ยื่นภาษีล่าช้า จะเสียค่าปรับอย่างไร

ยื่นภาษีล่าช้า จะเสียค่าปรับอย่างไร


เรื่องภาษีที่ทั้งบุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล ควรทราบ คือ การยื่นภาษีล่าช้า จะมีเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีค่าปรับทางอาญาอีกด้วย อ่านให้เข้าใจก่อนโดนสรรพากรตรวจสอบ

ผู้มีรายได้แบบรับเป็นเงินเดือนประจำ หรือออกมาทำธุรกิจของตนเอง ทั้งแบบบุคคลธรรมดา รวมถึงที่จดบริษัทเป็นนิติบุคคล ล้วนมีหน้าที่ต้อง ยื่นภาษี และ เสียภาษี ด้วยกันทั้งสิ้น แต่เมื่อใดที่หลีกเลี่ยงไม่ยื่นภาษีตามเวลาที่กำหนด หรือไม่ยอมเสียภาษีทั้งที่มีภาระต้องเสียภาษีด้วยแล้ว ผลกระทบต่อตนเองที่ตามมาคือเรื่องเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม

ทั้งนี้ การยื่นภาษีและภาษีที่ต้องเสียแต่ละประเภท เมื่อเกิดความล่าช้าหรือเกินกำหนด จะมี "เบี้ยปรับ" และ "เงินเพิ่ม" แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีค่าปรับทางอาญาด้วย โดยสามารถอธิบายเจาะลึกได้ดังนี้

เบี้ยปรับ-เงินเพิ่ม-ค่าปรับทางอาญา ต่างกันอย่างไร

เบี้ยปรับคือ เงินที่ผู้มีรายได้ต้องเสียให้กับกรมสรรพากร เนื่องจากไม่จ่ายภาษี หรือจ่ายภาษีไม่ครบ โดยประเมินจากค่าภาษีที่ค้างชำระ เมื่อสรรพากรคำนวณแล้วมีภาษีที่ต้องจ่ายเพิ่ม อาจถูกเบี้ยปรับ 1-2 เท่าของภาษีที่ต้องเสีย โดยเบี้ยปรับสามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ ประกอบด้วย

1.ผู้มีรายได้ไม่ได้ยื่นแบบภาษีภายในเวลาที่กำหนด จะต้องเสียเบี้ยปรับ 2 เท่า ของภาษีที่ต้องจ่าย

2.ในกรณีที่ยื่นแบบภาษีทันกำหนด แต่เสียภาษีไม่ครบ จะต้องเสียเบี้ยปรับ 1 เท่า ของภาษีที่ต้องจ่าย

เงินเพิ่ม คือ เงินค่าปรับเพิ่มเติมที่คำนวณจากค่าภาษีที่จ่ายไม่ครบอีก 1.5% ต่อเดือน คิดเพิ่มตามระยะเวลาในการจ่ายภาษี เป็นเงินเร่งด่วนที่ผู้เสียภาษีจะต้องรีบจ่ายให้เร็วและถูกต้อง เพื่อไม่ให้เสียเงินเพิ่มเยอะ โดยจะเริ่มคิดเงินเพิ่มตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดให้ยื่นแบบภาษีถึงวันที่จ่ายครบ  

ค่าปรับทางอาญา คือ ค่าปรับที่ไม่ได้คำนวณจากภาษีที่ค้างชำระ แต่จะประเมินจากการกระทำความผิดทางอาญา ซึ่งความผิดทางภาษีเป็นความผิดอาญาที่รัฐเป็นผู้เสียหาย จึงมีทั้งโทษปรับทางอาญาและเบี้ยปรับเกิดขึ้นได้พร้อมกัน​

ค่าเบี้ยปรับ และ เงินเพิ่ม แต่ละประเภทภาษี ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1, 2, 3, 53, 54)

ค่าปรับอาญา
- ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ปรับ 100 บาท
- ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ปรับ 200

เงินเพิ่ม จ่ายเงินเพิ่มอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน)

ค่าปรับอาญา
- ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ปรับ 300 บาท
- ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ปรับ 500 บาท

เงินเพิ่ม จ่ายเงินเพิ่มอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน)
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) กรณีไม่เคยยื่นแบบภาษีมาก่อน

ค่าปรับอาญา
- ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ปรับ 300 บาท
- ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ปรับ 500 บาท

เงินเพิ่ม จ่ายเงินเพิ่มอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน)

เบี้ยปรับกรณีเคยยื่นแบบมาแล้ว กรณียื่นเพิ่มเติม คิดเบี้ยปรับ อัตรา 2% - 20%
- ชำระภายใน 1-15 วัน คิดเบี้ยปรับ อัตรา 2%
​- ชำระภายใน 16-30 วัน คิดเบี้ยปรับ อัตรา 5%
​- ชำระภายใน 31-60 วัน คิดเบี้ยปรับ อัตรา 10%
​- ชำระหลัง 60 วัน ไปแล้ว คิดเบี้ยปรับ อัตรา 20%

เบี้ยปรับกรณีไม่เคยยื่นแบบมาก่อน
- ชำระภายใน 1-15 วัน คิดเบี้ยปรับ อัตรา 2% x 2 เท่า
​- ชำระภายใน 16-30 วัน คิดเบี้ยปรับ อัตรา 5% x 2 เท่า
​- ชำระภายใน 31-60 วัน คิดเบี้ยปรับ อัตรา 10% x 2 เท่า
​- ชำระหลัง 60 วัน ไปแล้ว คิดเบี้ยปรับ อัตรา 20% x 2 เท่า

ภาษีเงินได้นิติบุคคลครึ่งปี (ภ.ง.ด.51)

ค่าปรับอาญา
- ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ปรับ 1,000 บาท
- ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ปรับ 2,000 บาท

เงินเพิ่ม
- ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 2 วัน อัตรา 0.1% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน)
- ยื่นแบบล่าช้าเกิน 2 วัน แต่ไม่เกิน 7 วัน อัตรา 0.5% (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน)

ภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นปี (ภ.ง.ด.50)

ค่าปรับอาญา
- ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ปรับ 1,000 บาท
- ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ปรับ 2,000 บาท

เงินเพิ่ม
- อัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน)


ค่าปรับอาญา
- ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ปรับ 100 บาท
- ยื่นแบบล่าช้าเกิน 7 วัน ปรับ 200 บาท

เงินเพิ่ม
- อัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนคิดเป็น 1 เดือน)

ดังนั้น ผู้มีหน้าที่ยื่นและเสียภาษีไม่ควรปล่อยให้เลยเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือจ่ายไม่ครบ เพื่อป้องกันเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ซึ่งจะช่วยทำให้ประหยัดเงินในกระเป๋าได้เป็นจำนวนมาก รวมถึงหากฝ่าฝืนไม่ยอมชำระก็จะมีค่าปรับอาญา รับโทษทางอาญาด้วย ​​

อย่างเช่นกรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90, 91, หรือ 94 ภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท หรือกรณีจงใจแจ้งข้อความเท็จ หรือแสดงหลักฐานเท็จจริงหรือฉ้อโกง เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษี มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน – 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 – 200,000 บาท

รวมถึงหากเจตนาละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี โดยมีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับอีกด้วย


ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/finance/investment/1141795

 39
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ส่วนของเจ้าของ หรือ ส่วนของผู้ถือหุ้น คือ ส่วนของทุนที่เจ้าของนำเงินมาลงทุนในบริษัทประกอบกับกำไรสะสมที่บริษัททำมาหาได้ในแต่ละปีสะสมรวมกัน กลายเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นในงบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น
แบบ ภ.พ.30 คือแบบแสดงรายการสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขาย เพื่อนำส่งกรมสรรพากร โดยผู้มีหน้าที่จัดทำคือ เจ้าของธุรกิจที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และได้ทำการขึ้นทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ต้องนำส่งให้กรมสรรพากรทุกเดือนภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หรือสามารถยื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ตก็ได้
บัญชีกระแสรายวัน คือประเภทบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารประเภทหนึ่ง ที่ผู้ใช้จำเป็นต้องประกอบกิจการต่างๆ และจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลหรือพาณิชย์ โดยเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยจัดการเรื่องการเงินในเชิงธุรกิจให้สำเร็จได้อย่างง่ายๆ รวมทั้งทำให้เราไม่ต้องพกเงินสดจำนวนมากๆ โดยเฉพาะเวลาจะทำการโอนหรือจัดการด้านธุรกิจต่างๆ ด้วยวงเงินจำนวนมาก เหมาะสำหรับใช้เป็นบัญชีเงินหมุนเวียน และใช้ออกเช็คในการเบิกจ่ายเงิน โดยสามารถขอเบิกเงินเกินบัญชีได้ ซึ่งทางธนาคารจะคิดดอกเบี้ยเพียงส่วนที่เราเบิกเงินเกินเท่านั้น แต่เป็นประเภทบัญชีที่ไม่ได้รับดอกเบี้ย
ข้อเปรียบเทียบ ระหว่าง นิติบุคคลอาคารชุด กับ นิติบุคคล บริษัทฯ จำกัด มีข้อแตกต่างกันดังนี้
ผู้ตรวจสอบบัญชีมีบทบาทสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับบัญชีและรายการทางการเงินของบริษัท โดยเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของบัญชีอย่างเป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้ตรวจสอบบัญชีต้องเป็นคนที่มีความรอบคอบ และมีความซื่อสัตย์ เพื่อใช้เป็นหลักในการตรวจสอบทั้งภายในและภายนอก ทั้งนี้ตำแหน่งงานผู้ตรวจสอบบัญชีเป็นอาชีพยอดนิยมสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาด้านบัญชี
“ที่ปรึกษาด้านบัญชีและภาษี” คือ ผู้ที่มีหน้าที่วางแผนและให้คำปรึกษาทางด้านบัญชีการเงินและกฎหมายภาษีให้กับองค์กร ทั้งกฎหมายภาษีตามประมวลรัษฎากรและการยื่นภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท เพื่อลดความเสี่ยงทางภาษีในการถูกประเมินเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหรือเพื่อการประหยัดภาษีของธุรกิจ

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์