ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.94

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.94


ทำไมต้องยื่นภาษีครึ่งปี?

เคยสงสัยหรือไม่ว่าเรามีเงินได้เข้ามา เรายื่นภาษีทุกปีอยู่แล้วทำไมต้องมายื่นเสียภาษีครึ่งปีอีก? ก็เพราะไม่ใช่ ทุกคนที่เป็นมนุษย์เงินเดือน บางคนเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว บ้างขายของออนไลน์ หรือแม้กระทั่งให้เช่าตึกแถว เป็นต้น เงินได้แต่ล่ะทางที่เราได้มาเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทต่างๆตามที่กฎหมายกำหนด แต่ก็ไม่ใช่เงินได้ ทุกประเภทที่ต้องเสียภาษีครึ่งปีหรอกนะ จะมีแค่เงินได้บางประเภทเท่านั้นที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีครึ่งปี การเสียภาษีครึ่งปีนี้ถือเป็นการบรรเทาภาระภาษีเพราะถ้าหากไม่มีการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.94 จะต้อง ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและชำระภาษีเป็นเงินจำนวนมาก ทำให้เป็นภาระสำหรับผู้มีเงินได้

การเสียภาษีบุคคลธรรมดา นอกจากการยื่นภาษีประจำปีแล้ว ยังมีเงินได้อีกกลุ่มที่ต้องเสียภาษีกลางปีผ่านการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงกันยายนด้วย

แบบ ภ.ง.ด.94   : แบบแสดงรายการเพื่อยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับรายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือนตั้งแต่เดือน มกราคม – มิถุนายน  เมื่อยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 นี้แล้วเมื่อถึงปลายปีจะต้องคำนวณภาษีเงินได้ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม  และยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 อีกครั้ง โดยนำยอดภาษีที่ได้ชำระแล้วตามแบบ ภ.ง.ด.94 มาหักออก

ผู้ที่ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 : บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้ตามมาตรา 40(5) – (8) ซึ่งได้แก่

มาตรา 40(5) เงินได้จากการให้เช่าทรัพย์สินต่างๆ เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ เป็นต้น
มาตรา 40(6) เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เช่น วิชากฎหมาย การประกอบโรคศิลป์ วิศวกรรม  สถาปัตยกรรม การบัญชี ประณีตศิลปกรรม
มาตรา 40(7) เงินได้จากการรับเหมาที่ต้องจัดหาสัมภาระที่สำคัญนอกเหนือจากเครื่องมือ
มาตรา 40(8) เงินได้ที่นอกเหนือจากเงินได้มาตรา 40(1) – (7) เช่น รายได้จากธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม ขนส่งและการอื่น

การหักค่าใช้จ่าย  : สามารถเลือกหักได้  2 วิธี คือ

1.หักค่าใช้จ่ายจริงตามความจำเป็นและสมควร (ต้องมีเอกสารและหลักฐานครบ)

2. หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา อัตราจะแตกต่างไปตามเงินได้ตามมาตรา 40(5) – (8) เช่น มาตรา 40(6)  เงินได้จากวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลป์หักค่าใช้จ่ายได้ ร้อยละ 60  ส่วนวิชาชีพอิสระอื่นๆ หักได้ ร้อยละ 30

การหักค่าลดหย่อน : สามารถหักได้ครึ่งหนึ่งตามสิทธิ์

เวลายื่นแบบ ภ.ง.ด.94 : ช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายนของทุกปี

ความผิดหากไม่ยื่นแบบและชำระภาษี  : หากบุคคลธรรมดาไม่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 และชำระภาษีจะมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และคิดเงินส่วนเพิ่ม 1.5% ของภาษีที่ค้างจ่ายเป็นรายเดือน

ยื่นแบบฯ ผ่านทางอินเทอร์เน็ตตามโครงการ “ทำธุรกรรมภาษีที่บ้าน” (TAX from Home) จะช่วยให้การทำธุรกรรมภาษีเป็นเรื่องง่ายที่ www.rd.go.th ทั้งการลงทะเบียน ( e-Registration ) การยื่นแบบฯ และนำส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง ( e-Filing ) การชำระภาษี ( e-Payment ) ที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย”


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

 

ที่มา : กองบรรณาธิการ www.dharmniti.co.th,กรมสรรพากร

 589
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ต้นทุนผันแปร และต้นทุนคงที่คำว่า “คงที่” (Fixed) และ “ผันแปร” (Variable) ใช้เพื่ออธิบายว่าต้นทุนจะผันแปรไปอย่างไร เมื่อกิจกรรมเปลี่ยนแปลงไปต้นทุนผันแปร  เป็นต้นทุนซึ่งมีจำนวนรวมที่ผันแปรไปเป็นสัดส่วนโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรม ปริมาณกิจกรรมดังกล่าวได้แก่ หน่วยของสินค้าที่ผลิตขาย ชั่วโมงแรงงาน ชั่วโมงเครื่องจักร ตัวอย่างของต้นทุนผันแปร ได้แก่ วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง วัสดุสิ้นเปลือง เป็นต้น
การเงินนับว่าเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจ ถ้าอยากรู้ว่าธุรกิจเราแข็งแรงดีหรือไม่ เราก็สามารถตรวจเช็กได้จากสถานการณ์เงินของบริษัท แต่ผู้ประกอบการโดยส่วนใหญ่อาจจะละเลยและให้ความสำคัญด้านการเงินน้อยกว่าด้านการตลาด เพราะคิดว่าถ้าขายของได้เดี๋ยวเงินก็จะมาเอง ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด จริงๆ ผู้ประกอบการควรดูงบการเงินเป็น หรืออย่างน้อยใน 5 ตัวที่ต้องโฟกัสกับมัน
มีผู้ประกอบการหลายท่านที่ทำเอกสารต่างๆเอง ยื่นภาษีเอง มีความรู้ทางด้านภาษีเป็นอย่างดี และไม่อยากเสียเงินจ้างนักบัญชี และก็มีคำถามมาตลอดว่าสามารถทำบัญชีเองได้รึป่าว วันนี้แอดเลยสรุปให้ง่ายๆฉบับนักบัญชียุคใหม่
ภายใต้หลักการที่ว่าการจัดทำบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายและมาตรฐานการบัญชีนั้น เป็นสิ่งสำคัญที่สามารถสะท้อนผลการดำเนินงานและฐานะทางการเงินที่แท้จริงของกิจการได้ จากการสำรวจเบื้องต้น พบว่า
ธุรกิจขนส่งเสียภาษีอะไร เป็นคำถามที่ผู้เริ่มต้นธุรกิจขนส่งมักสงสัยอยู่ตลอด ซึ่งตามความหมายของคำว่าการขนส่งก็คือ การขนคนหรือขนของส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง ซึ่งจะต้องประกอบธุรกิจขนส่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้น จะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% จากผู้ว่าจ้างที่เป็นนิติบุคคล ไม่ว่ากิจการขนส่งจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ตาม
ส่วนลด (Discount) หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ขายยอมลดให้กับผู้ซื้อ ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดของผู้ขาย ในการจูงใจให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้า หรือจูงใจให้ผู้ซื้อสินค้าปริมาณมาก หรือเพื่อจูงใจให้ลูกค้าที่ซื้อสินค้าเป็นเงินเชื่อมาชำระหนี้เร็วขึ้นในการดำเนินธุรกิจซื้อ-ขายสินค้านั้น มักจะให้ส่วนลดแก่ผู้ซื้อใน 2 ลักษณะคือ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์