รับ-จ่าย เงินปันผล และผลทางภาษี

รับ-จ่าย เงินปันผล และผลทางภาษี


เงินปันผล (dividend) เป็นค่าตอบแทนที่บริษัทจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งมักเป็นการกระจายกำไร เมื่อบริษัทได้กำไรหรือส่วนเกิน บริษัทสามารถนำไปลงทุนในธุรกิจต่อ (เรียก กำไรสะสม) หรือสามารถจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นก็ได้ บริษัทอาจสงวนกำไรหรือส่วนเกินส่วนหนึ่ง และจ่ายส่วนที่เหลือเป็นเงินปันผล การจ่ายแก่ผู้ถือหุ้นอาจเป็นรูปเงินสด (มักเป็นการฝากเข้าบัญชีธนาคาร) หรือหากบริษัทมีแผนนำเงินปันผลไปลงทุนต่อ ปริมาณค่าตอบแทนอาจจ่ายเป็นรูปหุ้นเพิ่มหรือการซื้อหุ้นคืนได้เงินปันผลจัดสรรในปริมาณต่อหุ้นตายตัว โดยผู้ถือหุ้นจะได้รับเงินปันผลเป็นสัดส่วนกับการถือหุ้น สำหรับบริษัทร่วมทุน การจ่ายเงินปันผลไม่เป็นค่าใช้จ่าย แต่เป็นการแบ่งรายได้หลังหักภาษีกันของผู้ถือหุ้น กำไรสะสมแสดงในส่วนส่วนของผู้ถือหุ้น (shareholder equity) ในงบดุลของบริษัท เช่นเดียวกับหุ้นทุนที่นำออกจำหน่ายบริษัทมหาชนมักจ่ายเงินปันผลตามกำหนดเวลาตายตัว แต่อาจประกาศเงินปันผลเมื่อใดก็ได้ บางครั้งเรียก เงินปันผลพิเศษ เพื่อแยกกับเงินปันผลตามเวลาตายตัว ตรงข้ามกับสหกรณ์ซึ่งจ่ายเงินปันผลตามกิจกรรมของสมาชิก ฉะนั้นเงินปันผลของสหกรณ์จึงมักจัดเป็นค่าใช้จ่ายก่อนหักภาษี


โดยทั่วไป การจ่ายเงินปันผลจะจ่ายเป็นเงินไม่ว่าจะกระทำในรูปของเช็คหรือการโอนเงินปันผลเข้าบัญชีของผู้ถือหุ้นแต่ละคนโดยตรง(E-Dividend) แต่บริษัทอาจจ่ายเงินปันผลเป็นทรัพย์สินอย่างอื่นก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจ่ายเป็นหุ้นของบริษัทหรือบริษัทในเครือ กล่าวคือโดยการออกหุ้นโบนัสให้แก่ผู้ถือหุ้น ในกรณีเช่นนี้บริษัทจะต้องดำเนินการเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่และโอนเงินกำไรเท่ากับมูลค่าของหุ้นโบนัสเข้าบัญชีทุนของบริษัท ทั้งนี้ แม้บริษัทจะยังค้างจ่ายเงินปันผลอยู่ ผู้ถือหุ้นก็จะคิดดอกเบี้ยเอาแก่บริษัทมิได้2ในทางปฏิบัติ เงินปันผลเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายประเภท โดยผู้เขียนมีกรอบการนำเสนอดังนี้

1. เงินปันผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2. เงินปันผลตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535
3. เงินปันผลที่เกี่ยวข้องกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
4. เงินปันผลที่เกี่ยวข้องกับภาษีเงินได้นิติบุคคล
5. เงินปันผลที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายลำดับรองตามประมวลรัษฎากร
6. เงินปันผลที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520



Click Download รายละเอียด รับ-จ่าย เงินปันผล และผลทางภาษี



สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!
 463
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำบัญชีนั้น ต้องใช้เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี ได้แก่ บิลซื้อ และบิลขาย ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะให้เอกสารตัวจริงทั้งหมดกับกับผู้ทำบัญชีหรือสำนักงานบัญชี ทั้งหมดนี้เราต้องขอคืนจากผู้ทำบัญชีทั้งหมดกลับมา
ต้นทุนผันแปร และต้นทุนคงที่คำว่า “คงที่” (Fixed) และ “ผันแปร” (Variable) ใช้เพื่ออธิบายว่าต้นทุนจะผันแปรไปอย่างไร เมื่อกิจกรรมเปลี่ยนแปลงไปต้นทุนผันแปร  เป็นต้นทุนซึ่งมีจำนวนรวมที่ผันแปรไปเป็นสัดส่วนโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรม ปริมาณกิจกรรมดังกล่าวได้แก่ หน่วยของสินค้าที่ผลิตขาย ชั่วโมงแรงงาน ชั่วโมงเครื่องจักร ตัวอย่างของต้นทุนผันแปร ได้แก่ วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง วัสดุสิ้นเปลือง เป็นต้น
นอกจากใบเสร็จรับเงิน หรือบิลเงินสด ที่ใช้เป็นหลักฐานว่าได้จ่ายเงินให้กับผู้ขายแล้วนั้น ยังมีเอกสารอื่นที่ใช้ได้ก็คือ ใบสำคัญรับเงินและใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงินนั่นเอง
การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของผู้ที่จ่ายเงินส่วนผู้ที่รับเงินได้นั้นจะเป็นผู้ที่ถูก โดยหากมีการหักภาษี ณ. ที่จ่ายกับจะใช้แบบยื่น ภ.ง.ด.3 แต่หากหักกับนิติบุคคลจะใช้แบบยื่น ภ.ง.ด.53 ใบบทความนี้เราจะพูดถึงการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่เป็นนิติบุคคลกัน
ภ.ง.ด.50 เป็นแบบภาษีที่เอาไว้ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลตอนปลายปี ส่วน ภ.ง.ด.51 เป็นแบบภาษีที่เอาไว้ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลตอนกลางปี

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์