ปิดบัญชี ประจำปี จัดทำงบการเงิน

ปิดบัญชี ประจำปี จัดทำงบการเงิน



การปิดบัญชี คือ การทำให้ตัวเลขในบัญชีตรงกับความเป็นจริง บัญชีรายได้และค่าใช้จ่ายจะถูกปิดยอดคงเหลือ โอนไปบัญชีกำไรขาดทุน และยอดคงเหลือของบัญชีกำไรขาดทุนจะโอนไปยังบัญชีทุนพร้อมๆ กับยอดคงเหลือของบัญชี ถอนใช้ส่วนตัว  กิจการสามารถพิสูจน์ความถูกต้องของยอดคงเหลือจากบัญชีแยกประเภทได้โดยการทำงบทดลอง หลังปิดบัญชี            

การปิดบัญชี (Closing  Entries)  หมายถึง  การโอนบัญชีที่เกี่ยวข้องกับบัญชีทุน  ซึ่งเป็นบัญชีชั่วคราว ได้แก่บัญชีถอนใช้ส่วนตัว บัญชีรายได้ และบัญชีค่าใช้จ่าย ไปยังบัญชีทุน  เพื่อหายอดคงเหลือของบัญชีทุนที่ถูกต้อง  ณ วันสิ้นงวดบัญชี รวมทั้งการหายอด คงเหลือ ของบัญชีสินทรัพย์ และหนี้สิน  ซึ่งหลังจากทำการปิดบัญชีแล้ว บัญชีที่เหลืออยู่ ได้แก่ บัญชีสินทรัพย์  บัญชีหนี้สิน  และบัญชีทุน  เพื่อยกไปยังงวดบัญชีถัดไป

การ ปิดบัญชี มีกี่ประเภท

การปิดบัญชี ประจำวัน คือ การปิดบัญชีในสมุดเงินสดทุกสิ้นวัน เพื่อทราบจำนวนเงินสดในบัญชีทุกวัน

การปิดบัญชี ประจำเดือน คือ การปิดบัญชี ในสมุดเงินสด สมุดซื้อสินค้า สมุดขายสินค้า  รายการภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย สมุดรายได้ค่าบริการ สมุดรายได้ขายสินค้า ค่าใช้จ่ายประจำเดือน ค่าใช้จ่ายอื่น ค่าธรรมเนียมต่างๆ โดยผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภท เพื่อจัดทำงบทดลอง

การปิดบัญชี ประจำปี คือ การปิดบัญชีทุกบัญชีในสมุดรายวันแยกประเภท ภายหลังจากได้รับมีการปรับปรุงรายการ รับรู้รายได้ ค่าใช้จ่ายในงวด มีการบันทึกค่าเสื่อมราคา ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ค่าเผื่อประมาณการด้อยค่าของสินค้าคงเหลือ เพื่อจัดทำงบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของผู้ถือหุ้น หมายเหตุประกอบงบการเงิน

ปิดบัญชี ประจำปี จัดทำงบการเงิน​ : ขั้นตอนในการปิดบัญชี

การปิดบัญชีจะบันทึกตามหลักการบัญชีปกติ  คือ  จะทำการบันทึกในสมุดรายวันทั่วไปแล้วผ่านไปยังบัญชีแยกประเภทดังนี้

 1.  บันทึกรายการปิดบัญชีประเภทรายได้และประเภทค่าใช้จ่ายในสมุดรายวันทั่วไป 

 2.  ผ่านรายการปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป  ไปยังบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง  การปิดบัญชีมีขั้นตอนดังนี้

 ขั้นตอนที่  1  บันทึกรายการปิดบัญชีในสมุดรายวันทั่วไป

                          1.1  บันทึกรายการปิดบัญชีในหมวดรายได้เข้าบัญชีกำไรขาดทุน 
                          1.2  บันทึกรายการปิดบัญชีในหมวดค่าใช้จ่ายเข้าบัญชีกำไรขาดทุน 
                          1.3  บันทึกรายการปิดบัญชีกำไรขาดทุนเข้าบัญชีส่วนของเจ้าของ(ทุน)
                          1.4  บันทึกรายการปิดบัญชีถอนใช้ส่วนตัวหรือเงินถอนเข้าบัญชีทุน

 ขั้นตอนที่  2  ผ่านรายการปิดบัญชี  จากสมุดรายวันทั่วไปไปยังสมุดแยกประเภททั่วไป

 ขั้นตอนที่  3  การปิดบัญชีทรัพย์สิน  หนี้สินและส่วนของเจ้าของ  ในสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป

 ขั้นตอนที่  4  การจัดทำงบทดลองหลังการปิดบัญชี

 ขั้นตอนที่  5  ปรับปรุงรายการตอนสิ้นงวด เช่น รายได้รับล่วงหน้า / ค้างรับ ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า / ค้างจ่าย หนี้สงสัญจะสูญ วัสดุสิ้นเปลอง ค่าเสื่อมราคา

 ขั้นตอนที่  6  การจัดทำงบทดลองหลังปรับปรุงรายการ

 ขั้นตอนที่  7 จัดทำงบการเงิน

ปิดบัญชี ประจำปี จัดทำงบการเงิน : การปิดรายได้ ค่าใช้จ่าย

ปิดบัญชี รายได้ และ ค่าใช้จ่าย เข้าบัญชี ต้นทุนการขาย ต้นทุนการผลิต ต้นทุนบริการ และบันทึกวัตถุดิบสิ้นปี

 DR    ต้นทุนการผลิต
           สินค้า / วัตถุดิบปลายปี
           ส่งคืนสินค้า /วัตถุดิบ
           ส่วนลดรับสินค้า /วัตถุดิบ
              CR  สินค้า / วัตถุดิบต้นปี
                      ซื้อสินค้า / วัตถุดิบ
                      ค่าใช้จ่ายในการซื้อ
                      ค่าใช้จ่ายในการผลิต

ปิดบัญชี รายได้ ต้นทุน และ ค่าใช้จ่าย เพื่อหากำไรสุทธิ / ขาดทุนสุทธิ

ปิดบัญชี สินทรัพย์ หนี้สิน และ ทุน เพื่อคำนวณหายอดยกไป และแสดงยอดไว้ในงบแสดงฐานะการเงิน ตามประเภทของบัญชี ณ วันสิ้นปี

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!

ที่มา : www.beeaccountant.com

 562
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในปัจจุบันผู้ที่สามารถทำการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ในฐานะผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
มีผู้ประกอบการหลายท่านที่ทำเอกสารต่างๆเอง ยื่นภาษีเอง มีความรู้ทางด้านภาษีเป็นอย่างดี และไม่อยากเสียเงินจ้างนักบัญชี และก็มีคำถามมาตลอดว่าสามารถทำบัญชีเองได้รึป่าว วันนี้แอดเลยสรุปให้ง่ายๆฉบับนักบัญชียุคใหม่
การ outsource งานทำบัญชี เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่ช่วยลดต้นทุนให้กับกิจการได้ เพราะเมื่อเทียบกับการจ้างพนักงานบัญชีประจำกิจการแล้ว การ outsource จ้างผู้รับจ้าทำบัญชีภายนอก มักจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า   วันนี้เราจะมาดูกันว่า ผู้ให้บริการทำบัญชี นั้นมีกี่แบบ  เพื่อที่ผู้ประกอบการจะได้พิจารณาเลือกแบบที่คิดว่าเหมาะสมกับกิจการตน
ต้นทุนผันแปร และต้นทุนคงที่คำว่า “คงที่” (Fixed) และ “ผันแปร” (Variable) ใช้เพื่ออธิบายว่าต้นทุนจะผันแปรไปอย่างไร เมื่อกิจกรรมเปลี่ยนแปลงไปต้นทุนผันแปร  เป็นต้นทุนซึ่งมีจำนวนรวมที่ผันแปรไปเป็นสัดส่วนโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงของกิจกรรม ปริมาณกิจกรรมดังกล่าวได้แก่ หน่วยของสินค้าที่ผลิตขาย ชั่วโมงแรงงาน ชั่วโมงเครื่องจักร ตัวอย่างของต้นทุนผันแปร ได้แก่ วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง วัสดุสิ้นเปลือง เป็นต้น
อ้างอิงจากประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง  กำหนดชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำ ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการในบัญชี  และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี พ.ศ.2544 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 (1) (2) (3) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติการบัญชีพ.ศ. 2543 อธิบดีกรมทะเบียนการค้าออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้
อากร หมายถึง เงินรายได้ของประเทศที่กฎหมายกำหนดให้กรมศุลกากรเป็นหน่วยงานจัดเก็บจากการนำของเข้ามาในหรือส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร หรือ จากกรณีอื่นๆ ตามที่บัญญัติในกฎหมายศุลกากรและกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร ตลอดจนกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นอากรศุลกากร

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์