sale@onlinesoft.co.th
02-402-6117
,
081-359-6920
Menu
Home
Products
Sales Order - ระบบขาย
Purchase Order - ระบบจัดซื้อ
Accounts Receivable - ระบบบัญชีลูกหนี้
Accounts Payable - ระบบบัญชีเจ้าหนี้
Inventory Control - ระบบสินค้าคงเหลือ
General Ledger - ระบบบัญชีแยกประเภท
Financial Management - ระบบงบการเงิน
Budget Control - ระบบควบคุมงบประมาณ
Cheque and Bank - ระบบเช็คและธนาคาร
Import & Export - ระบบนำเข้าและส่งออกข้อมูล
Multi-Currency - ระบบอัตราแลกเปลี่ยนสกุล
Value Added Tax - ระบบภาษี
Audit & Internal Control - ระบบตรวจสอบและควบคุมภายใน
Fixed Assets - ระบบคำนวณค่าเสื่อมราคา
Payroll - ระบบคำนวณเงินเดือน
ESS ระบบลาออนไลน์
Services
จองอบรม Online
วีดีโอสอนการใช้งาน
คู่มือการใช้งาน
คำถามที่พบบ่อย FAQs
บริการ Maintenance
วิธีการชำระเงิน
Download Brochure
ข้อเสนอแนะโปรแกรม
Partners
โครงการ Partners สำนักงานบัญชี
ลูกค้าอ้างอิง
News
ข่าวสาร
บทความบัญชี
บทความบริหาร
About Us
เกี่ยวกับเรา
แนวคิดการบริหาร
Office Location
ร่วมงานกับเรา
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
ทดลองใช้งาน
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
5 เทคนิครับรู้รายได้ตามมาตรฐานใหม่ สำหรับ PAE และ NPAE
5 เทคนิครับรู้รายได้ตามมาตรฐานใหม่ สำหรับ PAE และ NPAE
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News
บทความบัญชี
5 เทคนิครับรู้รายได้ตามมาตรฐานใหม่ สำหรับ PAE และ NPAE
5 เทคนิครับรู้รายได้ตามมาตรฐานใหม่ สำหรับ PAE และ NPAE
ย้อนกลับ
ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงสำหรับการรับรู้รายได้สำหรับมาตรฐานการบัญชี ตามที่สภาวิชาชีพบัญชีได้ออกประกาศ
สภาวิชาชีพบัญชีที่ 6/2561 เรื่อง มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 เรื่อง รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า
ซึ่งมีการบังคับใช้มาระยะหนึ่งแล้วตั้งแต่ต้นปี 2562 ที่ผ่านมา
โดยมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ แม้ว่าจะเป็นมาตรฐาน
การบัญชีสำหรับผู้ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน (PAE) ก็ตาม แต่ในหลักคิดหรือแนวทางการพิจารณา
เงื่อนไขการรับรู้รายได้นั้น นักบัญชีที่ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ
(NPAE) สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากเนื้อหาสาระส่วนใหญ่ของมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้
กำหนดแนวทางสำหรับการรับรู้รายได้จากเงื่อนไขและกรณีต่างๆ เพื่อให้สามารถระบุจุดหรือภาระงานใดๆ ก็ตาม
ที่มีการกำหนดให้ปฏิบัติให้เสร็จสิ้นตามข้อตกลงที่ทำไว้กับลูกค้าเป็นหลัก ซึ่งหากพิจารณาเทียบเคียงและ
ประกอบกับมาตรฐานชุด NPAE จะเป็นเรื่องของการพิจารณาขยายความให้ชัดเจนขึ้นถึงสถานการณ์หรือเหตุการณ์
แวดล้อมที่ทำให้เชื่อได้ว่าสามารถระบุจุดที่สามารถรับรู้รายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชีดังกล่าวเป็นการยกเลิกมาตรฐานการบัญชีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้รายได้หลาย
ฉบับและมีผลกระทบต่อธุรกิจในวงกว้าง ซึ่งแนวทางในการรับรู้รายได้ตามแนวทางใหม่นี้จะมีกรอบขั้นตอนที่
กำหนดไว้จำนวน 5 ข้อ ประกอบด้วย
1. การระบุสัญญาที่ทำกับลูกค้า
พิจารณาจากประวัติของกิจการและในอุตสาหกรรมว่ามีความจำเป็นต้องมี
สัญญาหรือไม่ ซึ่งข้อตกลงมีเป็นจำนวนมากหรือรายละเอียดมีความซับซ้อน ควรกำหนดเป็นสัญญา เพื่อให้
สามารถอ้างอิงได้
2. การระบุภาระที่ต้องปฏิบัติตตามสัญญา
ประเด็นนี้เป็นสิ่งที่ต้องทราบว่ามีข้อตกลงอะไรกับลูกค้าบ้าง
ซึ่งจำเป็นต้องระบุเหตุการณ์หรือกิจกรรมนั้นให้ได้เป็นรูปธรรมชัดเจน โดยปกติต้องอ้างอิงจากเอกสารที่
เกี่ยวข้องได้ซึ่งควรรวมถึงการลงนามในเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องพร้อมวันที่ด้วย
3. กำหนดราคาของรายการ
ฝ่ายจัดการและฝ่ายขายควรกำหนดให้มีตารางราคาขายหรือเอกสารอื่น เช่น
Price List ที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าหรือมีการอนุมัติราคาขายกลางล่วงหน้า ซึ่งควรมีข้อกำหนดของส่วนลดหรือ
วิธีการให้ส่วนลดไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้เข้าใจถึงการพิจารณาราคาขายในรูปแบบการขายหรือให้บริการใน
รูปแบบต่างๆ
4. การปันส่วนราคาของรายการให้กับแต่ละภาระที่ต้องปฏิบัติแล้วเสร็จ
ในบางกรณี เมื่อมีการต่อรองจาก
ลูกค้าจำเป็นต้องคำนึงถึงการปรับปรุงเพิ่มลดราคาและข้อกำหนดที่อาจมีขึ้นในการเจรจาต่อรองนั้นๆ ซึ่งฝ่ายที่
เกี่ยวข้องต้องอนุมัติเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามนโยบายการขายหรือให้บริการ และจะปิดการขายด้วย
การกำหนดว่าจะมีเงื่อนไขที่อาจมีขึ้นอย่างไร ข้อตกลงหรือเงื่อนไขดังกล่าวนี้เป็นเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติให้
แล้วเสร็จซึ่งจะควบคู่ไปกับราคาขายขั้นสุดท้าย
5. การรับรู้รายได้เมื่อกิจการปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติแล้วเสร็จ
ในข้อนี้ถือเป็นแนวทางที่ทำได้ง่ายที่สุด
คือ การสรุปว่าภารกิจที่ปฏิบัติตามภาระนั้นสำเร็จเสร็จสิ้นหรือไม่ เพียงแต่ต้องแน่ใจให้ได้ว่ามีการรวบรวมหลักฐาน
เพื่อประกอบการรับรู้รายได้อย่างครบถ้วนเพียงพอ
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!
ที่มา : วารสาร :
CPD&ACCOUNT
ตุลาคม 2562
870
ผู้เข้าชม
บทความที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนการจ่ายภาษีของบริษัทนิติบุคคล
ขั้นตอนการจ่ายภาษีของบริษัทนิติบุคคล
ธุรกิจนิติบุคคลหรือการดำเนินธุรกิจที่มีเจ้าของกิจการอยู่รวมกันมากกว่า หนึ่งคนขึ้นไปนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในรูปลักษณะของบริษัททั่วไปทั้งธรรมดาและมหาชน ห้างหุ้นส่วนจำกัด กิจการร่วมค้า มูลนิธิหรือสมาคม ฯลฯ ที่ได้ไปทำการขึ้นจดทะเบียนไว้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายกับทางหน่วยงานราชการ
กรณีที่จะขอหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายมีเอกสารอะไรบ้าง
กรณีที่จะขอหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายมีเอกสารอะไรบ้าง
กรณีที่จะขอหนังสือรับรองการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายมีเอกสารอะไรบ้าง
เกณฑ์คงค้างและเกณฑ์เงินสดทางบัญชี
เกณฑ์คงค้างและเกณฑ์เงินสดทางบัญชี
ในการทำงบการเงินนั้น นิยมใช้เกณฑ์ในการกำหนดและในแม่บทการบัญชีระบุไว้ 2 แบบคือ
ข้อสมมุติทางการบัญชีไว้ในแม่บทการบัญชี
ข้อสมมุติทางการบัญชีไว้ในแม่บทการบัญชี
ผู้ใช้ข้อมูลทางการบัญชีมีหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารกิจการ เจ้าหนี้ นักลงทุน หน่วยงานของรัฐบาล หรืออื่น ๆ ซึ่งในบางครั้งบุคคลที่ใช้ข้อมูลทางการบัญชีเหล่านี้มีความต้องการที่จะใช้ข้อมูลทางการบัญชีในทิศทางที่แตกต่างกัน เช่น ผู้บริหารต้องการแสดงผลการดำเนินงานที่มีกำไรน้อยกว่าความเป็นจริงหรือขาดทุน เพื่อที่จะได้เสียภาษีน้อยลง หรือไม่เสียภาษีเลย ในทางตรงกันข้ามกรมสรรพากรซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีก็ต้องการให้แสดงข้อมูลตามความเป็นจริง เพื่อจะได้จัดเก็บภาษีได้อย่างถูกต้อง รัฐบาลจะได้นำเงินมาพัฒนาประเทศต่อไป
การเฉลี่ยภาษีซื้อ คืออะไร
การเฉลี่ยภาษีซื้อ คืออะไร
การเฉลี่ยภาษีซื้อ คือ การปันส่วนภาษีซื้อของกิจการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีรายได้จากธุรกิจ VAT และ NON VAT ซึ่งภาษีซื้อที่เกิดขึ้นมาจากการได้สินค้าหรือบริการ มาใช้ในกิจการที่ไม่สามารถจำแนกได้ว่าใช้ในธุรกิจ VAT หรือ NON VAT
การจัดทำงบประมาณ และบัญชีการเงิน สำหรับ นิติบุคคล
การจัดทำงบประมาณ และบัญชีการเงิน สำหรับ นิติบุคคล
ในทุกปี คณะกรรมการนิติบุคคลฯ จะมีการประชุมประจำปี วาระหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ การขออนุมัติงบประมาณประจำปี ในการจัดทำงบประมาณจะประกอบด้วย
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com