ปิดบัญชี ประจำปี จัดทำงบการเงิน

ปิดบัญชี ประจำปี จัดทำงบการเงิน



การปิดบัญชี คือ การทำให้ตัวเลขในบัญชีตรงกับความเป็นจริง บัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายจะถูกปิดยอดคงเหลือ โอนไปบัญชีกำไรขาดทุน และยอดคงเหลือของบัญชีกำไรขาดทุนจะโอนไปยังบัญชีทุนพร้อมๆ กับยอดคงเหลือของบัญชี ถอนใช้ส่วนตัว  กิจการสามารถพิสูจน์ความถูกต้องของยอดคงเหลือจากบัญชีแยกประเภทได้โดยการทำงบทดลอง หลังปิดบัญชี            

การปิดบัญชี (Closing  Entries)  หมายถึง  การโอนบัญชีที่เกี่ยวข้องกับบัญชีทุน  ซึ่งเป็นบัญชีชั่วคราว ได้แก่บัญชีถอนใช้ส่วนตัว บัญชีรายได้ และบัญชีค่าใช้จ่าย ไปยังบัญชีทุน  เพื่อหายอดคงเหลือของบัญชีทุนที่ถูกต้อง  ณ วันสิ้นงวดบัญชี รวมทั้งการหายอด คงเหลือ ของบัญชีสินทรัพย์ และหนี้สิน  ซึ่งหลังจากทำการปิดบัญชีแล้ว บัญชีที่เหลืออยู่ ได้แก่ บัญชีสินทรัพย์  บัญชีหนี้สิน  และบัญชีทุน  เพื่อยกไปยังงวดบัญชีถัดไป

การ ปิดบัญชี มีกี่ประเภท

การปิดบัญชี ประจำวัน คือ การปิดบัญชีในสมุดเงินสดทุกสิ้นวัน เพื่อทราบจำนวนเงินสดในบัญชีทุกวัน

การปิดบัญชี ประจำเดือน คือ การปิดบัญชี ในสมุดเงินสด สมุดซื้อสินค้า สมุดขายสินค้า  รายการภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย สมุดรายได้ค่าบริการ สมุดรายได้ขายสินค้า ค่าใช้จ่ายประจำเดือน ค่าใช้จ่ายอื่น ค่าธรรมเนียมต่างๆ โดยผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท เพื่อจัดทำงบทดลอง

การปิดบัญชี ประจำปี คือ การปิดบัญชีทุกบัญชีในสมุดรายวันแยกประเภท ภายหลังจากได้รับมีการปรับปรุงรายการ รับรู้รายได้ ค่าใช้จ่ายในงวด มีการบันทึกค่าเสื่อมราคา ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อประมาณการด้อยค่าของสินค้าคงเหลือ เพื่อจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น หมายเหตุประกอบงบการเงิน

ปิดบัญชี ประจำปี จัดทำงบการเงิน​ : ขั้นตอนในการปิดบัญชี

การปิดบัญชีจะบันทึกตามหลักการบัญชีปกติ  คือ  จะทำการบันทึกในสมุดรายวันทั่วไปแล้วผ่านไปยังบัญชีแยกประเภทดังนี้

 1.  บันทึกรายการปิดบัญชีประเภทรายได้และประเภทค่าใช้จ่ายในสมุดรายวันทั่วไป 

 2.  ผ่านรายการปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป  ไปยังบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง  การปิดบัญชีมีขั้นตอนดังนี้

 ขั้นตอนที่  1  บันทึกรายการปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป

                          1.1  บันทึกรายการปิดบัญชีในหมวดรายได้เข้าบัญชีกำไรขาดทุน 
                          1.2  บันทึกรายการปิดบัญชีในหมวดค่าใช้จ่ายเข้าบัญชีกำไรขาดทุน 
                          1.3  บันทึกรายการปิดบัญชีกำไรขาดทุนเข้าบัญชีส่วนของเจ้าของ(ทุน)
                          1.4  บันทึกรายการปิดบัญชีถอนใช้ส่วนตัวหรือเงินถอนเข้าบัญชีทุน

 ขั้นตอนที่  2  ผ่านรายการปิดบัญชี  จากสมุดรายวันทั่วไปไปยังสมุดแยกประเภททั่วไป

 ขั้นตอนที่  3  การปิดบัญชีทรัพย์สิน  หนี้สินและส่วนของเจ้าของ  ในสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป

 ขั้นตอนที่  4  การจัดทำงบทดลองหลังการปิดบัญชี

 ขั้นตอนที่  5  ปรับปรุงรายการตอนสิ้นงวด เช่น รายได้รับล่วงหน้า / ค้างรับ ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า / ค้างจ่าย หนี้สงสัญจะสูญ วัสดุสิ้นเปลอง ค่าเสื่อมราคา

 ขั้นตอนที่  6  การจัดทำงบทดลองหลังปรับปรุงรายการ

 ขั้นตอนที่  7 จัดทำงบการเงิน

ปิดบัญชี ประจำปี จัดทำงบการเงิน : การปิดรายได้ ค่าใช้จ่าย

ปิดบัญชี รายได้ และ ค่าใช้จ่าย เข้าบัญชี ต้นทุนการขาย ต้นทุนการผลิต ต้นทุนบริการ และบันทึกวัตถุดิบสิ้นปี

 DR    ต้นทุนการผลิต
           สินค้า / วัตถุดิบปลายปี
           ส่งคืนสินค้า /วัตถุดิบ
           ส่วนลดรับสินค้า /วัตถุดิบ
              CR  สินค้า / วัตถุดิบต้นปี
                      ซื้อสินค้า / วัตถุดิบ
                      ค่าใช้จ่ายในการซื้อ
                      ค่าใช้จ่ายในการผลิต

ปิดบัญชี รายได้ ต้นทุน และ ค่าใช้จ่าย เพื่อหากำไรสุทธิ / ขาดทุนสุทธิ

ปิดบัญชี สินทรัพย์ หนี้สิน และ ทุน เพื่อคำนวณหายอดยกไป และแสดงยอดไว้ในงบแสดงฐานะการเงิน ตามประเภทของบัญชี ณ วันสิ้นปี

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ที่มา : www.beeaccountant.com

 557
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทุกธุรกิจจะต้องจัดทำบัญชีขึ้นมาเพื่อนำไปยื่นเสียภาษี ยื่นกู้เงิน และเพื่อเป็นการตรวจสอบรายการรายรับรายจ่ายให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด เนื่องจากการทำบัญชีเดียวทำให้สรรพากรสามารถตรวจสอบบัญชีได้ง่ายกว่า และเป็นการทำบัญชีที่สุจริตที่ใคร ๆ ก็สามารถเห็นที่มาการเข้าออกของเงินได้อย่างสุจริต และไม่เป็นการจงใจหลีกเลี่ยงภาษี
ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs การที่จะประสบความสำเร็จนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย และก็ไม่ใช่เรื่องยาก วันนี้มีเรื่องของการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT มาให้ทำความเข้าใจกัน ว่าทำไมธุรกิจของท่านนั้นถึงต้องจัดการให้เข้าสู่ระบบภาษี ต้องเตรียมเอกสารเยอะแค่ไหน ดูเป็นเรื่องน่าปวดหัวอยู่ไม่น้อย แต่ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวแห่งการเติบโตในธุรกิจที่จะขึ้นในภายภาคหน้า สำหรับท่านที่ยังไม่เข้าใจ “ภาษี” แต่เรื่องนี้ก็ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ตราบใดที่ทำตามขั้นตอนก็สบายมากๆ
แผนกจัดซื้อเป็นหน่วยงานแยกต่างหากหรือมีพนักงานจัดซื้อไม่เกี่ยวข้อง
เงินได้มาตรา 40(1) หัก ณ ที่จ่ายตามอัตราก้าวหน้า คือ การประมาณรายได้พนักงานทั้งปี แล้วหักด้วยค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเพื่อหาเงินได้สุทธินำส่งนำไปคำนวณภาษี นำเงินได้สุทธิมาคูณอัตราภาษีตามอัตราก้าวหน้า (0%-35%) เมื่อได้ยอดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จะต้องเสีย จึงนำมาหารเฉลี่ยตามงวดที่จ่าย
ความเสี่ยงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกองค์กรธุรกิจ เป็นโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่าหรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต และมีผลกระทบ ที่จะทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จหรือบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายขององค์กร ที่กำหนดไว้ งานบัญชีเป็นงานที่มีความสำคัญมากของทุกองค์กร มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลบัญชีและ การเงิน ซึ่งต้องมีความถูกต้องสำหรับผู้ประกอบการนำไปใช้ในการตัดสินใจ และมีความน่าเชื่อถือ สำหรับบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตามงานบัญชีก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดข้อผิดพลาดซึ่งจะก่อ ให้เกิดความเสียหายต่อองค์กร ผู้ประกอบการจะรับมือกับความเสี่ยงในงานบัญชีได้อย่างไร บทความนี้ มีคำตอบ
ปัจจุบันนี้ผู้คนจำนวนมากเลือกหันหลังให้กับการทำงานเป็นมนุษย์เงินเดือนหรือมนุษย์ออฟฟิศแล้วเปลี่ยนมาทำธุรกิจจดทะเบียนบริษัทเป็นของตัวเองเพราะต้องการเป็นนายตัวเองและอยากมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการเป็นเจ้าของธุรกิจ จึงจะเห็นว่าเจ้าของธุรกิจหลายคนไม่ได้เป็นคนที่มีความรู้พื้นฐานในการทำธุรกิจตั้งแต่แรก แต่หันมาเริ่มต้นตั้งใจและให้ความสนใจพร้อมกับมุ่งมั่นในการหาความรู้เพื่อสร้างธุรกิจของตนเองจนเรียกได้ว่าวันนี้มีธุรกิจ Start up มากมายที่มีแนวโน้มจะก้าวทันรายใหญ่ อย่างไรก็ตามในการทำธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งไม่เพียงอาศัยความรู้หรือวางแผนบริหารจัดการองค์กร วางแผนการโฆษณาหรือสร้างแบรนด์เพื่อแจ้งเกิดให้กับบริษัทหรือเพื่อเพิ่มรายได้ผลกำไรเท่านั้น ยังมีเรื่องสำคัญอย่างการจดทะเบียนธุรกิจและอีกเรื่องหนึ่งที่คนทำธุรกิจไม่สามารถมองข้ามไปได้เพราะนับว่าเป็นผลต่อการทำธุรกิจในระยะยาว กล่าวคือต้องรู้เพื่อไม่ให้พลาดและเป็นการทำตามกฎหมายที่ได้กำหนดนั่นคือการยื่นหนังสือบริคณห์สนธิ เอกสารสำคัญที่แสดงให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งบริษัทหรือธุรกิจนั้น ๆ ทั้งนี้ยังถือว่าเป็นการสร้างความไว้วางใจให้กับคู่ค้าหรือสร้างความน่าเชื่อถือได้อีกระดับ มาดูกันว่า“หนังสือบริคณห์สนธิ”คืออะไรมาทำความเข้าใจง่าย ๆ ในบทความนี้กันได้เลย

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์