นหนึ่งในธุรกิจที่เป็นที่ผู้ทำงานในวิชาชีพบัญชีหลายๆ ท่านกำลังให้ความสนใจ เพราะธุรกิจนี้เริ่มได้ง่ายๆ ทำเงินได้สม่ำเสมอ และที่สำคัญ Demand ความต้องการของผู้ทำบัญชีนั้นนับวันก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ตามจำนวนนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย 
สิ่งสำคัญต่อไปที่ต้องทำในการจัดระบบบัญชีเพื่อการจัดการ คือการเลือกหาโปรแกรมบัญชีที่เหมาะสมกับธุรกิจของเรามาใช้ เพื่อความมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ประหยัดคนและประหยัดเวลา การเลือกโปรแกรมบัญชี ท่านจะต้องเปิดโอกาสให้ทีมงานที่เกี่ยวข้องของท่านได้มีส่วนร่วมในการสรรหาด้วยเพราะเคยเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆว่าผู้บริหารเป็นผู้เลือกและตัดสินใจพอซื้อเสร็จก็โยนให้ฝ่ายบัญชีไปใช้ปรากฎว่าฝ่ายบัญชีรู้สึกว่าถูกบังคับก็เลยเกิดการต่อต้านหรือเกิดความไม่ชอบและไม่ให้ความร่วมมือจนในที่สุดก็กลายเป็นความล้มเหลว ปัจจัยที่จะต้องพิจารณาในการเลือกโปรแกรมบัญชีมีดังนี้
ค่าแรงงาน หมายถึง ค่าจ้าง (Wages) และเงินเดือน (Salaries) ที่กิจการจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ในการจ่ายค่าจ้างอาจจ่ายเป็นรายชั่วโมง (Hourly) รายวัน (Daily) หรือตามหน่วยที่ผลิตได้ (Piecework) ส่วนเงินเดือนมักจะจ่ายเดือนละครั้ง
เชื่อว่ามีหลายคนเลยทีเดียวที่คิดว่า ภาษีที่ดินกับภาษีบำรุงท้องที่เป็นภาษีชนิดเดียวกัน เพียงแต่มีคนเรียกให้ต่างกันเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ภาษีทั้งสองชนิดแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และด้วยความเข้าใจที่ผิดเพี้ยนไปนี้เอง ทำให้หลายคนไม่รู้ว่าตนเองต้องจ่ายภาษีอะไรกันแน่ ยิ่งถ้าหากเป็นเจ้าของที่ดิน นายหน้า และเหล่านักอสังหาริมทรัพย์ ยิ่งต้องแยกให้ออกว่า ระหว่างภาษีทั้งสองประเภทต่างกันอย่างไร ที่สำคัญคือ ภาษีเหล่านี้ใน พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์