มาทำความรู้จักกับใบสั่งขาย (Sale Order)

มาทำความรู้จักกับใบสั่งขาย (Sale Order)


ใบสั่งขาย (Sale Order)

หมายถึง การบันทึกรายการสั่งขายสินค้าหรือบริการ เพื่อเป็นการยืนยันการซื้อสินค้าของลูกค้า เริ่มจากเมื่อลูกค้ามีความต้องการสั่งซื้อสินค้า ฝ่ายขายจะตรวจสอบข้อมูลต่างๆ เช่น จำนวนสินค้าคงเหลือ จำนวนสินค้ากำลังผลิต จำนวนสินค้าที่ถูกจอง หรือข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้า เช่น ประวัติการชำระเงิน หรือวงเงินเครดิต เพื่อยืนยันว่าสามารถขายสินค้าให้กับลูกค้ารายนี้ได้หรือไม่ เมื่อมีการตกลงการซื้อขาย ฝ่ายขายจะเริ่มสร้างคำสั่งขาย หากมีสินค้าอยู่ในคลังแล้ว ระบบจะเข้าไปจองสินค้าให้ แต่ถ้าสินค้าไม่พอระบบจะใช้เป็นข้อมูลสำหรับการวางแผนการสั่งซื้อหรือผลิตต่อไป

ใบสั่งขายจัดทําขึ้นเพื่ออะไร

การจัดทำใบสั่งขายเกิดขึ้นเมื่อทางบริษัทผู้ขายได้ทำเสนอราคาไปให้ลูกค้าโดยการเปิดใบเสนอราคา (ใบ Quotation) เมื่อลูกค้าสนใจในสินค้า จึงได้ได้จัดทำใบสั่งซื้อ (ใบ Purchase Order) ให้กับทางบริษัท อาจมีการลงลายเซ็นเพื่อความแน่นอน

บริษัทที่ขายสินค้าอาจต้องการความแน่นอน จะได้ทำการ เปิดใบสั่งขาย (ใบ Sale Order) ที่จัดทำโดย บริษัทของตัวเอง เพื่อส่งให้ลูกค้ายืนยัน และเมื่อลูกค้าได้รับใบสั่งขาย ได้ทำการลงลายเซ็นแล้วส่งกลับมายังบริษัทผู้ขาย ฝ่ายประสานงานขายก็จะนำเอกสารใบสั่งขายไปเปิดเป็นใบกำกับภาษี(Invoice) ซึ่งสามารถนำไปเปิด ได้ 2 รูปแบบ คือ 1.จ่ายชำระบางส่วน 2.จ่ายชำระแบบเต็มจำนวน เป็นต้น

ประโยชน์ของใบสั่งขาย

  1. เพื่อให้ลูกค้ายืนยันการสั่งซื้อสินค้าที่แน่นอน
  2. เพื่อลดความผิดพลาดในการสั่งซื้อสินค้า
  3. ทบทวนรายละเอียดของสินค้าที่ได้สั่งซื้อในใบเสนอราคา (ใบ Purchase Order)
  4. บ่งบอกถึงความต้องการในสินค้าที่บริษัทเรามี
  5. ใช้เป็นเอกสารอ้างอิงเอกสารกับเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขายได้ เช่น ใบสั่งซื้อ (ใบ Purchase Order) ใบกับกับภาษี (Invoice) เป็นต้น

คุณลักษณะของใบสั่งขาย

  1. สามารถระบุวันที่จัดส่งสินค้าในสินค้าแต่ละรายการเพื่อนำไปจัดทำแผนการจัดส่งสินค้าได้
  2. สามารถอ้างอิงใบสั่งขายไปบันทึกเอกสาร Invoice ได้ และใบส่งสินค้า
  3. สามารถระบุสัญญาซื้อขายในใบสั่งขายได้ เพื่อให้ระบบทำการปรับปรุงข้อมูล Released Order ในสัญญาซื้อขาย
  4. สามารถตั้งค่าให้ระบบบันทึก Invoice โดยอัตโนมัติเมื่อมีการบันทึกสั่งขายได้
  5. ในกรณีที่สั่งซื้อสินค้าที่ไม่มีใน Stock หรือในกรณีที่สินค้าใน Stock ไม่พอขาย

เยี่ยมชม >>> ตัวอย่างแบบฟอร์มใบสั่งขาย (Sale Order) ในโปรแกรมบัญชี Prosoft WINSpeed

จากตัวอย่างของแบบฟอร์มใบสั่งขาย (Sale Order) โปรแกรมบัญชี Prosoft WINSpeed จะเห็นได้ว่ารูปแบบฟอร์มจะแสดงรายละเอียดทั้งข้อมูลผู้ขาย, ข้อมูลผู้ซื้อ, เลขที่เอกสาร, วันที่เอกสาร, เงื่อนไขการสั่งขาย, รายละเอียดรายการสินค้า, จำนวนเงินรวม, ภาษีขาย, ลายเซ็น และรายละเอียดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องไว้อย่างชัดเจน โดยมีคุณสมบัติที่สามารถอ้างอิงเอกสารจากหน้าจอใบสั่งจอง, รองรับส่วนลดการค้า ได้ทั้ง 2 วิธี คือ ส่วนลดตามสินค้า และ ส่วนลดท้ายบิล นอกจากนี้ยัง สามารถบันทึกส่วนลดได้ 2 รูปแบบ คือ จำนวนเงิน (บาท) และ เปอร์เซ็นต์ (%), สามารถบันทึกใบสั่งขายระบุแผนก และ Job ได้ และมีรายงานรองรับ เป็นต้น


ที่มา : 
www.prosofterp.com, www.pangpond.com

 4081
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจากกำไรสุทธิ ต้องคำนวณกำไรสุทธิ จากรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจาก กิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี ซึ่งประมวลรัษฎากรได้กำหนดรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่งๆ ไว้ดังนี้ 
งบการเงินคือรายงานทางการเงินและบัญชี ที่แสดงให้เห็นสถานะการดำเนินงานของกิจการ ซึ่งประกอบด้วยงบแสดงฐานะทางการเงิน (งบดุล) งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
ใบขอซื้อ (PR) เป็นเอกสารที่เป็นฉบับแรกสุดในบริษัทขนาดใหญ่ก่อนที่จะได้รับการอนุมัติเพื่อทำเอกสารใบสั่งซื้อ ส่วนใบสั่งซื้อ (PO) หรือ ใบเสนอราคา เอกสารใบสั่งซื้อนี้ สามารถใช้เป็นหลักฐานในการทำธุรกิจได้เป็นอย่างดี หากการสั่งซื้อนั้นเกิดความล่าช้ากว่ากำหนด หรือ มีข้อโต้แย้งที่ทำสินค้าให้เราไม่ได้อย่างที่ตกลงกันไว้
สำหรับนักลงทุนที่ยังไม่ทราบว่า เครดิตภาษีเงินปันผลคืออะไร อยากเครดิตภาษีต้องทำอย่างไร แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าควรใช้เครดิตภาษีหรือไม่ เราลองมาไขปัญหาคาใจ เหล่านี้กัน
ผู้ประกอบการหลายคนอาจเข้าใจว่าการทำบัญชีนั้นมีไว้สำหรับบริษัทใหญ่หรือเพื่อร้านค้าทั่วไปอย่างเดียวเท่านั้น แต่อันที่จริงแล้วพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ก็สามารถทำบัญชีให้กับร้านได้เหมือนกัน ซึ่งการทำบัญชีให้ร้านออนไลน์นั้นนอกจากจะเป็นการสรุปยอดขายและรายจ่ายในทุกๆ เดือนแล้ว ยังช่วยให้เรามีข้อมูลสรุปรายได้ที่ชัดเจนแน่นอนนอกเหนือจากตัวเลขที่ระบบของเว็บไซต์บันทึกเอาไว้อีกด้วย
อัตราส่วนทางการเงิน  ( Financial ratio) เป็นการนำตัวเลขที่อยู่ในงบการเงิน มาหาอัตราส่วนเพื่อใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกิจการอื่นหรือ เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานในอดีต ช่วยให้ผู้วิเคราะห์ประเมินผลการดำเนินงาน แนวโน้ม และความเสี่ยง ของกิจการได้ดียิ่งขึ้น

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์