ทำความรู้จักกับ ภ.ง.ด.53

ทำความรู้จักกับ ภ.ง.ด.53

การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของผู้ที่จ่ายเงินส่วนผู้ที่รับเงินได้นั้นจะเป็นผู้ที่ถูก โดยหากมีการหักภาษี ณ. ที่จ่ายกับจะใช้แบบยื่น ภ.ง.ด.3 แต่หากหักกับนิติบุคคลจะใช้แบบยื่น ภ.ง.ด.53 ใบบทความนี้เราจะพูดถึงการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่เป็นนิติบุคคลกัน


ภ.ง.ด.53 คือ แบบยื่นรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยผู้รับเงินจะเป็นผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งเป็นนิติบุคคลที่มีหน้าที่ในการเสียภาษีเงินได้

นิติบุคคล (Juristic Persons) คือ บุคคลตามกฎหมายที่กฎหมายสมมติขึ้น และรับรองให้มีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา เว้นแต่ สิทธิและหน้าที่บางอย่างซึ่งบุคคลธรรมดามีอยู่นั้น นิติบุคคลจะมีไม่ได้ เช่น สิทธิในด้านครอบครัว สิทธิในทางการเมือง เป็นต้น

ประเภทเงินได้ที่ยื่นแบบภ.ง.ด.53 ได้แก่


1. เงินได้ตามมาตรา 40 (2) – 40 (8) เช่น เงินได้จากค่าจ้างทำของ ค่าโฆษณา ค่านายหน้า การให้เช่าทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน, อาคาร, เครื่องจักร, รถยนต์ เป็นต้น การประกอบวิชาชีพอิสระ ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร เงินปันผล เป็นต้น

2. เงินได้จากมาตรา 40 (8) เฉพาะกรณีที่เป็นการจ่ายเงินได้จากการให้บริการอื่นๆที่นอกเหนือจากข้อ 1

3. เงินได้จากการประกันวินาศภัยเฉพาะกรณีที่จ่ายให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่เป็นนิติบุคคล ซึ่งประกอบกิจการวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัยในประเทศไทย

4. เงินได้จากการขนส่งซึ่งไม่รวมการจ่ายค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ

*** โดยผู้ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นผู้ที่ประกอบกิจการในไทย ***



ผู้มีหน้าที่หักภาษีต้องทำอย่างไร



1. ขอข้อมูลผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ได้แก่ ชื่อที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

2. ดำเนินการหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกครั้งเมื่อมีการจ่ายเงินได้ในอัตราที่กำหนดตามประมวลรัษฎากร (1,000 บาท)

3. จัดทำหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่ายให้แก่ผู้ที่ถูกหักภาษีทุกครั้งที่ทำการหักภาษี ณ ที่จ่าย

4. ผู้หักภาษี ณ ที่จ่ายยื่น ภ.ง.ด.53 พร้อมนำส่งภาษีที่หักไว้ภายใน 7 วันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือ

 228
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจากกำไรสุทธิ ต้องคำนวณกำไรสุทธิ จากรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจาก กิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี ซึ่งประมวลรัษฎากรได้กำหนดรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่งๆ ไว้ดังนี้ 
สำหรับนักบัญชีคือการกำหนดว่าจะต้องทำอะไรอย่างเป็นรูปธรรม จากนั้นก็แปลงแผนดำเนินการนั้นด้วยวิธีการทางบัญชีบริหารให้เป็นรูปตัวเงิน ซึ่งเรียกว่า งบประมาณประจำปี ส่วนการนำแผนการดำเนินงานของแต่ละเดือนมาแปลงเป็นตัวเงิน ก็จะเรียกว่า งบประมาณประจำเดือน
Accounting Software หรือ โปรแกรมบัญชี ที่สามารถใช้ได้ทั้งองค์กรขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ ซึ่งจะช่วยให้การจัดการบัญชีในบริษัท หรือ ธุรกิจของคุณนั้นง่าย และสะดวกมากขึ้นซึ่ง Software บัญชี มีด้วยกันหลากหลายประเภท และหลากหลายความต้องการ เพราะแต่ละธุรกิจนั้นมีความยากง่าย และความซับซ้อนที่แตกต่างกัน ทำให้มีการพัฒนาระบบให้เกิดความสะดวกในการใช้งานมากขึ้น ทั้งบัญชีลูกหนี้ บัญชีสินค้าคงคลัง บัญชีภาษี หรือ บัญชีรายรับรายจ่ายต่างๆของบริษัท ก็มีการออกแบบมาเพื่อรองรับความต้องการของบริษัท และเจ้าของกิจการอย่างมากมาย
เราไปดูกันว่า 7 ทักษะ Soft skills ที่นักวิชาชีพตรวจสอบบัญชี (Auditor) ควรมีนั้น มีอะไรบ้าง
การบริหารธุรกิจที่เหมาะสมไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาที่ดีของผู้บริหารเท่านั้นแต่ยังขึ้นอยู่กับข้อมูลที่มีคุณภาพสูงและทันเวลา ซึ่งการพินิจพิจารณาของผู้บริหารจะต้องใช้ข้อมูลเหล่านี้ด้วยบันทึกภายใน บันทึกเกี่ยวกับการเกิดรายได้ของธุรกิจอาจจะรวมถึงข้อมูลที่ว่าใครคือผู้ที่ซื้อสินค้า ซื้อเป็นจำนวนเท่าใดทั้งในรูปของปริมาณและจำนวนเงิน และเมื่อใดที่เกิดการซื้อขึ้น สำหรับ SMEs ข้อมูลเหล่านี้สามารถถูกนำไปใช้เพื่อระบุถึงลูกค้าที่สำคัญและรูปแบบการซื้อของพวกเขา 

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์