วิธีตรวจสอบสถานะ ผู้สอบบัญชี CPA ก่อนใช้บริการ

วิธีตรวจสอบสถานะ ผู้สอบบัญชี CPA ก่อนใช้บริการ


เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น!!

1.ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบสถานะผู้สอบบัญชีรับอนุญาตง่าย ๆ ได้ที่ Click

เพียง กรอกข้อมูล 1. ชื่อ 2. นามสกุล และ 3. เลขทะเบียนผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ในระบบตรวจสอบสถานะผู้สอบบัญชีรับอนุญาต 
  • หากระบบแสดงสถานะ “ปกติ” แปลว่า ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตท่านนี้มีสถานะปกติและสามารถใช้บริการได้
  • หากระบบแสดงสถานะ “ไม่พบข้อมูล” แปลว่า ท่านกรอกข้อมูลไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง หรือ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตท่านนี้อาจจะถูกเพิกถอนใบอนุญาต พักใช้ใบอนุญาต หรือ อาจจะไม่ได้เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ยังไม่ควรใช้บริการ หากมีข้อสงสัยโปรดติดต่อสภาวิชาชีพบัญชีได้โดยตรง
2. ตรวจสอบสถานะสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีง่าย ๆ ได้ที่  Click

  • หากเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี ระบบจะแสดงสถานะ “เป็นสมาชิก”
  • หากไม่เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี ระบบจะแสดงสถานะ “ไม่เป็นสมาชิก” แปลว่า ท่านกรอกข้อมูลไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง หรือบุคคลนี้ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี  

หมายเหตุ: หากระบบแสดงสถานะ “เป็นสมาชิก” ไม่ได้หมายความว่าบุคคลดังกล่าวจะเป็น “ผู้ทำบัญชี” หรือ “ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต”


หากมีข้อสงสัย โปรดติดต่อส่วนงานทะเบียน สภาวิชาชีพบัญชี โทรศัพท์ 02-685 2524, 2525, 2529, 2530 หรือ 2532


ที่มา : tfac.or.th
 3427
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

เรามาดูตัวอย่างง่ายๆ กันว่า ประเด็นต่างๆเหล่านี้ มีอยู่ในงบการเงินของท่านหรือไม่
“งวดบัญชี หรือรอบระยะเวลาบัญชี” (Accounting Period) ของกิจการต่างๆนั้นจะเป็นระยะเวลานวนเท่าใดก็ได้เช่นงวด 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือนหรือ 1 ปีแต่จะนานกว่า 1 ปีไม่ได้ ทั้งนี้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย
 ใครที่เป็นนักบัญชีคงรู้ว่า ในหน้าที่การงานที่เกี่ยวกับบัญชีที่ตนรับผิดชอบอยู่นั้นจะพบว่าต้องเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายๆฉบับอย่างไม่น่าเชื่อ ที่ใกล้ตัวที่สุดน่าจะเป็น (๑) ประมวลรัษฎากร กฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากร ตามมาด้วย (๒) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยเฉพาะในบรรพ 3 ในหมวดว่าด้วย “บริษัท” (๓) พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 (๔) พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 (๕) พระราชบัญญัติประกันสังคม และ (๖) พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ที่เรียกกันสั้นๆว่ากฎหมายแรงงาน)
ภาษี หัก ณ ที่จ่าย เป็นภาษีที่คนวัยทำงานทุกคนจะต้องเคยเห็น แต่หลายคนก็อาจจะไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร ใครต้องเป็นคนจ่าย หักเงินยังไง เมื่อไหร่ บทความชิ้นนี้จะมาแนะนำให้เรารู้จักกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย พร้อมระบุประเภทและอัตราการหักภาษีแบบที่เข้าใจง่าย
แบบ ภ.พ.30 คือแบบแสดงรายการสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขาย เพื่อนำส่งกรมสรรพากร โดยผู้มีหน้าที่จัดทำคือ เจ้าของธุรกิจที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และได้ทำการขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต้องนำส่งให้กรมสรรพากรทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือสามารถยื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็ได้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์