ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย



การหักภาษี ณ ที่จ่าย แบ่งจากผู้รับเงินได้เป็น 2 ประเภท คือ

  • 1. บุคคลธรรมดา : ใช้แบบ ภ.ง.ด.3 2. นิติบุคคล : ใช้แบบ ภ.ง.ด.53

กรณีบุคคลธรรมดา ต้องมีเอกสารประกอบการบัญชี ดังนี้

  • ใบสำคัญจ่าย
  • หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (สำหรับค่าบริการ 1,000 บาท ขึ้นไป)
  • สลิปการโอนเงิน (กรณีโอนจ่าย)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ผู้ถูกหัก) โดยต้องเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมระบุจำนวนเงินที่ได้รับจากบริษัทนั่นๆค่ะ

1. ใบสำคัญจ่าย เช่น ค่าบริการ ต้องมี

  • ชื่อ “คนรับ“ ที่ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนิติบุคคลจ่ายให้
  • จำนวนเงินค่าบริการ
  • จำนวนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
  • ยอดที่ต้องจ่ายจริง

2. หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ( สำหรับค่าบริการ 1,000 บาท ขึ้นไป )

  • **สำหรับ ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนิติบุคคล ที่หักก่อนจ่าย มีหน้าที่ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ให้กับผู้ถูกหัก และต้องนำส่งภาษีเงินได้นี้ ให้กับกรมสรรพากร จึงจะถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายรัษฎากร เพราะถ้าหากไม่ทำ ไม่นำส่ง ค่าใช้จ่ายนี้สามารถเบิกเป็นค่าใช้จ่ายบริษัทได้ แต่ในทางภาษีจะไม่สามารถนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) ของปีนั้นๆได้ ทั้งนี้จะถูกบวกกลับในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล ทำให้กำไรทางภาษีมากขึ้น และเสียภาษีมากขึ้น

3. สลิปการโอนเงิน (กรณีโอนจ่ายผ่าน Mobile Banking) **จ่ายเป็นเงินสด ก็ไม่ต้องแนบ**

4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ผู้ถูกหัก) โดยต้องเซ็นรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมระบุจำนวนเงินที่ได้รับจากบริษัทนั้นๆค่ะ

ข้อสรุป ***ก่อนจ่ายเงินได้ให้กับคนรับ อย่าลืม!หักก่อนจ่าย และที่สำคัญ*หักไว้แล้วต้องนำส่งกรมสรรพากรด้วยนะคะ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!



ที่มา : Link

 1614
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

โดยปกติแล้วเมื่อกิจการมีรายได้เกิดขึ้น จะต้องรับรู้รายได้โดยการนำรายได้ดังกล่าวไปบันทึกบัญชี ไปคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในงบกำไรขาดทุน รายได้ที่ต้องนำไปคำนวณกำไรสุทธิมักจะได้แก่ รายได้จากการขาย รายได้จากการให้บริการ และรายได้อื่น
ในการประกอบธุรกิจ อาจจะมีเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกันทางธุรกิจ ทำให้บริษัทต้องตั้งประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหนี้สินที่อาจจะเกิดขึ้นเหล่านี้มักจะถูกบันทึกบัญชี เดบิต ค่าใช้จ่าย และเครดิต หนี้สินหลายท่านจึงมีคำถามในใจว่า แล้วค่าใช้จ่ายเกิดจากการประมาณการหนี้สินที่อาจเกิดขึ้นเหล่านี้ สามารถรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้มั้ย หรือจะต้องบวกกลับทางภาษีเวลาที่คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลก่อนที่จะตอบคำถามประเด็นค่าใช้จ่ายทางภาษี อาจจะต้องเริ่มต้นทำความเข้าใจที่มาที่ไปของรายการนี้ในทางบัญชีกันก่อน
เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น!! เราควรตรวจสอบสถานะ ผู้สอบบัญชี CPA ก่อนใช้บริการดังนี้
สมุห์บัญชีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จะต้องตรวจสอบอยู่เสมอว่า บัญชีย่อยเจ้าหนี้จะมียอดรวมตรงกับบัญชีคุมยอดเจ้าหนี้การค้า...
คำว่า “บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้” คือ ใครก็ตามที่ทำงานและมีรายได้ กรมสรรพากรกำหนดไว้ว่า หากมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษี จะต้องทำการ “ยื่นแบบแสดงรายการภาษี” ไม่ว่ารายได้นั้นจะมาจากเงินเดือน รายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน รายได้ที่เป็นปันผลจากการลงทุน ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร รายได้จากการรับจ๊อบเสริม หรือรายได้จากการทำธุรกิจต่าง ๆ โดยกำหนดการยื่นภาษีจะถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
ไม่ว่าจะเป็นกิจการเล็กหรือใหญ่คงหนีไม่พ้นที่จะมีค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ ที่ต้องจ่ายจากเงินสด ระบบควบคุมภายในที่เกี่ยวกับเงินสด จะช่วยให้เราสามารถจัดการกับเงินสดได้โดยไม่ทำให้เกิดจุดอ่อนที่อาจก่อให้เกิดการรั่วไหลได้ ฉะนั้น การใช้จ่ายโดยผ่านระบบของเงินสดย่อยจึงจำเป็นอย่างช่วยไม่ได้ เงินสดย่อย Petty Cash Fund คือ เงินสดที่มีไว้ใช้จ่าย สำหรับค่าใช้จ่ายในจำนวนเงินที่เล็กๆ น้อยๆ และเป็นรายการที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ในลักษณะที่ว่าไม่สะดวกพอที่จะจ่ายเป็นเช็ค สำหรับผู้ที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับเงินสดย่อย เราเรียกง่าย ๆ ว่า 

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์