เลือกโปรแกรมบัญชีแบบใด ที่ตอบโจทย์สำนักงานบัญชีและนักบัญชีที่สุด

เลือกโปรแกรมบัญชีแบบใด ที่ตอบโจทย์สำนักงานบัญชีและนักบัญชีที่สุด

เลือกโปรแกรมบัญชีแบบใด ที่ตอบโจทย์สำนักงานบัญชีและนักบัญชีที่สุด

อย่างที่ทราบกันดีว่าในปัจจุบัน โปรแกรมบัญชีสำหรับสำนักงานบัญชีและนักบัญชีในท้องตลาดมีให้เลือกใช้มากมายหลากหลายแบรนด์ จนทำให้ผู้ทำบัญชีเองเกิดความสับสนในการเลือกใช้โปรแกรมบัญชีที่จะนำมาใช้งาน ในบทความนี้ เราจึงมีคำแนะนำดีๆ และเทคนิคง่ายๆ สำหรับการเลือกซื้อโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปสำหรับสำนักงานบัญชี และนักบัญชีมาฝากกัน เพื่อเป็นตัวช่วยในการการบันทึกบัญชี เก็บรวบรวมเอกสาร สร้างรายงานที่สำคัญ รวมไปถึงการยื่นภาษี และปิดงบการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถแยกได้ดังนี้

การทำงานที่ตอบโจทย์

การทำงาน
ที่ตอบโจทย์

สำนักงานบัญชี และ นักบัญชี ควรสำรวจลักษณะของธุรกิจและความต้องการของลูกค้า เพื่อนำมาพิจารณาว่าจะสามารถใช้ฟังก์ชั่นอะไรในโปรแกรมบัญชีได้บ้าง อีกทั้งโปรแกรมบัญชีที่ดียังต้องสามารถใช้งานได้ง่าย มีความปลอดภัย สามารถจัดการงานบัญชีได้ไม่ว่าจะเป็นการจัดการข้อมูล การจัดการภาษี จัดการงบการเงิน ควบคุมและตรวจสอบภายใน รวมถึงมีการให้ทดลองใช้งานก่อนการตัดสินใจซื้อโปรแกรมได้ และโปรแกรมบัญชีนั้นต้องได้รองรับตามมาตรฐานซอฟต์แวร์เพื่อภาษีสรรพากรของกรมสรรพากรอีกด้วย

ตัวอย่างฟังก์ชั่นพื้นฐานที่โปรแกรมบัญชีควรมีเพื่อช่วยสำนักงานบัญชีและนักบัญชี ได้แก่
  • Import ข้อมูลลูกค้าจากกรมสรรพกร ตรวจสอบเลขประจำตัวผู้เสียภาษีได้ง่าย
  • Import-Export ข้อมูลซื้อ ขาย รับ จ่าย รายการรายวัน (GL) ได้แบบ Auto และสามารถกำหนดแผน (Plan) ได้ล่วงหน้า
  • ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ลดภาระในการจัดเตรียมภาษีมูลค่าเพิ่ม ลดต้นทุนจัดทำเอกสารใบกำกับภาษี
  • สะดวก รวดเร็ว ข้อมูลถูกต้องครบถ้วน ในการทำ ภงด.3, 53, ภพ.30 สามารถ Export file แล้วนำยื่นภาษีผ่านอินเตอร์เน็ต
  • สร้างรูปแบบงบการเงินได้หลากหลายรูปแบบ เช่น งบดุล, กำไรขาดทุน, งบกระแสเงินสด, หมายเหตุประกอบงบการเงิน, งบการเงินตามรูปแบบกรมสรรพกร, ภงด.51, ภงด.50
  • ตรวจสอบข้อมูลด้วยระบบ Audit & Internal Control เช่น ป้องกันการ Run ข้ามเอกสาร, เตือนเมื่อเลขที่ใบกำกับภาษีขายซ้ำ, ตรวจสอบสินค้าติดลบ, ตรวจสอบข้อมูลที่ยังไม่ post gl, ตรวจสอบ user ที่ลบหรือแก้ไขเอกสารโดยพลการ

ได้รับการยอมรับจากนักบัญชี

ได้รับการยอมรับ
จากนักบัญชี

เพื่อให้โปรแกรมบัญชีได้รับการยอมรับจากนักบัญชี โปรแกรมบัญชีควรใส่ใจในด้านความสะดวกในการใช้งาน ข้อมูลควรมีความถูกต้อง มีความน่าเชื่อถือ สามารถลดความผิดพลาด และทำให้นักบัญชีสามารถทำงานได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น นอกจากได้รับการยอมรับจากนักบัญชีแล้ว ยังต้องสามารถช่วยขับเคลื่อนธุรกิจต่างๆ ให้ดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถรองรับได้หลายประเภทธุรกิจ เช่น ธุรกิจ SMEs และควรได้รับการยอมรับจากกหน่วยงานภาครัฐ

บริการหลังการขายที่ยอดเยี่ยม

บริการหลังการขาย
ที่ยอดเยี่ยม

โปรแกรมบัญชี ควรมีบริการหลังการขาย เพราะบริการหลังการขายเป็นสิ่งที่สำคัญในการดูแลลูกค้าและควรครอบคลุมด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทางการเงินและบัญชี เพื่อช่วยให้ผู้ทำบัญชีสามารถแจ้งปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้งานได้ โดยมีทีมงานที่สามารถถาม-ตอบปัญหาต่างๆ ของผู้ใช้งานได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น สำนักงานบัญชี และ นักบัญชี ควรตรวจสอบให้ดีก่อนว่าโปรแกรมบัญชีที่เลือกใช้มีบริการหลังการขายหรือไม่ และมีค่าใช้จ่ายค่าบริการเพิ่มเติมหรือเปล่า

พัฒนาโดยทีมงานมืออาชีพ

พัฒนาโดยทีมงาน
มืออาชีพ

โปรแกรมบัญชี ควรมีทีมงานที่มีความสามารถและมีคุณภาพ พร้อมทุ่มเทและพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ เพื่อนำมาปรับใช้กับการเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพแวดล้อมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานบัญชี การเงิน

โปรแกรมบัญชี Prosoft WINSpeed ดีอย่างไร?

เหตุผล ที่สำนักงานบัญชี และนักบัญชี จำเป็นต้องใช้โปรแกรมบัญชี

การใช้โปรแกรมบัญชีเป็นสิ่งจำเป็นที่สำนักงานบัญชี และนักบัญชีควรพิจารณาเพื่อให้งานทางบัญชีเป็นไปอย่างเป็นระบบและมีความแม่นยำในการดำเนินงานขององค์กร และลดโอกาสในการเกิดข้อผิดพลาดในการทำบัญชี โปรแกรมบัญชีช่วยทำให้กระบวนการทำบัญชีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้อง ดังนั้นเหตุผลที่สำนักงานบัญชีและนักบัญชีจำเป็นต้องใช้โปรแกรมบัญชี มีดังนี้

  1. การลดความผิดพลาด: โปรแกรมบัญชีช่วยลดโอกาสของข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในกระบวนการบัญชี เนื่องจากการคำนวณและกระทำต่าง ๆ สามารถทำงานได้อย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือมากกว่ามนุษย์ในบางกรณี
  2. ประหยัดเวลา: โปรแกรมบัญชีช่วยให้กระบวนการทางบัญชีเป็นไปได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น ลดเวลาในการป้อนข้อมูลและสร้างรายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงินและบัญชีกับการทำธุรกรรมแบบดั้งเดิม เช่น ค่าน้ำมันรถยนต์หรือค่าเดินทาง
  3. ความแม่นยำ: โปรแกรมบัญชีทำการคำนวณและกระทำต่าง ๆ ด้วยการใช้โครงสร้างและตัวเลขที่แม่นยำ ลดความเสี่ยงในการทำข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ทำการคำนวณ
  4. ติดตามรายรับรายจ่าย: โปรแกรมบัญชีช่วยให้สามารถติดตามรายรับและรายจ่ายขององค์กรได้อย่างง่ายดาย ช่วยให้สามารถวิเคราะห์ภาพรวมของธุรกิจและการเงินได้
  5. รายงานทางการเงิน: โปรแกรมบัญชีช่วยในการสร้างรายงานทางการเงินที่เป็นระบบและตรงไปตรงมา ช่วยให้ผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถดูและตรวจสอบสถานะการเงินขององค์กรได้อย่างสะดวก
  6. ประหยัดทรัพยากร: การใช้โปรแกรมบัญชีช่วยลดการใช้กระดาษและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการทางบัญชี ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูแลและจัดเก็บข้อมูล

หากสำนักงานบัญชีและนักบัญชีกำลังมองหาโปรแกรมบัญชี สำหรับธุรกิจ SMEs เราขอแนะนำโปรแกรมบัญชี Prosoft WINSpeed ที่ตอบโจทย์การใช้งาน และนักบัญชียอมรับพร้อมรองรับการใช้งานสำหรับสำนักงานบัญชีได้ทุกอย่าง อีกทั้งยังคุ้มค่ากับการลงทุน และช่วยประหยัดเวลาในการทำบัญชีให้ง่ายขึ้น ด้วยระบบบัญชีแบบครบวงจร

ลงทะเบียน Demo โปรแกรมบัญชีสำหรับสำนักงานบัญชีและนักบัญชี

ติดตามเกร็ดความรู้ดีๆ ที่เกี่ยวกับสำนักงานบัญชี ได้ที่
บทความ: www.onlinesoft.co.th
 758
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ก่อนที่จะนำรายได้ต่างๆ มาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่ารายได้เป็นรายได้ประเภทไหน สามารถหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้เท่าไหร่ มีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง
มรรยาท (จรรยาบรรณ) ของ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต กฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในพระราชบัญญัติผู้สอบบัญชี พ.ศ.2505 ได้กำหนดมรรยาทของผู้สอบบัญชี ไว้ 5 หมวด คือ รายละเอียดข้อกำหนดและคำชี้แจง แต่ละหมวด มีดังต่อไปนี้
สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่ทราบว่า เครดิตภาษีเงินปันผลคืออะไร อยากเครดิตภาษีต้องทำอย่างไร แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าควรใช้เครดิตภาษีหรือไม่ เราลองมาไขปัญหาคาใจ เหล่านี้กัน
ประเทศไทยได้เริ่มจัดทำอนุสัญญา ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2505  กับประเทศสวีเดน และได้มีการเจรจาทำอนุสัญญากับต่างประเทศเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง โดยโครงสร้างทั่วๆ ไป ของอนุสัญญาประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
ตัวเลขหรือรหัสที่ใช้ในการจัดหมวดหมู่ผังบัญชีขององค์กร ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการและควบคุมทางบัญชี โดยรหัสบัญชีนี้จะถูกนำมาใช้ในกระบวนการบันทึกบัญชีและการจัดทำรายงานทางการเงิน หรือที่เรียกว่า ระบบบัญชีแยกประเภท (General Ledger) เพื่อให้การบันทึกและการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินเป็นระเบียบช่วยให้สามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินได้อย่างเป็นระบบ และสามารถนำมาใช้อ้างอิงได้อย่างถูกต้อง
ค่าใช้จ่าย (Expenses) เป็นคำที่ใช้ในด้านการเงินและการจัดการธุรกิจ หมายถึง ทรัพยากรทางการเงินหรือสินทรัพย์ที่ถูกใช้ไปเพื่อการดำเนินให้ได้มาซึ่งการผลิตสินค้า การให้บริการ หรือการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการให้เป็นไปอย่างราบรื่น ค่าใช้จ่ายมีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการทางการเงิน เนื่องจากช่วยสะท้อนถึงการใช้ทรัพยากรและแสดงถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์