การเดบิตและเครดิต ในหลักการบัญชีคู่ (Doulble Entry Accounting)

การเดบิตและเครดิต ในหลักการบัญชีคู่ (Doulble Entry Accounting)







สำหรับหลักการบัญชีคู่นั้นหมายถึงการบันทึกรายการบัญชีทั้งสองด้าน ด้วยการเดบิตและเครดิตอย่างน้อยสองบัญชีขึ้นไป ด้วยการนำสมการบัญชีมาใช้ด้วยการลงทั้งสองด้านนั้นจะต้องมียอดเท่ากัน แต่ไม่จำเป็นที่จะต้องมีจำนวนบัญชีที่เท่ากัน

อธิบายด้วยว่าบัญชีคู่นั้นเป็นการบันทึกบัญชีทั้งสองด้านในด้านเดบิตและด้านเครดิต ดังนั้นจะต้องลงอย่างน้อยสองบัญชีขึ้นไปในการบัญทึกรายการแต่ละครั้งจะมียอดรวมเท่ากันทั้งสองด้านเสมอแต่จำนวนการบันทึกนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องเท่ากันอย่างเช่นจำนวนด้านเดบิต 1 บัญชีแต่อีกด้านคือเครดิต อาจจะ 2 หรือ 3 บัญชีก็ได้หลักการบัญชีคู่นั้นเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบันเพราะว่าสามารถนำไปใช้ได้กับธุรกิจทุกขนาดโดยการทำความเข้าใจนั้นในขั้นต้นนิยมใช้บัญชีแยกประเภทในรูปตัวที  เพื่อง่ายและสะดวกในการทำความเข้าใจการบันทึกได้ง่าย

เดบิตและเครดิตคืออะไร
ในระบบบัญชีคู่นั้นเดบิตเครดิตจะต้องทราบหลักการให้เข้าใจจึงจะสามารถว่าอะไรที่เดบิตอะไรที่เครดิตในการลงบัญชี
               เดบิต (Debit) คือส่วนที่อยู่ด้านซ้าย หรือว่าด้านซ้ายใช้สำหรับบันทึกสินทรัพย์และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นใช้อักษรย่อ “Dr.”
               เครดิต (Credit) คือส่วนที่อยู่ด้านขวาหรือเรียกว่าด้านขวาใช้สำหรับ บันทึกบัญชีหนี้สินส่วนของเจ้าของรายได้เพิ่มขึ้นใช้อักษรย่อ “Cr.”
หากเราได้ทำการบันทึกข้อมูลมีผลต่างยอดคงเหลือถ้ามียอดคงเหลือทางด้านเดบิตเรียกว่า  “ยอดคงเหลือเดบิต”  แต่ถ้ามียอดเหลือทางด้านเครดิตหรือวมากกว่าเดบิตเรียกว่า  “ยอดคงเหลือเครดิต” และโดยทั่วไปแล้วยอดคงเหลือทางสินทรัพย์และค่าใช้จ่ายมักจะมียอดคงเหลือเดบิตและหนี้สินส่วนของเจ้าของรายได้มียอดคงเหลือทางด้านเครดิต

เพิ่ม ลด
สินทรัพย์ เดบิต เครดิต
หนี้สิน เครดิต เดบิต
ส่วนของเจ้าของ เครดิต เดบิต
รายได้ เครดิต เดบิต
ค่าใช้จ่าย เดบิต เครดิต


บัญชีที่เราจะใช้เป็นตัวอย่างให้ดูนั้นเป็นบัญชีแยกประเภทแบบ T-Account เพราะว่าเป็นเหมือนรูปตัว T ที่มีหัวแสดงชื่อ และมีสองด้านทั้งด้านเดบิตและด้านเครดิต ถือได้ว่าเป็นบัญชีที่มีความสะดวกและรวดเร็วในการอธิบายจะเป็นรูปตัว T แบบง่ายโดยทั่วไปไม่นิยมใช้

ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างการลงบัญชีในหลักการบัญชีคู่ที่ในบัญชีแยกประเภทรูปตัว T
รายการที่ 1 ร้าน นุช ซัดรีด ได้นำเงินมาลงทุนเป็นจำนวน 100,00 บาท
หลังจากที่เราได้ศึกษาวิเคราะห์รายการบัญชีไปแล้วนั้นเราก็จะตามว่าการที่นำเงินมาลงทุน จะกระทบต่อสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นและทุนเองก็เพิ่มขึ้นด้วยดังนั้นเราก็สามารถที่จะเดบิต เครดิต และผ่านบัญชีแยกประเภทได้ดังนี้
Dr. เงินสด
Cr. ส่วนของเจ้าของ

รายการที่ 2 ซื้ออุปกรณ์ในการซักรีดเป็นจำนวน 20,000 บาท
การวิเคราะห์ในรายการที่สองเป็นการที่ใช้เงินไปซื้ออุปกรณ์ต่างๆที่มาใช้ในกิจการรายการดงักล่าวเป็นการทำเงินสดของเราลดลงและทำให้อุปกรณ์นั้นเพิ่มขึ้นมาจึงต้องลงรายการดังนี้
Dr. อุปกรณ์
Cr. เงินสด

รายการที่ 3 ได้ซื้อวัสดุในการซักรีดจำนวน10,000 บาท
สำหรับรายการที่ 3 เป็นการซื้อวัสดุซักรีดมาใช้งานโดยไม่ได้ระบุเป็นเงินเชื่อ จึงต้องเป็นเงินสดโดยปริยายสามารถที่จะวิเคราะห์มีการทำให้วัสดุซักรีดเพิ่มขึ้นและทำให้เงินสดลดลง จึงรายการดังนี้
Dr. วัสดุซักรีด10,000
Cr. เงินสด10,000

รายการที่4 ได้รับค่าบริการใชการซักรีดเป็นจำนวนเงิน25,000บาท
รายการนี้เป็นรายการเกี่ยวข้องกันรายได้ที่เข้ามามีผลทำให้รายได้เพิ่มขึ้นและเงินสดก็เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกันในบัญชีแยกประเภทนี้เราจะลงที่บัญชีรายได้เลยและเงินสดดังนี้
Dr. เงินสด25,000
Cr. รายได้25,000

รายการที่ 5 ร้าน นุชได้ตัดสินใจเพิ่มทุนให้กับกิจการด้วยการกู้เงินมาลงทุนเพิ่มจำนวน 100,000 บาท
สำหรับรายการนี้ทางเจ้าของได้มีการกู้เงินมาเพิ่มทุนให้กินการจำนวน 100,000บาทมีผลทำให้ เงินสดของกิจการเพิ่มขึ้นและมีจำนวนหนี้สินเพิ่มขึ้นด้วยเมื่อกระทบ 2 รายการนี้จึงมีการบันทึกรายการดังต่อไปนี้
Dr. เงินสด100,000
Cr. เจ้านี้100,000

รายการที่ 6 ลูกค้าได้มาใช้บริการเป็นจำนวน 50,000 บาทแต่จ่ายมา 25,000 ส่วนที่เหลือจะจ่ายที่หลัง
รายการนี้ลูกค้าได้มาใช้บริการแล้วไม่จ่ายเงินทั้งหมดจึงแยกเป็นสองส่วนคือส่วนที่จ่ายเป็นเงินสดส่วนที่สองจะเป็นลูกค้าเราอยู่และเมื่อมีรายได้ก็จะทำให้บัญชีรายได้เราเพิ่มขึ้นเช่นกันดังนั้นจึงมีผลกระทบถึง 3 บัญชีคือเงินสดลูกหนี้และรายได้จึงบัญทึกบัญชีดังนี้
Dr. เงินสด 25,000
ลูกหนี้25,000
Cr. รายได้ 50,000

รายการที่ 7 จ่ายชำระหนี้เป็นเงินเชื่อ10,000 บาท
รายการนี้เป็นการนำเงินไปจ่ายชำระให้กับเจ้าหนี้ในรายการ 5ที่ได้ยืมเงืนมาเพิ่มทุนได้ชำระคืนไป 10,000 บาทจึงทำให้สินทรัพย์และหนี้สินลดลง ไปจึงบันทึกดังนี้
Dr. เจ้านี้10,000
Cr. เงินสด10,000

รายการที่ 8 ได้มีการถอนใช้ส่วนตัวเป็นเงิน8,000 บาท
รายการนี้เป็นรายการถอดใช้ส่วนตัวซึ่งรายการนี้จะทำให้เงินสดลดลงและทำให้ส่วนของเจ้าของลดลงเช่นกันเพราะว่าแล้วจะทำให้รายการของทั้งสองลดลง 8,000 บาท
Dr. ส่วนของเจ้าของ8,000
Cr. เงินสด8,000

รายการที่ 9 ลูกหนี้ทางการค้าได้นำเงินมาชำระจำนวน 10,000 บาท
รายการนี้มีผลมาจากรายการที่6 ที่มีลูกค้ามาใช้บริการแล้วไม่ได้จ่ายเป็นเงินสดรายการยี้ลุกค้าได้ทำการจ่ายมา 10,000 บาทจึงทำให้สินทรัพย์มาการเปลี่ยนแปลงคือ เงินสดมีจำนวนเพิ่มขึ้นและลูกหนี้ลดลง
Dr. เงินสด10,000
Cr. ลูกหนี้10,000

รายการที่ 10 ทางกิจการมีค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายดังนี้ค่าไฟฟ้า350ค่าน้ำ200ค่าเช่าอุปกรณ์500จ่ายทั้งหมดเป็นเงินสด
รายการนี้เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นซึ่งแน่นอนจะทำให้สินทรัพย์ ในบัญชีเงินสดเราลดลงและทำให้ค่าใช้จ่ายต่างๆนั้นเพิ่มขึ้นเราต้องทำหมดทุกบัญชีคือเดบิต ค่าใช้จ่ายในแต่ละบัญชีดังนี้
Dr. ค่าไฟฟ้า350
ค่าน้ำ200
ค่าเช่าอุปกรณ์500
Cr. เงินสด1,050


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!!


บทความโดย : http://www.accountclub.net

 1598
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ธุรกิจนิติบุคคลหรือการดำเนินธุรกิจที่มีเจ้าของกิจการอยู่รวมกันมากกว่า หนึ่งคนขึ้นไปนั้น ไม่ว่าจะอยู่ในรูปลักษณะของบริษัททั่วไปทั้งธรรมดาและมหาชน ห้างหุ้นส่วนจำกัด กิจการร่วมค้า มูลนิธิหรือสมาคม ฯลฯ ที่ได้ไปทำการขึ้นจดทะเบียนไว้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายกับทางหน่วยงานราชการ
ทุกครั้งที่นิติบุคคลจ่ายค่าบริการ จะต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายเพื่อนำส่งกรมสรรพากรไม่เกินวันที่ 7 ของเดือนถัดไป  กรณีลืมหักภาษี ณ ที่จ่าย จะสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่? หลักการพิจารณาให้แยกพิจารณาทีละภาษี
ภ.ง.ด.50 เป็นแบบภาษีที่เอาไว้ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลตอนปลายปี ส่วน ภ.ง.ด.51 เป็นแบบภาษีที่เอาไว้ยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคลตอนกลางปี
การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด เป็นหนึ่งในเครื่องมือในการวิเคราะห์งบการเงินที่น่าสนใจอีกวิธีหนึ่ง นอกเหนือจากการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน หรือว่าการวิเคราะห์งบโดยวิธีแนวนอน วิธีแนวโน้ม  วิธีแนวตั้ง หรือวิเคราะห์ร้อยละของยอดรวม หลายๆ คนคงคุ้นเคยกับการวิเคราะห์งบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะทางการเงินมาบ้างแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า หนึ่งในวิธีวิเคราะห์งบการเงินที่มีประโยชน์มากอีกวิธีหนึ่งก็คือ การวิเคราะห์กระแสเงินสด
“ภาษี” เป็นรายจ่ายตัวหนึ่งที่สำคัญมากแล้วทุกคนต้องจ่าย นั่นก็คือ รายจ่ายเรื่อง “ภาษี” แต่ก็อย่างที่เรารู้กันว่าภาษีเป็นเรื่องที่ทุกคนยังไงก็ต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นทางตรงอย่างช่วงต้นปีของทุกปีเราก็ต้องรายงานกับสรรพากรว่าเรามีรายได้เท่าไหร่ ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ถ้าใครจ่ายเกินไปก็ขอคืนได้ ถ้าใครจ่ายภาษีขาดไปก็จ่ายเพิ่ม หรือจะเป็นภาษีทางอ้อมที่บางครั้งก็จ่ายแบบไม่รู้ตัว เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่เวลาเราไปกินข้าวตามร้านค้าต่างๆแล้วมักจะมีตัวนี้แฝงมาด้วย

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์