อนุสัญญา ภาษีซ้อน

อนุสัญญา ภาษีซ้อน


อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามอนุสัญญาฯ

       ประเทศไทยได้เริ่มจัดทำอนุสัญญา ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2505  กับประเทศสวีเดน และได้มีการเจรจาทำอนุสัญญากับต่างประเทศเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง โดยโครงสร้างทั่วๆ ไป ของอนุสัญญาประกอบด้วย 4 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

  1. ขอบข่ายของอนุสัญญา

               (1) ขอบข่ายด้านบุคคล อนุสัญญาทุกฉบับจะกำหนดไว้ว่าจะบังคับใช้กับผู้มีถิ่นที่อยู่ในรัฐคู่สัญญาเท่านั้น ผู้อื่นจะมาใช้ประโยชน์จากอนุสัญญาไม่ได้ สำหรับประเทศไทยนั้นกำหนดไว้ว่า ผู้ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากอนุสัญญาของประเทศไทยกับประเทศต่างๆ คือ บุคคลธรรมดาที่อยู่ในประเทศไทยเกินกว่า 180 วัน ในปีภาษีหนึ่งๆ และนิติบุคคลที่จดทะเบียนก่อตั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย

               (2) ขอบข่ายด้านภาษี จะครอบคลุมเฉพาะภาษีเงินได้เท่านั้น นั่นคือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ซึ่งเป็นภาษีทางตรงและผลักภาระภาษีได้ยาก ภาษีทางอ้อมอื่นๆ เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะจะไม่อยู่ภายใต้บังคับของอนุสัญญา เนื่องจากเป็นภาษีทางอ้อมซึ่งผลักภาระความซ้ำซ้อนไปให้ผู้บริโภคได้ง่าย

  1. เงินได้ประเภทต่าง ๆ

       ในส่วนของรายการเงินได้นั้น อนุสัญญาจะไม่กำหนดว่ารายการประเภทใด จะต้องเสียภาษีอัตราเท่าใด แต่จะทำหน้าที่เพียงบอกว่าเงินได้ประเภทนี้รัฐแหล่งเงินได้หรือรัฐถิ่นที่อยู่จะได้รับสิทธิ ในการเก็บภาษี ถ้ารัฐใดได้รับสิทธิในการเก็บภาษีผู้รับเงินได้จะต้องเสียภาษีตามกฎหมายภายในของรัฐนั้น และถ้าอนุสัญญากำหนดเพดานภาษีไว้ รัฐที่ได้สิทธิในการจัดเก็บภาษีก็จะเก็บภาษีได้ไม่เกินเพดานอัตราภาษีที่อนุสัญญากำหนดไว้ เช่น เงินได้ประเภทเงินปันผล ดอกเบี้ยและค่าสิทธิ

       อย่างไรก็ดี บางข้อบทอาจกำหนดให้เพิกถอนสิทธิของรัฐแหล่งเงินได้ไว้อย่างชัดเจน ซึ่งถือเป็นการขจัดภาษีซ้อนรูปแบบหนึ่งที่ปรากฎอยู่ในข้อบทของเงินได้ประเภทต่าง ๆ เช่น การขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือการดำเนินธุรกิจโดยไม่ผ่านสถานประกอบการถาวร เป็นต้น

  1. การขจัดภาษีซ้อน

       ในอนุสัญญาแต่ละฉบับอาจกำหนดวิธีขจัดภาษีซ้อนไว้ต่างกัน เช่น ถ้ากำหนดให้ขจัดภาษีซ้อนโดยวิธียกเว้น รัฐถิ่นที่อยู่ของผู้มีเงินได้จะยอมยกเว้นภาษีให้โดยไม่ต้องนำเงินได้ที่เสียไว้แล้วในรัฐแหล่งเงินได้มารวมคำนวณภาษีในรัฐถิ่นที่อยู่ซ้ำอีก แต่ถ้าอนุสัญญากำหนดให้ใช้วิธีเครดิตภาษีรัฐ ถิ่นที่อยู่ยังคงสิทธินำจำนวนเงินได้ที่เกิดขึ้นในรัฐแหล่งเงินได้มารวมคำนวณภาษีในรัฐถิ่นที่อยู่ แต่จะต้องยอมให้นำภาษีที่เสียไว้ในรัฐแหล่งเงินได้มาเครดิตภาษีหักออกจากภาษีในรัฐถิ่นที่อยู่ได้ด้วย

  1. บททั่วไป

       เป็นส่วนสุดท้ายที่มีลักษณะเป็นบทบัญญัติต่าง ๆ ที่ช่วยในการตีความและเป็นแนวปฏิบัติ  เช่น บทบัญญัติว่าด้วยนิยามต่าง ๆ บทบัญญัติว่าด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างรัฐคู่สัญญา  การไม่เลือกปฏิบัติ  การเริ่มใช้และเลิกใช้อนุสัญญา เป็นต้น

       ดังนั้น เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปปฏิบัติเกี่ยวกับการหักภาษี ณ ที่จ่าย จากดอกเบี้ยเงินกู้ยืม หรือค่าสิทธิ ซึ่งผู้รับไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล มิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้จากผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ขอให้พิจารณารายละเอียดต่อไป

โปรแกรมบัญชี ฟังก์ชั่น ที่ตอบโจทย์สำนักงานบัญชี นักบัญชี

แหล่งที่มา : Link

 1454
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทำบัญชี จะทำให้กิจการทราบผลการดำเนินงานฐานะทางการเงินของธุรกิจและความมั่นคงของธุรกิจโดยในการจัดทำบัญชีของสำนักงานบัญชีนั้นจะบันทึกบัญชีรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการดำเนินธุรกิจ เช่น การลงทุนรายรับ และ รายจ่าย ที่เป็นของกิจการนั้นโดยไม่นำส่วนที่เป็นของส่วนตัว(ส่วนของเจ้าของ) เข้ามาบันทึกด้วยเมื่อมีการบันทึกรายการต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้วข้อมูลที่ได้บันทึกไว้นั้นจะสามารถนำมาจัดทำเป็นรายงานทางการเงินได้ เช่น งบดุลและงบกำไรขาดทุนซึ่งเป็นภาพสะท้อนในการดำเนินธุรกิจดังนี้ คือ
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ก็คือ “เงิน” ที่ผู้จ่ายเงิน “หัก” ไว้ก่อนที่จะจ่ายให้กับผู้รับเงิน แล้วเอาเงินนั้นไปให้กับรัฐ นั่นทำให้ผู้รับเงินไม่ได้รับเงินเต็มจำนวนครับ แต่จะได้เงินบวกกระดาษแผ่นนึงที่เรียกว่า “หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย” ส่วนผู้จ่ายเงินยังต้องจ่ายเต็มนะครับ เพียงแต่จ่ายให้กับผู้รับเงินโดยตรงส่วนนึง แล้วให้สรรพากรอีกส่วนนึง หน้าที่หัก ณ ที่จ่าย เป็นหน้าที่ของผู้จ่าย ทั้ง บุคคลธรรมดา และ นิติบุคคล
ต้นทุนแฝง (Hidden cost) ถือเป็นภัยเงียบของการทำธุรกิจเลยก็ว่าได้ หลายบริษัทไม่ได้ให้ความสำคัญ หรือมีแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับต้นทุนแฝงที่จริงจังมากพอ รู้ตัวอีกทีก็ขาดทุนติดต่อกันหลายเดือนทีเดียว ในบทความนี้ Moneywecan จะพาผู้อ่านทุกท่าน ไปทำความรู้จักเกี่ยวกับต้นทุนแฝงกันให้มากขึ้นค่ะ
เปลี่ยนสำนักงานบัญชี เมื่อกิจการต้องการเปลี่ยนสำนักงานบัญชี หลักๆต้องขอ 3 กลุ่มดังนี้
กระบวนการบัญชีหรือวงจรบัญชี คือขั้นตอนในการรวบรวม การประมวลผลและการสื่อสารข้อมูลทางการเงิน รวมไปถึงการบันทึก การจำแนก การสรุปและการตีความข้อมูลทางการเงิน
เมื่อกล่าวถึงการเช่าทรัพย์หรือสัญญาเช่าทรัพย์แล้ว ท่านผู้อ่านหลายท่านที่คลุกคลีอยู่กับวงการภาษีอากรคงจะคุ้นเคยกันเป็นประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรอย่างดีทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรนั้นมีหลากหลายมากมายจนอาจกล่าวได้ว่าจำกันไม่ไหวเลยทีเดียว อย่างไรก็ดีไม่ว่าประเด็นปัญหาดังกล่าวกรมสรรพากรจะได้มีการวางแนววินิจฉัยไว้แล้วเพียงใดก็ตาม แต่ก็พบว่าผู้ที่เกี่ยวข้องก็ยังคงประสบกับปัญหาต่างๆ กันอยู่ไม่น้อย อาจเนื่องมาจากยังขาดความรู้ความเข้าใจในทางปฏิบัติเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาเกี่ยวกับเช่าทรัพย์ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หรืออาจมีความเข้าใจในประเด็นปัญหาภาษีอากรที่คลาดเคลื่อนไปรวมทั้งในทางปฏิบัติมีการใช้คำว่า “เช่า” ให้ครอบคลุมไปถึงธุรกรรมอื่นที่ไม่ใช่ “เช่า” ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น การเช่าพระเครื่อง การเช่าชั่วโมงอินเทอร์เน็ต การเช่าพื้นที่เพื่อแสดงสินค้าในงานแสดงสินค้าต่างๆ เป็นผลทำให้ความเข้าใจในเรื่องของภาษีอากรเกี่ยวกับเอกเทศสัญญาที่เรียกว่า “เช่าทรัพย์” นั้นคลาดเคลื่อนไปด้วย ผู้เขียนจึงได้รวบรวมเอาเรื่องราวอันเกี่ยวกับการเช่าทรัพย์ ทั้งในด้านความเป็นเอกเทศสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และในด้านของภาษีอากร ไม่ว่าจะเป็นกรณีการมีรายได้จากการให้เช่าทรัพย์ว่าจะต้องมีภาระภาษีอะไรบ้าง เช่น จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไร ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ และสัญญาเช้าที่ทำกันนั้นต้องติดอากรแสตมป์อย่างไรหรือไม่ รวมทั้งกรณีที่ผู้เช่าได้จ่ายค่าเช่าไปในบางกรณีว่าจะลงเป็นรายจ่ายทางภาษี หรือนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้น (ถ้ามี) ไปใช้ได้หรือไม่อย่างไร

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์