ปิดงบการเงินอย่างมืออาชีพ เรื่องที่นักบัญชีและเจ้าของธุรกิจควรรู้

ปิดงบการเงินอย่างมืออาชีพ เรื่องที่นักบัญชีและเจ้าของธุรกิจควรรู้

การปิดงบการเงินคืออะไร สำคัญอย่างไรต่อธรุกิจ

ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักคำว่า “ปิดงบการเงิน” เรามาดูความหมายของ "งบการเงิน" ก่อนค่ะว่าหมายถึงอะไร



งบการเงิน (Financial statement) หมายถึง รายงานทางการเงินที่แสดงฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานของกิจการในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ณ วันสิ้นงวดบัญชี สำหรับธุรกิจทั่วไปมักจะปิดงบการเงินปีละหนึ่งครั้ง แต่สำหรับธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนจะปิดงบการเงินทุก 3 เดือน ส่วนประกอบของงบการเงินที่สมบูรณ์จะประกอบไปด้วย 5 ส่วนนี้คือ

  1. งบแสดงฐานะทางการเงินหรืองบดุล (Balance Sheet)
  2. งบกำไรขาดทุน (Profit and Loss Statement)
  3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ (Statement of changes in owner’s equity)
  4. งบกระแสเงินสด ( Cash Flow statement)
  5. หมายเหตุประกอบงบการเงิน (Note to Financial Statement)

การปิดงบการเงิน หมายถึง กระบวนการที่บริษัทหรือองค์กรต่างๆ ใช้เพื่อสรุปผลการดำเนินงานและสถานะการเงินขององค์กรในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งประกอบด้วยงบแสดงฐานะทางการเงิน (งบดุล) งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น โดยหลังจากที่กิจการทำงบการเงินแล้ว จะต้องมีการปิดงบการเงิน เมื่อสิ้นรอบบัญชี เพื่อส่งให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าและสรรพากรตามที่กฎหมายกำหนด เป็นการรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลการเงิน เช่น รายได้ รายจ่าย สินทรัพย์ หนี้สิน และภาวะการเงินอื่นๆ ขององค์กร

โดยผู้ที่มีหน้าที่ปิดงบการเงินคือนักบัญชีหรือสำนักงานบัญชี เพราะต้องใช้ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและผู้ที่มีประสบการณ์ในเรื่องของการทำบัญชี ให้สามารถจัดส่งงบการเงินตามกำหนด เพื่อหลีกเลี่ยงโทษปรับหากไม่ทำการส่งงบการเงิน

6 ขั้นตอน ในการปิดงบการเงิน รู้ไว้ไม่ควรพลาด

การปิดงบการเงินมีหลายขั้นตอน ซึ่งรวมถึงการบันทึกข้อมูลการเงินทั้งหมดลงในระบบบัญชี การตรวจสอบข้อมูลเพื่อความถูกต้อง การสร้างรายงานทางการเงิน เช่น งบทดลอง งบการเงินสรุป รายงานการเงินอื่นๆ และการเตรียมเอกสารทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยสามารถแบ่งออกได้ 6 ขั้นตอน คือ



1. รวบรวมเอกสารข้อมูลการเงินทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับรายการบัญชีต่างๆ ทั้งบิลขายและบิลซื้อ โดยจัดเรียงให้เป็นหมวดหมู่ เรียงตามบิลของบริษัท ตามลำดับเลขที่เอกสาร เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบ และง่ายต่อการสรุปยอดบัญชี
2. กรณีที่กิจการเป็นบริษัทที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT จะต้องมีรายงานภาษีซื้อ-ขายให้ครบถ้วน โดยต้องนำเอกสารใบกำกับภาษีซื้อ-ขายแนบมาพร้อมกับรายงานภาษีซื้อ-ขาย เพื่อยื่นเอกสารตามที่กำหนดไว้ให้ครบถ้วน
3. ตรวจสอบรายการเดินบัญชี หรือ Bank Statement ของบริษัทในแต่ละเดือน ว่ามีเอกสารครบถ้วนหรือไม่ หากขาดเดือนไหนไป ให้ขอรายการเดินบัญชีจากธนาคาร เพื่อให้สะดวกต่อการตรวจสอบ
4. เมื่อได้เตรียมเอกสารครบถ้วนแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือการติดต่อสำนักงานบัญชี ที่มีความน่าเชื่อถือเพื่อให้จัดทำบัญชีงบการเงินให้ แต่หากกิจการมีเจ้าหน้าที่บัญชีอยู่แล้วก็สามารถจัดทำงบการเงินได้เลย
5. เมื่อปิดงบการเงินเรียบร้อยแล้ว จากนั้นให้รวบรวมเอกสารจากการปิดงบการเงินในแต่ละรอบบัญชีให้เรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็น สมุดรายวันแยกประเภท (G/L) ทะเบียนทรัพย์สิน สมุดรายวันรับ สมุดรายวันจ่าย สมุดรายวันทั่วไป เป็นข้อมูลจัดเก็บสำหรับกิจการต่อไป ไม่น้อยกว่า 5 ปี ตามที่กฎหมายกำหนด
6. ส่งงบการเงินให้แก่กรมพัฒนาธรกิจการค้า และกรมกสรรพากรภายใน 150 วัน นับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี

คุณสมบัติของระบบ Financial Management ในโปรแกรมบัญชี Prosoft WINSpeed

โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป Prosoft WINSpeed มีระบบ Financial Management ที่ช่วยจัดการงบการเงินได้อย่างมืประสิทธิภาพ ที่สามารถสร้างงบการเงินได้ ทั้งงบดุล งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด หมายเหตุประกอบงบการเงิน เพื่อช่วยให้นักบัญชีและเจ้าของธุรกิจสามารถจัดการงงบการเงิน รวมไปถึงงานด้านบัญชีต่างๆ ที่ครอบคลุมทุกเรื่องของงานบัญชี เทียบเท่ากับโปรแกรม ERP นอกจากนี้ยังช่วยให้คุณจัดการธุรกิจอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การจัดการงานด้าน เอกสาร, การขาย, การจัดซื้อ, สต๊อกสินค้า, ไปจนถึงบัญชี, การเงิน, และงานทางด้านภาษี ที่ใช้ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว

  • สามารถประมาณการรายรับได้จาก ใบสั่งขาย, บันทึกขาย, ใบวางบิล
  • สามารถประมาณการรายจ่ายได้จาก ใบสั่งซื้อ, บันทึกซื้อ
  • สามารถดูรายงานเปรียบเทียบประมาณการรายรับ-รายจ่ายได้จาก
    • ใบสั่งขายเปรียบเทียบกับใบสั่งซื้อ
    • บันทึกขายเปรียบเทียบกับบันทึกซื้อ
  • สามารถดูรายงานเปรียบเทียบประมาณการเช็ครับ-เช็คจ่าย
  • สามารถดูกราฟเปรียบเทียบประมาณการเช็ครับ-เช็คจ่าย
  • สามารถดูประมาณการ Statement ของเช็คได้ เพื่อดูยอดเงินในอนาคต ณ วันที่เรียกดูรายงาน
  • สามารถสร้างงบการเงินได้ตามต้องการ เช่น งบดุล, งบกำไรขาดทุน,งบกระแสเงินสด, หมายเหตุประกอบงบการเงิน

วิธีการสร้างงบการเงินต่างๆ ในโปรแกรมบัญชี Prosoft WINSpeed อ่านเพิ่มเติม
 

1.สร้างงบดุล แบบเปรียบเทียบ รายเดือน รายปี
2.สร้างงบกำไรขาดทุน แบบเปรียบเทียบ รายเดือน รายปี
3.สร้างงบกระแสเงินสด
4.หมายเหตุประกอบงบการเงิน


ข้อดีของการปิดงบการเงิน

การปิดงบการเงินเป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการบริหารจัดการทางการเงินขององค์กร เพราะช่วยให้ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องสามารถประเมินผลการดำเนินงานและสถานะการเงินขององค์กรได้อย่างถูกต้องและเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจต่างๆ ได้ในอนาคต

1. ช่วยให้ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นได้มองเห็นสถานะการเงินปัจจุบันขององค์กร ทั้งรายรับ-รายจ่ายที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการบันทึกทรัพยากรทางการเงินอื่น ๆ ที่มีอยู่ เช่น เงินสด หนี้สิน และทรัพย์สิน ช่วยให้ผู้บริหารนำข้อมูลที่ได้มาช่วยตัดสินใจในกิจกรรมทางธุรกิจในอนาคตได้ เช่น การลงทุนใหม่หรือการส่งเสริมการเติบโตทางธุรกิจ
2. สามารถประเมินความสามารถในการชำระหนี้ขององค์กร ผู้ลงทุนหรือเจ้าของกิจการสามารถใช้ข้อมูลในงบการเงินเพื่อประเมินความเสี่ยงทางการเงินและความน่าเชื่อถือขององค์กรเมื่อเข้าร่วมหรือลงทุนในองค์กรต่างๆ
3. การปิดงบการเงินเป็นขั้นตอนสุดท้ายในกระบวนการทางการเงิน ซึ่งส่งผลให้เจ้าของกิจการสามารถรู้กำไรขาดทุน ที่เป็นข้อมูลสำคัญ ช่วยบริหารจัดการองค์กรและจัดการทรัพยากรทางการเงินให้มีประสิทธิภาพ
4. ช่วยให้สามารถระบุและประเมินความเสี่ยงทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นในองค์กร ตัวชี้วัดทางการเงิน เช่น สัดส่วนหนี้สินต่อส่วนของทุนเอกสารหนี้ที่ครอบครอง และอื่น ๆ จะช่วยในการระบุและจัดการความเสี่ยงทางการเงินเพื่อสร้างความเสถียรในองค์กร

ที่มา : inflowaccount.co.th

 267
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

งบการเงินรวมเป็นรายงานทางการเงินที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ทราบถึงผลประกอบการของกลุ่มกิจการ โดยงบการเงินรวมนำเสนอเสมือนว่ากลุ่มกิจการนั้นเป็นกิจการเดียว ฉะนั้นการจัดทำงบการเงินรวมมีความสำคัญมากต่อการที่นักวิเคราะห์ทางการเงิน หรือผู้ใช้งบการเงินที่ต้องการพิจารณางบการเงินของกลุ่มกิจการ โดยประโยชน์ของการวิเคราะห์งบการเงิน ยังคงไม่แตกต่างจากประโยชน์การวิเคราะห์งบการเงินของกิจการใดกิจการหนึ่ง คือทำให้ผู้ใช้งบการเงินรวมสามารถนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ตัดสินใจทางการเงิน การเลือกลงทุนในกลุ่มกิจการ หรือใช้พยากรณ์อนาคตผลประกอบการและฐานะทางการเงินของกลุ่มกิจการ หรือใช้เป็นเครื่องมือการวินิจฉัยปัญหาของการบริหารงาน การดำเนินงาน หรือใช้เป็นเครื่องมือประเมินผล (Evaluation) ของฝ่ายบริหาร
วันนี้เราจะมาดูกันว่าเจ้าของจะสามารถนำเงินออกจากบริษัทได้โดยทางใดบ้าง และแต่ละทางมีข้อดี-ข้อเสียทางภาษีที่แตกต่างกันอย่างไร
การวางแผนภาษีอากร (Tax Planning) คือ การกำหนดแนวทางการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เพื่อการปฏิบัติในอนาคตเกี่ยวกับรายการทางการเงิน (Financial Transactions) อาทิ รายการรายได้ ค่าใช้จ่ายต่างๆ และจำนวนกำไรหรือขาดทุน ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางภาษีอากรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ในอันที่จะป้องกันมิให้เกิดปัญหาภาษีอากรไม่ว่าประการใดๆ โดยมุ่งหมายให้การเสียภาษีอากรและการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรขององค์กรเป็นไปโดยถูกต้อง และครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายภาษีอากรกำหนดไว้ และเป็นผลให้จำนวนภาษีอากรที่ต้องเสียนั้น เป็นจำนวนน้อยที่สุดหรือประหยัดที่สุด รวมทั้งใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรสูงสุด ทั้งนี้ โดยไม่อาศัยการทุจริตหลีกเลี่ยงภาษีอากร
เรื่องของบัญชีและภาษีได้อยู่ควบคู่กับธุรกิจมาอย่างยาวนาน ผู้ที่ทำธุรกิจควรมีความรู้และความเข้าใจในบัญชีและภาษีในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะการทำบัญชีเบื้องต้นและการยื่นภาษีอากร แม้ว่าคุณจะไม่ได้ทำหน้าที่เหล่านั้นด้วยตัวคุณเอง แต่ในฐานะที่คุณทำธุรกิจมันจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณจะต้องเข้าใจในระดับหนึ่ง
รายจ่ายต้องห้าม คือ รายจ่ายที่สรรพากรกำหนดว่าไม่สามารถนำมาใช้เพื่อหักออกจากรายได้ในการคำนวณกำไรเพื่อเสียภาษีได้

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์