ธุรกิจซื้อมาขายไป

ธุรกิจซื้อมาขายไป


แนวทางการบันทึกบัญชี ธุรกิจซื้อมาขายไป การขายสินค้าออนไลน์

ธุรกิจซื้อมาขายไป ประกอบด้วย รายได้ และค่าใช้จ่ายรายได้ที่ต้องไปเสียภาษีมูลค่าเพิ่มคือ

1.มีการส่งสินค้า
Dr ลูกหนี้
Cr รายได้
ภาษีมูลค่าเพิ่ม

2.ลูกค้าโอนเงินก่อนส่งสินค้า
Dr เงินฝากธนาคาร
Cr เงินมัดจำ
ภาษีขาย
 
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ 2 ประเภท คือ

1 ต้นทุนขาย ประกอบด้วย
1.1 สินค้าสำเร็จรูป
1.2 ค่าวัสดุหีบห่อ
1.3 ค่าขนส่ง
1.4 ค่าธรรมเนียมการนำเข้า
1.5 ค่าบริการการนำเข้า
1.6 ค่าโฆษณา facebook google
1.7 ค่าทำเวปไซด์
1.8 ค่าจ้างแรงงาน
1.9 ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขาย กรณีขาย ผ่าน shopee หรือ lazada
1.10.ค่าไฟฟ้า โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต

2.ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ประกอบด้วย
2.1 เงินเดือน
2.2 ค่าประกันสังคม
2.3 ค่าคอมมิชชั่น
2.4 ค่าเครื่องเขียนแบบพิมพ์
2.5 ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์สำนักงาน
2.6 ค่าน้ำประปา
2.7 ค่าวัสดุสิ้นเปลือง
2.7 ค่าน้ำมัน ค่าทางด่วน
2.8 ค่าธรรมเนียมธนาคาร

กรณีจ่ายค่าใช้จ่ายทุกครั้ง ควรจ่ายเป็นเช็ค หรือโอนเงินผ่านธนาคาร และเก็บสลิปไว้เป็นหลักฐาน แนบกับใบสำคัญจ่ายไว้บันทึกบัญชี

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิ๊ก!


ที่มา :Link

 648
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในการทำงบการเงินนั้น  นิยมใช้เกณฑ์ในการกำหนดและในแม่บทการบัญชีระบุไว้  2 แบบคือ
รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนภาษีจุดมุ่งหมายเช่นเดียวกับ การลดหย่อนภาษีสำหรับบุคคลธรรมดา ทั้งนี้เพื่อให้การชำระภาษีในปีนั้น ๆ มีจำนวนน้อยลง เพราะมีการหักค่าใช้จ่ายในแต่ละปีภาษีมากขึ้น ต่างกันเพียงแค่รายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนแตกต่างจากบุคคลธรรมดาเท่านั้น โดยรายการที่นิติบุคคลสามารถนำมาลดหย่อนได้ มีดังนี้
แบบ ภ.ง.ด.94   : แบบแสดงรายการเพื่อยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับรายได้ที่ไม่ใช่เงินเดือนตั้งแต่เดือน มกราคม – มิถุนายน  เมื่อยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 นี้แล้วเมื่อถึงปลายปีจะต้องคำนวณภาษีเงินได้ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม  และยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 อีกครั้ง โดยนำยอดภาษีที่ได้ชำระแล้วตามแบบ ภ.ง.ด.94 มาหักออก
ในการทำบัญชีนั้น ผู้ทำบัญชีต้องจัดทำตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน แต่สำหรับการยื่นภาษีในทุกๆปี ต้องแสดงรายได้และค่าใช้จ่ายโดยใช้หลักเกณฑ์ประมวลรัษฎากร และเป็นที่แน่นอนว่า การใช้หลักเกณฑ์ที่แตกต่างกัน ย่อมทำให้มีผลต่างเกิดขึ้นระหว่างบัญชีและภาษี 
ผู้ตรวจสอบบัญชีมีบทบาทสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับบัญชีและรายการทางการเงินของบริษัท โดยเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของบัญชีอย่างเป็นธรรม และมีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้ตรวจสอบบัญชีต้องเป็นคนที่มีความรอบคอบ และมีความซื่อสัตย์ เพื่อใช้เป็นหลักในการตรวจสอบทั้งภายในและภายนอก ทั้งนี้ตำแหน่งงานผู้ตรวจสอบบัญชีเป็นอาชีพยอดนิยมสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาด้านบัญชี

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์